รู้หรือไม่ การฉีดวัคซีนโรคไอกรนนั้นสำคัญไฉน

เพราะไม่อยากเห็นเด็กคนอื่นเป็น แม่จึงประกาศให้ทุกคนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนโรคไอกรน!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อิสซาเบล เด็กทารกหญิงวัยเพียง 10 สัปดาห์ต้องทนทุกทรมานกับการป่วยเป็นโรคไอกรนนานหลายสัปดาห์กว่าจะหาย

หนูน้อยผู้น่าสงสารรายนี้ ต้องทุกทรมานเป็นอย่างมาก เพราะต้องหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา พร้อมกับรักษาด้วยการใช้มอร์ฟีนและยากล่อมประสาท ซึ่ง แอนนี ไบรเดน ผู้เป็นแม่ รู้สึกรับไม่ได้ที่ลูกของเธอ ที่มีอายุยังไม่ถึงหนึ่งขวบ จะต้องมารับการรักษาด้วยวิธีการเช่นนี้ และภาพที่ แอนนี่ นำตัวลูกส่งโรงพยาบาลนั้น ยังคงเป็นภาพที่เธอไม่สามารถลืมได้จริง ๆ

แอนนี่ กล่าวว่า จริง ๆ แล้วเธอก็ไม่อยากนำเรื่องนี้แชร์กับคนอื่นเท่าไรนัก แต่ด้วยความที่เธอ อยากให้พ่อแม่คนอื่น ๆ เห็นความสำคัญกับการฉีดวัคซีนโรคไอกรน และไม่อยากเห็นเด็กคนอื่น ๆ ต้องทรมานแบบอิสซาเบล เธอจึงตัดสินใจแชร์เรื่องราวนี้กับทุกครอบครัว

ลักษณะทั่วไปของโรคไอกรน

ไอกรน  (Pertussis)  เป็น โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ  ทำให้มีอาการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ  และเกิดอาการไอที่มีลักษณะไอ   ซ้อน ๆ ติด ๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น  ทำให้เด็กหายใจไม่ทัน  เสียงไอของโรคนี้เป็นการไปที่มีเอกลักษณ์  มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Whooping cough เป็นการไอลึก ๆ เป็นเสียงวู้ป  สลับกับการไอเป็นชุด ๆ บางครั้งอาจมีอาการเรื้อรังนาน 2-3 เดือน

สาเหตุการเกิดโรคไอกรน

โรคไอกรน  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ  Bordettella  โรคนี้ติดต่อกันง่ายมาก  โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีภูมิต้านทานจะติดเชื้อโรคจากผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในบ้าน เดียวกันมีโอกาสมากถึง 80 – 100% ถึงแม้จะมีภูมิต้านทานก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ถึง 20 % โดยเชื้อโรคจะแพร่กระจายอยู่ในละอองของเสมหะ  น้ำมูก  น้ำลายของผู้ป่วย และจะติดต่อไปยังผู้อื่นต่อไป    ไอกรนจะพบได้บ่อยในเด็กส่วนใหญ่จะติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว    โรคไอกรนเป็นได้ตั้งแต่เดือนแรก  เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมาก  ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราการตายสูง  ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการรุนแรงและมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตมักจะเป็นเด็ก อายุต่ำกว่า 1 ปี

คลิกเพื่ออ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไอกรนเกิดขึ้นได้อย่างไร

เชื้อแบคทีเรียชื่อ Bordettella เมื่อเข้าสู่ทางเดินหายใจแล้วจะไปเกาะเยื่อบุเซลล์ หรือเยื่อเมือกของเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก เกิดการแบ่งตัวและผลิตสารพิษออกมา ก่อให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และก่อให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา ประมาณ 10% ของทารกเชื้ออาจเข้าสู่ปอดตามทางเดินหายใจทำให้เกิดอาการปอดบวม อาจทำให้เสียชีวิตได้ เชื้อโรคของไอกรนมักไม่แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด จึงมักไม่แสดงอาการกับอวัยวะอื่น นอกจากระบบทางเดินหายใจส่วนบน

อาการของโรคไอกรน

อาการของโรคแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1.ระยะแรก เด็กจะเริ่มมีน้ำมูก และไอ อาการเริ่มแรกดูเหมือนเป็นหวัดธรรมดา อาจมีไข้ต่ำ ๆ ตาแดง น้ำตาไหล อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ระยะนี้จะยังวินิจฉัยโรคไอกรนยังไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน และไอแบบแห้ง ๆ

