ระวังให้ดีลูกหาย! โค้งสุดท้ายก่อนเปิดเทอม

วิธีป้องกันเด็กหายช่วงปิดเทอม ให้ลูกรักของคุณปลอดภัยแม้ไกลตา มาดูข้อควรระวังและวิธีสอนลูก ให้ปลอดภัยในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเปิดเทอม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระวังลูกหาย ปิดเทอม ไม่น่าเชื่อว่าปัญหาเด็กหาย หรือโดนลักพาตัวนั้น กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องแบบน่ากลัวมากขึ้นทุกวัน ทั้งในช่วงปิด และ เปิดเทอม ล่าสุดกรณีเด็กเกือบหายที่สนามหลวงก็เป็นที่ฮือฮา และ สร้างความหวาดกลัวให้กับเด็ก และ ผู้ปกครองมากขึ้นไปอีก โดยคนร้ายจ้องหาโอกาสท่ามกลางความเศร้าโศกของชาวไทยขณะร่วมงานพระราชพิธีไว้อาลัยพระบรมศพ ทำเนียนตีสนิทเหมือนรู้จักเด็กและ ครอบครัวมานาน หรือ ก่อนหน้านั้นที่น้องโจ้หายไปนานถึง 2 ปี 9 เดือน โดยคนร้ายใช้เกมล่อลวงขณะเดินทางไปโรงเรียน อีกกรณีที่ด.ญ. 13 ปี หายตัวไปในงานเทกระจาด กลับมาบ้านสภาพบอบช้ำ โดยเต็มใจหายไปกับผู้ชาย ที่รู้จักกันในเฟซบุ๊กเป็นเวลา 1 เดือน และ อีกกรณีที่น้องจีจี้หายตัวไป 6 ปี แต่ยังไร้ร่องรอย

ระวังลูกหาย ปิดเทอม

จะเห็นได้ว่ามีทั้งกรณีที่เด็กหายตัวไปทั้งแบบเต็มใจและไม่เต็มใจ แต่แน่นอนว่าสำหรับผู้ปกครองหรือคนเป็นพ่อแม่แล้ว ไม่ว่าจะหายไปในรูปแบบไหนก็ต้องกังวลใจกันเป็นธรรมดา เพราะคนร้ายจ้องหาโอกาสได้ทุกขณะแม้กระทั่งในพื้นที่ที่มีคนเยอะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ชะล่าใจคิดว่าน่าจะปลอดภัยที่สุด แต่หารู้ไม่ว่าสถานที่ที่ดูเหมือนจะปลอดภัยที่สุดนั้นกกลับกลายเป็นพื้นที่ที่อันตรายที่สุด วันนี้ผู้เขียนจึงมีข้อแนะนำเพื่อดูแลเด็กๆ ไม่ให้หายตัวไปแบบได้ผล 100% มาฝากกัน ดังนี้

 

1) หากเป็นเด็กเล็กต้องเดินจูงมือเสมอ

เด็ก ๆ อายุ 1–6 ขวบนั้น เสี่ยงต่อการโดนล่อลวงที่สุด เพราะเมื่อเห็นอะไรที่สวยล่อใจก็พร้อมจะไปทันที คุณพ่อคุณแม่จึงต้องจูงมือคุณหนู ๆ และดูแลใกล้ชิดอยู่เสมอเมื่อพาไปเที่ยวนอกบ้าน เช่น สวนสนุก, สวนสัตว์ และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2) สอนลูกให้อยู่เป็นกลุ่มเสมอ

อย่างคุณพ่อคุณแม่ชาวญี่ปุ่นนั้นจะสอนให้ลูกไปโรงเรียนกับเพื่อน ๆ เองตั้งแต่อายุ 4 ขวบ โดยเด็ก ๆ จะมีที่นัดหมายก่อนเดินทางไปโรงเรียนพร้อมกันในทุก ๆ วัน และทางโรงเรียนก็มีคุณครูคอยย้ำเตือนให้เด็ก ๆ เดินทางเป็นกลุ่ม สอนให้พี่คอยดูแลช่วยเหลือน้อง ไปรับน้องถึงหน้าบ้านเพื่อเดินมาจุดนัดหมายทั้งก่อนไปโรงเรียนและก่อนกลับบ้าน เพราะการอยู่เป็นกลุ่มนั้นจะทำให้เด็ก ๆ เป็นจุดเด่นน่าสังเกต คนร้ายจึงเข้าถึงได้ยาก

