เมื่อหนูน้อยทำผิดมา คุณแม่เลย ลงโทษลูก ด้วยวิธีการสอนและบอกถึงสาเหตุที่จะต้องโดนลงโทษในครั้งนี้ โดยให้หนูน้อยไปยืนเข้ามุม แล้วนับเลข 1-20 เป็นภาษาอังกฤษจากนั้นค่อยมาเล่นกันต่อ คลิปนี้ตอนจบไม่ดราม่า แถมยังสร้างร้อยยิ้ม
เป็นอีกหนึ่งคลิป ที่ชาวเน็ตพากันกดไลก์ และแชร์ต่อไปเป็นจำนวนมาก กับภาพน่ารักของเด็กหญิงวัย 3 ขวบ ที่กำลังถูกคุณแม่ดุ และสั่งทำโทษ เพราะทำความผิดมา ซึ่งคุณแม่ก็ลงโทษลูกโดยการให้หนูน้อยไปยืนหันหน้าเข้ามุมห้อง แล้วนับเลข 1-20 เป็นภาษาอังกฤษ ต้องนับให้ครบ จึงจะกลับมาเล่นกันต่อได้
ลงโทษลูก แบบรักวัวให้ผูก รักลูกให้เข้ามุม
https://www.facebook.com/sutthirak.sakulrat/videos/10156897686914972/
คลิบลงโทษ ‘น้องอ้อมกอด’ กลายเป็นคลิปที่สร้างรอยยิ้มให้กับผู้คนในโลกออนไลน์ได้กดไลก์กดแชร์ไปกับความน่าเอ็นดูเป็นจำนวนมาก ซึ่งคุณแม่ใช้วิธีการทำโทษลูกแบบใช้เหตุผล ไม่มีการตี ไม่ใช้การดุด่าเสียงดัง โดยให้ลูกสาวเข้ามุมพร้อมกับนับเลข 1-20 เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งน้องก็ค่อย ๆ นับ ติดตรงเลขไหนคุณแม่ก็ช่วย แล้วเมื่อนับเลขจนครบเลข 20 ปรากฏว่าสาวน้อยกลับหัวเราะร่าร้องเย้ดีใจจนลืมความกลัวว่าถูกดุเพราะทำผิดไปเมื่อกี้ซะสนิท หลังคลิปวิดีโอนี้ถูกเผยแพร่ ได้มีคนมาแสดงความคิดเห็นและชื่นชมคุณแม่ที่เลือกใช้เหตุผลในการสอนลูกได้ดี และใช้วิธีลงโทษลูกอย่างเหมาะสม ซึ่งก็เป็นวิธีการลงโทษแบบที่เรียกว่า time out นั่นเอง
ลงโทษลูกด้วยวิธี time out ทำอย่างไร?
time out คือการลงโทษลูกโดยไม่ให้ลูกทำกิจกรรมใด ๆ แต่จะให้นั่งหรือยืนอยู่ในมุมที่จัดไว้ลงโทษเป็นเวลา 1-2 นาที และยังคงอยู่ในสายตาพ่อแม่ ควรเริ่มจากระยะเวลาสั้น ๆ เช่นประมาณ 20-30 วินาที ซึ่งเวลาที่เหมาะสมจะทำให้เด็กสงบสติอารมณ์ได้ วิธีการนี้เหมาะที่จะใช้กับเด็กในช่วงอายุ 2 – 3 ขวบ หรืออายุไม่เกิน 4-5 ขวบเนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มสื่อสารกันพอเข้าใจ และสามารถเข้าใจคำสั่งได้ง่าย ๆ แล้ว สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยอาจลงโทษด้วยการให้รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองผิด เช่น เมื่อทำน้ำหกก็ต้องเช็ดด้วยตัวเอง หรือลงโทษด้วยการคัดลายมือ เป็นต้น
หากคุณพ่อคุณแม่บ้านไหนมีวิธีลงโทษลูกแบบได้ผลและน่าสนใจโดยไม่ใช้การตี สามารถแชร์วิธีอื่น ๆ มาแลกเปลี่ยนเพื่อเป็นแนวทางแก่พ่อแม่บ้านอื่นกันได้นะคะ
รวมวิธีลงโทษลูกได้ผลดีแบบไม่ต้องลงมือตี!!!
