ปกติแล้วเมื่อเด็ก ๆ เริ่มไปโรงเรียน การติดหวัดเพื่อน ๆ นับว่าเป็นเรื่องธรรมดานะคะ ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค บอกไว้ว่า ร่างกายฟื้นฟูหายจากอาการไม่สบายจริง ๆ ภายใน 7-10 วัน แต่เด็ก ๆ ต้องใช้เวลานานกว่านั้นค่ะ และที่แน่ ๆ คือ เด็ก ๆ ติดเชื้อโรคง่ายกว่าผู้ใหญ่ 6-10 เท่าเลยทีเดียว และคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ก็จะหา ซื้อยามากินเอง แต่รู้ไหมคะ ว่าการใช้ยา Over The Counter Medications หรือ OTC (คือยาที่ซื้อหาได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากคุณหมอ อย่างยาแก้ไอ ยาแก้ไข้) ไม่ควรใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ซึ่งในบางกรณีอาจนำไปสู่การอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก
เมื่อเด็ก ๆ ต้องกินยาที่อยู่ในกลุ่มของ OTC นั้น การใช้มาตรฐานเดียวกับการกะขนาดสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้เด็ก ๆ กินในปริมาณที่น้อยกว่าตามอายุหรือตามน้ำหนักนั้นก็ทำไม่ได้เช่นกันค่ะ แม้ว่าจะมีอาการเดียวกันกับผู้ใหญ่ก็ตาม เพราะยาประเภทนี้ไม่มีการรับรองความปลอดภัยว่าสามารถใช้กับเด็กๆ ได้
ซึ่งในปี 2008 องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ FDA ห้ามไม่ให้ใช่ยา OTC ที่ช่วยแก้ไอ ลดไข้ กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ และตกลงกับบริษัทผู้ผลิตยาว่าจะติดป้ายห้ามยานี้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ขวบ
ไม่ใช่แค่เรื่องนิดหน่อย แต่ทำให้เสียชีวิตได้
มีรายงานการเสียชีวิตของเด็กจำนวน 100 คน ที่ใช้ยาในกลุ่ม OTC ทั้งที่เกินขนาด และให้กินบ่อยเกินไป การวัดตวงปริมาณมาณยาที่มากเกินไป และการออกฤทธิ์ที่ส่งผลเสียต่อร่างกายของเด็ก ๆ
นอกจากนี้ยังมีตัวยาโคเดอีนที่ผสมอยู่ในยาแก้ไอ ซึ่งจะออกฤทธิ์คล้ายมอฟีน ซึ่งอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของเด็กๆ สามารถทำให้หยุดหายใจได้ แม้จะเป็นการใช้ในผู้ใหญ่ก็ต้องระมัดระวังเช่นกันค่ะ
ผลลัพธ์ของยาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
การใช้ยาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงแค่การมีอาการป่วยเดียวกัน แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาด้วย อาทิ เช่น
- สภาพร่างกาย: ผู้ป่วยบางรายอาจมี โรคประจำตัว หรือ การแพ้ยา บางชนิด ยิ่งในเควที่เป็นเด็ก บางครั้งเราอาขไม่รู้เลยว่าเด็กแพ้ยาชนิดไหน หรือยาชนิดไหนไม่ควรใช้กับโรคประจำตัวไหนบ้าง
- อายุ: โดยหลัก ๆ แล้ว เด็กเล็ก และ ผู้สูงอายุ มักมีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง จากยาได้มากกว่าผู้ใหญ่ทั่วไป
- โรคร่วม: จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า บางโรคห้ามใช้ยาบางชนิด ซึ่งในบางกรณีอาจรุนแรงถึงชีวิตเลยก็ได้
ดังนั้น การเลือกใช้ยาตามคนอื่น หรือการที่คนอื่นใช้ยานี้แล้วได้ผลดี ไม่ได้หมายความว่า เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนกันเสมอไป ที่สำคัญการใช้ยาที่เหมาะสม ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ซึ่งจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และ เหมาะสม กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยมากที่สุด
ทางเลือกอื่น ๆ ในการรักษา
การรักษาทางเลือกอื่น ๆ ที่เป็นธรรมชาติมากกว่า อย่างเช่น การหยดหรือสเปรย์จมูก การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ควบคุมอุณหภูมิและความชื่นในบ้านหรือในห้องนอน ก็ช่วยในเรื่องของอาการคัดจมูกได้เป็นอย่างดีค่ะ หากลูกมีไข้ หายาลดไข้ที่มีตัวยา Acetaminophen หรือ Ibuprofen ดูค่ะ
ถ้าลูกไอมาก ลองให้จิบน้ำผึ้งทีละนิด ก็ช่วยได้ค่ะ แถมยังปลอดภัยกว่ายาแก้ไอที่ขายอยู่ทั่วไปด้วย สิ่งสำคัญคือการพักผ่อนนอนหลับให้มากๆ และหยุดเรียนจนกว่าจะหาย เพื่อไม่ให้เชื้อโรคไปติดเพื่อนๆ แต่ถ้าหากลูกมีอาการอื่นๆ มากกว่านี้ ก็ควรพาลูกไปหากุมารแพทย์นะคะ
ยาสำหรับเด็กชนิดไหน ที่ไม่ควร ซื้อยามากินเอง ?