3) สอนให้ลูกอยู่ห่างจากสถานที่ที่รถเข้ามาจอดเทียบใกล้ตัวได้

สถานที่ที่รถสามารถเข้ามาจอดเทียบใกล้ตัวได้เป็นสถานที่ที่อันตรายมากที่สุดเลยก็ว่าได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยสอนลูก ๆ ให้อยู่ห่างสถานที่นั้น ๆ เอาไว้ และหากคนร้ายทำทีมาสนิทหรือเดินตาม ก็สอนให้เด็ก ๆ หลบหลีกไปที่ที่มีคนเยอะ ๆ หรือจะเป็นป้อมยามกับป้อมตำรวจก็ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4) ไม่ให้ลูกรอในรถเพียงลำพัง

ถึงแม้ว่าจะต้องลงไปทำธุระเพียงไม่กี่นาที ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจสตาร์ทรถไว้และปล่อยให้คุณหนู ๆ รอในรถตามลำพัง เพราะเสี่ยงต่อการโดนขโมยรถและลูกรักโดนลักพาตัวเป็นอย่างมาก ทางที่ดีควรมีผู้ใหญ่อยู่รอในรถกับคุณหนู ๆ หรือจะหาที่จอด ดับเครื่องรถและพาคุณหนู ๆ ไปทำธุระด้วยจะดีกว่า

 

5) สอนให้ลูกจำเบอร์โทรศัพท์ยามฉุกเฉิน

นอกจากจะสอนให้น้อง ๆ หนู ๆ จำชื่อ – นามสกุลตัวเอง ชื่อคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองและเบอร์โทรศัพท์แล้ว ก็ต้องสอนคุณหนู ๆ จำและใช้เบอร์ฉุกเฉินให้เป็นด้วย อย่างเช่น 191 และ 1599 เบอร์สายด่วนศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6) ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่คอยติดตามลูกรักให้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายอุ่นใจ ไม่ว่าจะเป็นการสอนให้คุณหนู ๆ ใช้งานโทรศัพท์เบื้องต้น เช่น รับสาย โทรออก และส่งข้อความ เพื่อคุณหนู ๆ จะได้แจ้งให้คุณพ่อคุณแม่ทราบเมื่อถึงโรงเรียน หรือจะเป็นนาฬิกาข้อมือโทรศัพท์ป้องกันเด็กหาย ซึ่งในปัจจุบันก็มีหลายยี่ห้อมาก อาทิ Pomo R2 ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถรู้ระบุพิกัดหรือตำแหน่งที่คุณหนู ๆ อยู่ได้ผ่าน Wi-Fi, GPS และ LBS นอกจากนี้ยังมี GPS อันเล็ก ๆ ขนาดเท่าเหรียญสิบ ใส่ซิมได้ ราคาเพียง 1,000 บาทนิด ๆ ให้โทรไปฟังเสียงได้ด้วย หรือจะเป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า Baby Bear Phone ที่เป็นได้ทั้งโทรศัพท์และ GPS ใส่กระเป๋าสะพายให้คุณหนู ๆ ไปโรงเรียน เพื่อจะได้เช็กความปลอดภัยของลูกได้

 

ด้วย 6 วิธีที่ผู้เขียนได้แนะนำไปนั้น หากคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองปฏิบัติตาม ผู้เขียนเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับคุณหนูๆ และป้องกันเด็กหายได้มากขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายเช่นกัน ทั้งผู้คน ชุมชน โรงเรียน หน่วยงานเอกชน และหน่วยงานของรัฐ ให้เป็นหูเป็นตาในการดูแลลูกหลานช่วยกัน สังคมไทยของเราจะได้น่าอยู่และมีความความสุขวงบมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

 

ที่มา : ภัคสรกัญญ์ ทองคำ iPrice

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เตือน! แก๊งลักเด็กอาละวาดที่สนามหลวง พ่อแม่โปรดระวัง

รวมประสบการณ์ระทึกขวัญ แก๊งลักเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya