รู้ไว้ใช่ว่า กับท่าคลอดลูกเอง สำหรับกรณีฉุกเฉิน!

เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงไตรมาสสุดท้าย ดังนั้นการเรียนรู้ท่าคลอดลูกเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลายครั้งต่อหลายคราที่เรามักจะได้ยินได้ฟังข่าวคราวของแม่คลอดลูกเองที่บ้าน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุการคลอดก่อนกำหนด การไม่รู้สัญญาณใกล้คลอด หรืออะไรก็แล้วแต่ การที่แม่ท้องและคนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามี ก็ควรที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับท่าต่าง ๆ ที่ภรรยาสามารถใช้คลอดเองที่บ้านได้ และนี่คือท่าที่เรานำมาฝากค่ะ

ท่าที่ 1 ท่ายืน

Credit ภาพ : mydoulaheart.com

เริ่มต้นด้วยการยืนแยกขาเล็กน้อย จับพนักเก้าอี้ไว้  หลังจากนั้นให้งอเข่าเล็กน้อย  และหมุนสะโพกไปมาเป็นวงกลมหรือส่ายสะโพกไปมาทางซ้ายขวาก็ได้  ในขณะที่ทำอยู่นั้นก็ให้คุณแม่หายใจออกตามไปด้วยนะคะ  เป็นจังหวะตามแบบการหายใจเบ่งคลอดค่ะ

ท่าที่ 2 ท่าคุกเข่า

Credit ภาพ : scotdir.com

ให้คุณแม่คุกเข่าลงกับพื้น  มือทั้งสองข้างเท้าเอวไว้ แล้วจึงโยกสะโพกเป็นวงกลมหรือโยกสะโพกไทางซ้ายหรือขวาก็ได้  ท่านี้สามารถใช้ในเวลาที่คลอดในน้ำได้

ท่าที่ 3 ท่าคลาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Credit ภาพ : mydoulaheart.com

ท่านี้เป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุด  เพราะทั้งหัวเข่าและมือจะพยุงตัวคุณแม่ไว้เต็มที่  ในขณะที่มดลูกทำงานบีบตัวมากขึ้นและถี่ขึ้น ท่านี้จะช่วยให้คุณแม่สามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ดี และยังลดอาการปวดหลังอีกด้วย

อย่างไรก็ตามเมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น สิ่งที่ควรมาเป็นอย่างแรกก็คือ “สติ” รีบให้คนใกล้ตัวโทรหาศูนย์กู้ภัย หรือกู้ชีพไม่ว่าจะเป็น ศูนย์นเรนทร (เบอร์ 1669) สำหรับคุณแม่ที่อยู่ต่างจังหวัด และศูนย์เอราวัณ (เบอร์ 1646) สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในกรุงเทพ

แต่ถ้าหากในระหว่างที่รอนั้น ไม่ทันจริง ๆ เพราะลูกน้อยอยากออกมาลืมตาดูโลกแล้วละก็ ปล่อยให้เขาออกมาเลยค่ะ ไม่ต้องไปอั้นไว้นะคะ เบ่งออกมา ถ้ารู้สึกว่าหัวศีรษะโผล่แล้ว ก็อย่าเบ่งเด็ดขาด เอามือประคองศีรษะของลูกไว้ แล้วก็เบ่งต่อ แต่ต้องอย่าลืมสังเกตให้ดีว่า รกไม่ได้พันอยู่ที่คอของลูกนะคะ ถ้าหากมีละก็ให้คุณแม่ค่อย ๆ เอานิ้วสอดเข้าไปแล้วแกะออกมาเบา ๆ ไม่ต้องตกใจค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังจากนั้นให้เอาลูกมาแนบอก ไม่ต้องไปสนใจว่าจะเลอะเทอะหรือไม่อย่างไร ถ้าหากลูกไม่ร้องให้คุณแม่สัมผัสตัวเขาเบา ๆ นะคะ พยายามให้ศีรษะของลูกนั้นอยู่ต่ำกว่าเท้า จากนั้นลูบหลังให้ลูกหายใจเอาน้ำคร่ำออกมา หากไม่ได้ผลก็ให้เป่าปากลูกต่อไปค่ะ เพื่อเป็นการให้ออกซิเจนกับลูก จากนั้นก็พยายามให้ลูกดูดนมนะคะ

ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าเพิ่งตัดสายสะดือโดยเด็ดขาด! เพราะการตัดสายสะดือนั้นจะต้องมั่นใจว่าสะอาดและปลอดเชื้อจริง ๆ

ที่มา: หนังสือคู่มือ ตั้งครรภ์คุณภาพ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความโดย

Muninth