พญ.สุธีรา ริ้วเหลือง จิตแพทย์กลุ่มงานจิตเวช สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.พระนั่งเกล้าฯ ได้กล่าวว่า การลงโทษด้วยการตีบ่อย ๆ อาจทำให้ลูกกลายเด็กดื้อไม้ ดื้อมือ ต่อต้าน และไม่เชื่อฟังพ่อแม่ได้ แถมยังเป็นการหล่อหลอมให้เด็กซึมซับความรุนแรงและนำไปใช้กับผู้อื่นอีกด้วย ดังนั้นการลงโทษมื่อลูกทำผิดยังมีหลายวิธีโดยไม่ใช้วิธีการตี
วิธีลงโทษลูกแบบ Time out
คือลงโทษลูกโดยไม่ให้ลูกทำกิจกรรมใด ๆ และให้นั่งอยู่ในมุมที่จัดไว้ลงโทษเป็นเวลา 1-2 นาที แต่ยังคงอยู่ในสายตาพ่อแม่ วิธีนี้สามารถใช้กับเด็กที่เข้าใจคำสั่งได้ง่ายหรืออายุไม่เกิน 4-5 ขวบ
Read : Time out ลงโทษแบบสงบแต่สยบลูกน้อยอย่างได้ผล
วิธีลงโทษลูกด้วยการงดกิจกรรม
เช่น ถ้าลูกทำการบ้านไม่เสร็จก็อดไปเล่นนอกบ้านกันเพื่อน วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป เนื่องจากเริ่มเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ และรู้จักต่อรองได้มากขึ้น ดังนั้นพ่อแม่ควรหนักแน่นและสอนลูกให้ยึดตามกติกาที่ตั้งไว้ ให้เหตุและผลเพื่ออธิบายให้ลูกเข้าใจ การใช้วิธีทำโทษแบบนี้ ซจะส่งผลให้ลูกเป็นเด็กที่เข้าใจและใช้เหตุผล มีวินัย และไม่ใช่อารมณ์ในการแก้ปัญหาได้
วิธีลงโทษลูกด้วยการรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำผิด
เช่น เมื่อทำน้ำหกก็ต้องเช็ดด้วยตัวเอง หรือลงโทษด้วยการคัดลายมือ เป็นต้น
คุณหมอยังได้เพิ่มเติมอีกว่า ถ้าลงโทษด้วยการตีลูกซ้ำแล้วซ้ำอีก วันหนึ่งเมื่อลูกทำผิดก็อาจแบมือมาให้พ่อแม่ตีโดยลูกจะไม่เข้าใจเลยว่า พ่อแม่ตีไปเพื่ออะไร ดังนั้นพ่อแม่ควรมีกติกาในการลงโทษลูก และไม่ควรใช้คำพูดที่ทำลายความรู้สึกของลูก อย่างการพูดว่า “แม่ไม่รักลูก ทำแบบนี้ไม่ใช่ลูกแม่” เพื่อให้เด็กรู้สึกแย่หรือน้อยใจลงได้
อย่างไรก็ตาม เราสามารถลงโทษลูกด้วยการตีได้ แต่ควรมีข้อตกลงและทำความเข้าใจให้ลูกรู้ว่า การที่พ่อแม่ตีลูกก็ต่อเมื่อลูกทำผิด ไม่ใช่การตีสุ่มสี่สุ่มห้า พร้อมอธิบายถึงสาเหตุเพื่อให้ลูกเกิดการยอมรับของวิธีการลงโทษนี้ เช่น เมื่อลูกดื้อ หรือไม่รักษาคำพูด ฯลฯ การพูดในลักษณะนี้เพื่อที่ลูกจะได้เรียนรู้และนำไปคิด ซึ่งพ่อแม่ก็ควรจะใจเย็นและไม่ใช้อารมณ์กับลูกด้วยนะคะ
หากพ่อแม่บ้านไหนมีวิธีลงโทษลูกแบบได้ผลและน่าสนใจโดยไม่ใช้การตี สามารถแชร์วิธีอื่น ๆ มาแลกเปลี่ยนเพื่อเป็นแนวทางแก่พ่อแม่บ้านอื่นกันได้นะคะ
ถึงตรงนี้พ่อแม่หลายคนอาจกำลังกุมขมับ แล้วคิดว่านอกจากตัวอย่างที่บอกไป ยังมีวิธีการหนุนเสริมเชิงบวกแบบไหนอีก
การหนุนเสริมเชิงบวก ทำได้ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนเลยสักนิด ยกตัวอย่างเช่น
- การไฮไฟว์ (high five) หรือการประกบมือกับลูกเมื่อลูกทำสำเร็จหรือทำได้ดี
- การกอดหรือการลูบหลัง
- การปรบมือ ส่งเสียงเชียร์ให้กำลังใจ หรือแม้แต่การยกนิ้วโป้ง เพื่อแสดงว่า “ยอดเยี่ยม”
- การบอกกับคนอื่นว่าภูมิใจในตัวลูกมากแค่ไหนต่อหน้าลูก
การกล่าวคำชมเชยหรือการให้รางวัล ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลย พ่อแม่สามารถทำได้เมื่อลูกลงมือทำบางอย่างที่น่าชื่นชมอย่างเห็นได้ชัด เช่น เมื่อลูกทำความสะอาดห้องตัวเองทั้งที่พ่อแม่ไม่ได้บอก กรณีนี้พ่อแม่สามารถหนุนเสริม ให้รางวัลลูกด้วยการพาไปสนามเด็กเล่นได้
หรือให้เวลาลูกเล่นแท็บเล็ตหรือทำในสิ่งที่เขาอยากทำมากขึ้น เมื่อเขามีความกระตือรือร้นทำการบ้านจนเสร็จอย่างรวดเร็วและทำออกมาได้ดี
ในวัยรุ่นการเลื่อนเวลาเคอร์ฟิว (curfew) ให้ลูกกลับบ้านช้าขึ้นได้อีก 1 ชั่วโมงสักครั้งหนึ่ง เมื่อเขาทำสิ่งที่ดีและน่าชื่นชมก็เป็นการหนุนเสริมอย่างหนึ่ง
การกล่าวชมเชยหรือให้รางวัลในจังหวะที่ถูกต้องจะเป็นแรงกระตุ้นและเป็นแรงบันดาลใจให้ลูกทำพฤติกรรมที่ดีนั้นอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่พ่อแม่ควรระวังไม่ใช้วิธีชื่นชมหรือให้รางวัล เป็นการเสนอเงื่อนไขหรือแลกเปลี่ยนเมื่อลูกกระทำความผิด
ที่มา: sutthirak.sakulrat
บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :
รวมวิธีลงโทษลูกได้ผลดีแบบไม่ต้องลงมือตี!!!
พ่อลงโทษลูกสาววัย 10 ปี ให้เดินไปโรงเรียนด้วยตัวเองระยะทาง 8 กิโล