1) ยากลุ่มซัลฟา
ยากลุ่มซัลฟาเป็นชนิดยาที่ใช้ต้านมาลาเรีย ซึ่งถ้าหากให้เด็กที่ป่วยเป็นโรคพร่องเอนไซม์รับยาตัวนี้เข้าไป ตัวยาก็จะไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตก ในระยะยาว ยาเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย G6PD โดยเฉพาะเด็ก
2) ยาฆ่าเชื้อกลุ่มเตตร้าไซคลิน และยาคลอแรมเฟนิคอล
ยาฆ่าเชื้อกลุ่มเตตร้าไซคลินและคลอแรมเฟนิคอล ไม่ควรนำมาใช้ในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี
เนื่องจากยาเหล่านี้อาจส่งผลร้ายแรงต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนี้
- ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก: ยาเหล่านี้อาจขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอและหยุดการเจริญเติบโต
- ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของฟัน: ยาเหล่านี้อาจทำให้ฟันเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือเทาถาวร
- ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน: ยาเหล่านี้อาจลดการผลิตเม็ดเลือดขาว ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
3) ยากลุ่มแอสไพริน
ถึงแม้ว่ายาแอสไพริน จะเป็นยาแก้ไข้และลดอาการหวัดที่หลายคนคุ้นเคย แต่ไม่ควรนำยาชนิดนี้มาใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี และเด็กที่มีอาการป่วยจากเชื้อไวรัสบางชนิด สาเหตุหลัก ๆ เป็นเพราะว่าเมื่อร่างกายของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส ได้รับยากลุ่มนี้ อาจส่งผลร้ายแรง เกิดเป็นโรค “รายส์ ซินโดรม” (Reye’s syndrome) หรือภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ร่วมกับภาวะตับวาย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว
4) ยากลุ่มโลเพอราไมด์
ยาโลเพอราไมด์ เป็นยาที่ใช้รักษาอาการท้องเสีย โดยออกฤทธิ์หยุดการเคลื่อนไหวของลำไส้
อย่างไรก็ตาม ยาชนิดนี้ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ดังนี้:
- ปากแห้ง คอแห้ง
- ท้องผูก
- ปวดท้อง
- ในบางรายอาจมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
5) ยากลุ่มเดกซ์เมทอร์แฟน
อีกหนึ่งกลุ่มยาที่ไม่ควรซื้อมากินเองกับเด็ก นั่นก็คือ ยากลุ่มเดกซ์โทรเมทอร์แฟน ซึ่งเปรียบเสมือนยาแก้ไอ อย่างไรก็ตาม เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ห้ามใช้ยาชนิดนี้เด็ดขาด เพราะตัวยาอาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของเด็กได้
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ายาสำหรับเด็กแต่ละชนิดจะมีการกำหนดช่วงอายุที่ ปลอดภัย ในการใช้ แต่สื่งที่เราต้องคำนึงถึงคือเด็กแต่ละคน อาจมีอาการแพ้หรือผลข้างเคียงจากยาที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรอย่างใกล้ชิดและคอยจดบันทึกยาที่ลูกใช้ทุกตัวว่า มียาตัวไหนที่ลูกมีอาการแพ้ หรือ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษไหม ซึ่งจะช่วยในการไปพบแพทย์ หรือ เภสัชกรครั้งต่อไป จะได้แจ้งอาการ และ ปรึกษาหาตัวยาอื่นมาใช้ทดแทนได้อย่างปลอดภัย
ที่มา CNN, Rama Mahidol, Trueplookpanya
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลูกเสี่ยงตาย เพราะในยาเเก้ไอมี..
โรคติดต่อที่มักพบในโรงเรียนอนุบาล