2.ระยะไอ หรือระยะอาการกำเริบ เป็นระยะที่มีอาการไอเด่นชัด มีอาการไอเป็นชุด ๆ ไม่มีเสมหะ จะเริ่มมีลักษณะอาการไอกรน คือ มีอาการไอถี่ ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้ง ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง “วู้ป” (Whoop) เป็นเสียงการดูดลมเข้าอย่างแรง ในช่วงที่ไอผู้ป่วยจะหน้าแดง น้ำมูก น้ำตาไหล เส้นเลือดที่คอโป่งพอง การไอเป็นกลไกของร่างกายที่ขับเสมหะที่เหนียวข้นในทางเดินหายใจออกมา ผู้ป่วยจะไอติดต่อกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะขับเสมหะที่เหนียวข้นออกมา ในเด็กเล็กอาจจะไอจนหน้าเขียว เพราะหายใจไม่ทัน ซึ่งอาการหน้าเขียวอาจเกิดจากเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่ในเด็กเล็กจะมีอาการอาเจียนตามหลังการไอเป็นชุด ๆ อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2-4 สัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.ระยะฟื้นตัว หรือระยะพักฟื้น ระยะนี้กินเวลาตั้งแต่ 1 – 3 เดือน เป็นระยะที่อาการไอจะค่อย ๆ ทุเลาลงจนหายในที่สุด

โรคไอกรนรักษาได้อย่างไร คลิกหาคำตอบที่หน้าถัดไป

ควรพบแพทย์เมื่อใด

1.ผู้ที่อาการชัดเจนว่าเป็นไอกรน คือ มีอาการไอเป็นชุด ๆ ช่วงสุดท้ายมีเสียงดังวู้ป หรือหลังไอมีอาการอาเจียนตามมาและมีไข้ ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว

2.ในกรณีที่อาการไม่ชัดเจน แต่ไอติดต่อกันมาประมาณ 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.ถ้าในบ้านของผู้ป่วยมีทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี หรือมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไอกรนกับบุคคลเหล่านี้ ผู้ป่วยควรแยกน้ำดื่ม อาหารการกิน ของใช้ส่วนตัว และแยกห้องนอนจนกว่าจะผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อไปแล้วมากกว่า 5 วัน

การรักษาโรคไอกรน

การรักษาหลักในโรคไอกรน คือ การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และรักษาแบบประคับประคองตามอาการ

1.ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง จะรักษาแบบให้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน สำหรับยาแก้ไอไม่ได้ช่วยในการรักษาหรือบรรเทาอาการไอ จึงไม่จำเป็นต้องใช้

2.สำหรับเด็กทารกและผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อดูแลเกี่ยวกับเรื่องระบบทางเดินหายใจไม่ให้ร่างกายขาดออกซิเจน ในบางครั้งอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ  และต้องแยกห้องผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

การป้องกันโรคไอกรน

1.โรคไอกรนมีวัคซีนสำหรับป้องกัน ในเด็กเล็กต้องได้รับการฉีดวัคซีนโรคไอกรนช่วงอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 15 – 18 เดือน ในรูปของวัคซีนรวม คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หลังจากนั้นเมื่ออายุ 4 – 6 ปี ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 1 ครั้ง

2.ในช่วงอายุ 11-12 ปี ปกติเด็กควรจะได้รับวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยัก กระตุ้นอีก 1 เข็ม แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบไอกรน บาดทะยัก แทนการฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก

3.สำหรับแม่ตั้งครรภ์  ควรได้รับการฉีควัคซีนโรคไอกรน  เพราะช่วยป้องกันโรคไอกรนในแม่และลูกที่คลอดมา ซึ่งเป็นที่รู้ว่า เกินร้อยละ 50 ของลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรน ติดมาจากเชื้อโรคไอกรนในแม่ ซึ่งหากลูกเป็นโรคไอกรนใน 3 เดือนแรก ลูกมีโอกาสเจ็บป่วยรุนแรงจนเสียชีวิต แต่หากฉีดวัคซีนโรคไอกรนให้แม่ สามารถป้องกันโรคไอกรนในลูกที่คลอดออกมาได้ตั้งแต่ 2-6 เดือน

ที่มา: Nzherald

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ทำไมเด็ก ๆ จึงควรได้รับวัคซีน

ตารางวัคซีนประจำปี 2559 เช็คเลย!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth