กรดโฟลิค ( folic acid ) หรือที่เราเรียกกันว่า โฟเลต (folate) คือ วิตามินบี 9 ชนิดหนึ่งในกลุ่มที่ละลายในน้้า ช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้เจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะเซลล์สมองและกระดูกสันหลังของเด็กทารก โฟลิคที่คนส่วนใหญ่รู้จักจะเป็นยาเม็ด ซึ่งมีหลายยี่ห้อ โฟลิคยี่ห้อไหนดี หรือมีแหล่งโฟลิคจากอาหารอื่น ๆ หรือไม่ บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับ โฟลิค มากยิ่งขึ้น
โฟลิคคืออะไร
โฟลิคนิยมใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์ มีส่วนสำคัญในการป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารก ซึ่งเป็นภาวะความพิการแต่กำเนิด ป้องกันทารกไม่มีกระโหลกศีรษะ ป้องกันการแท้งบุตร และภาวะเสี่ยงอื่น ๆ หากครอบครัวของคุณเตรียมตัววางแผนจะมีสมาชิกตัวน้อย ๆ ว่าที่คุณแม่หรือผู้หญิงทุกคน ควรเริ่มเตรียมหามาทานล่วงหน้า ตั้งแต่ 1-3 เดือนก่อนที่จะตั้งครรภ์
โฟลิคมีประโยชน์อย่างไร
- ป้องกันความพิการแต่กำเนิดของทารก (Birth Defects)
- ป้องกันทารก หลอดประสาทไม่ปิด (NTD)
- ทารกปากแหว่งเพดานโหว่
- แขนขาทารกพิการแต่กำเนิด
- กลุ่มอาการดาวน์
- ทารกคลอดก่อนกำหนด
- น้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์
โฟลิคควรกินตอนไหน
- คุณแม่ที่วางแผนตั้งครรภ์ หรือ กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับโฟลิค วันละ 400 – 600 ไมโครกรัม
- ควรรับประทานโฟลิคตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ จนอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ และต่อเนื่อง 3 เดือนเมื่อเริ่มตั้งครรภ์
- หลังจากตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ ให้รับประทานวันละ 600 ไมโครกรัม เพื่อความต้องการในการเจริญเติบโตของทารกและรก
คุณแม่หลายคนได้รับโฟลิคในรูปแบบของ ยาเม็ดวิตามินเสริม โดยคุณหมอมักจะจ่ายมาให้ตั้งแต่เริ่มวางแผนตั้งครรภ์ และกินไปได้จนคลอด อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลายคนคนไปหาซื้อโฟลิคมาทานเองด้วย ซึ่งในท้องตลาดก็มีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ อาทิ Blackmores, DHC, Giffarine และอื่น ๆ ทั้งนี้ ถ้าถามว่าโฟลิคยี่ห้อไหนดี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเลือกซื้อยาทานเองดีที่สุด
แหล่งโฟลิคสำหรับคนท้อง
คุณแม่ที่ได้รับยาโฟลิคจากคุณหมอแล้ว ไม่จำเป็นต้องหาซื้อยาโฟลิคยี่ห้ออื่นมาทานเพิ่ม เพราะในอาหารที่เราทานแต่ละมื้อ ก็มีวัตถุดิบหลายอย่างที่อุดมด้วยโฟลิคได้แก่ ผักใบเขียว ผลไม้ เนื้อสัตว์ ธัญพืชต่าง ๆ แต่การกินโฟลิคจากอาหารต่าง ๆ ต้องระวัง เพราะการใช้ความร้อนปรุงอาหารนาน ๆ อาจทำให้กรดโฟลิคสลายตัวไปได้ โฟลิคมีอยู่ในอาหารอะไรบ้าง มาดูกันเลย
เนื้อสัตว์
- ตับวัว 100 กรัม มีโฟลิคประมาณ 200 ไมโครกรัม
- เนื้อปลาดุก 100 กรัม มีโฟลิคประมาณ 96.5 ไมโครกรัม
- ไข่ 1 ฟอง มีโฟลิคประมาณ 23 ไมโครกรัม
ผักใบเขียว และผักอื่น ๆ
- บร็อกโคลีสุก 1 ถ้วย มีโฟลิคประมาณ 78 ไมโครกรัม
- ผักกาดหอมสด 1 ถ้วยตวง มีโฟลิคประมาณ 76 ไมโครกรัม
- คะน้า 100 กรัม มีโฟลิคประมาณ 80.10 ไมโครกรัม
- ผักโขมสุก ½ ถ้วยตวง มีโฟลิคประมาณ 135 ไมโครกรัม
- กระเจี๊ยบเขียวต้ม ½ ถ้วย มีโฟลิคประมาณ 135 ไมโครกรัม
- หน่อไม้ฝรั่ง (ปรุงสุก) 1 ทัพพี มีโฟลิคประมาณ 60.8 ไมโครกรัม
- ดอกกะหล่ำ 100 กรัม มีปริมาณโฟเลท 57 ไมโครกรัม
ผลไม้สด ผลไม้รสเปรี้ยว
- อะโวคาโด 100 กรัม มีโฟลิคประมาณ 11 ไมโครกรัม
- กล้วยหอม 1 ผลขนาดกลาง มีโฟลิคประมาณ 24 ไมโครกรัม
- น้ำส้มคั้นสด ½ ถ้วย มีโฟลิคประมาณ 55 ไมโครกรัม
- ทุเรียนหมอนทอง มีโฟลิคประมาณ 155.75 ไมโครกรัม
- มะละกอแขกดำสุก มีโฟลิคประมาณ 255.88 ไมโครกรัม
- ฝรั่ง 1 ผล มีโฟลิคประมาณ 288 ไมโครกรัม
- สับปะรดศรีราชา มีโฟลิคประมาณ 300.54 ไมโครกรัม
ธัญพืช
- ข้าวไรซ์เบอรี่ มีโฟลิคประมาณ 25.05 ไมโครกรัม
- ถั่วแดงหลวง 100 กรัม มีโฟลิคประมาณ 144.2 ไมโครกรัม
- ถั่วดํา 100 กรัม มีโฟลิคประมาณ 230.11 ไมโครกรัม
- ถั่วเขียว 100 กรัม มีโฟลิคประมาณ 186.40 ไมโครกรัม
ที่มา : (1) (ndi.fda.moph) (ndi.fda.moph) (birthdefectsthailand) (MED CMU) (healthline)