รวม โครงการเยียวยาประชาชน จากภาครัฐ พร้อมรับมือ COVID-19 ระลอก 2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การระบาดใหม่ อีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ยังคงความรุนแรงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบอย่างหนักหนัก ต่อภาคธุรกิจ ร้านค้า ผู้ประกอบการ และประชาชน ทำให้รัฐบาล ต้องทยอยออกมาตรการ และ โครงการเยียวยาประชาชน ภายใต้แนวคิด “ลดภาระค่าใช้จ่าย เสริมสภาพคล่อง ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน” theAsianParent Thailand จึงได้รวบรวมทุก โครงการเยียวยาประชาชน จากหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ หลังการกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 คุณสมบัติของเราจะตรงกับ โครงการเยียวยาประชาชน โครงการไหน หรือมาตรการอะไร ที่จะช่วยบรรเทาสถานการณ์ได้บ้าง รีบเช็คให้ชัวร์ ก่อนหมดเขตลงทะเบียน

มาตรการ และ โครงการเยียวยาประชาชน แพ็กเกจล่าสุดจากรัฐบาล สามารถจัดกลุ่ม ออกมาได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

โครงการเยียวยา จากโควิด2

ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค

1. ลดค่าไฟฟ้า 2 เดือน ตามใบแจ้งหนี้ กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564 โดยแบ่งเป็น 3 มาตรการ ประกอบด้วย

  • มาตรการสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ ไม่เกิน 5 แอมป์ และใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วย / เดือน รวมจำนวน 10.13 ล้านราย ซึ่งจะให้ใช้ไฟฟ้าได้ฟรี 90 หน่วยแรก ทุกราย
  • มาตรการสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย / เดือน รวมจำนวน 11.83 ล้านราย จะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้า ในส่วนของหน่วยการใช้ไฟฟ้า ที่เพิ่มขึ้นจากบิลค่าไฟฟ้าในเดือน ธันวาคม 2563 เป็นฐานในการคำนวณส่วนลด
  • สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ลูกค้าตรงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้ใช้ไฟฟ้าของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการฯ ที่มีลักษณะเป็นการอยู่อาศัย ร่วมกับการประกอบธุรกิจรายเล็ก จะให้ค่าไฟฟ้าฟรี 50 หน่วยแรก ทุกราย

 

2. ลดค่าน้ำประปา 10% เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นเวลา 2 เดือน ตามใบแจ้งหนี้เดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม  2564

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต ลดค่าใช้จ่าย โดยกระทรวงดีอีเอส กสทช. และผู้ประกอบการค่ายโทรศัพท์มือถือ มีมติเพิ่มความเร็ว ของอินเทอร์เน็ตบ้าน และโทรศัพท์มือถือ ให้ผู้ใช้บริการ สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้ทำงานจากที่บ้านทางอ้อม รวมถึงให้โหลดแอปพลิเคชั่น หมอชนะ โดยสามารถโหลดได้ฟรี ไม่มีค่าใ้ช้จ่าย และไม่คิดค่า data เป็นเวลา 3 เดือน

โครงการเยียวยา จากโควิดด6

เสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการและประชาชน

1. พ.ร.ก. Soft Loan ธปท. วงเงิน 500,000 ล้านบาท ณ วันที่ 4 มกราคม 2564 มีวงเงินคงเหลือ 370,000 ล้านบาท รับคำขอสินเชื่อได้ถึงวันที่ 18 เมษายน 2564

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยธนาคารออมสิน ประกอบด้วย

  • โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม จากสถาการณ์การระบาด ระลอก 2 ของเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้ประกอบการ ในธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (soft loan ท่องเที่ยว) วงเงิน 10,000 ล้านบาท ณ วันที่ 4 มกราคม 2464 มีวงเงินคงเหลือ 7,600 ล้านบาท โดยธนาคารออมสิน สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ให้สถาบันการเงิน ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 / ปี เป็นระย4ะเวลา 2 ปี และสถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ ในธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 100 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลา 2 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 256
  • โครงการให้สินเชื่อ เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย ภายใต้วงมเงินวงเงิน 5,000 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 4 มกราคม 2564 มีวงเงินคงเหลือ 4,200 ล้านบาท ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อ ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็ก และผู้ประกอบการรายย่อย ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและซัพพลายเชน วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.99 / ปี ระยะเวลากู้ 5 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
  • โครงการสินเชื่อออมสิน SMEs วงเงิน 10,000 ล้านบาท ธนาคารออมสิน ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยใช้หลักประกันสินเชื่อ เป็นที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง และไม่ต้องผ่านการตรวจเครดิตบูโร วงเงินสินเชื่อต่อราย ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินที่ดิoของทางราชการ สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.99 / ปี ระยะเวลากู้ 3 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

 

3. สินเชื่อ Extra Cash โดย ธพว. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วงเงินโครงการ 10,000 ล้านบาท วงเงินเหลือประมาณ 5,900 ล้านบาท รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เปิดความหมาย ประกันสังคมมาตรา 33 คือใครบ้าง2

4. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 

มีมาตรการช่วยเหลือ SMEs สู้ภัยโควิด-19 วงเงินค้ำประกันรวม 100,000 ล้านบาท เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเปราะบาง กลุ่มทั่วไป และผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบด้วย

  • โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs ไทยสู้ภัยโควิด วงเงิน 5,000 ล้านบาท ระยะที่ 9 รับคำขอค้ำประกันสินเชื่อถึงวันที่ 31 มกราคม 2564
  • โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. รายย่อย ไทยสู้ภัยโควิด วงเงิน 5,000 ล้านบาท รับคำขอค้ำประกันสินเชื่อถึงวันที่ 31 มกราคม 2564
  • โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS Soft Loan พลัส วงเงินคงเหลือประมาณ 54,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีคุณสมบัติตาม soft loan ธปท. และ soft loan ท่องเที่ยวของธนาคารออมสิน รับคำขอค้ำประกันสินเชื่อตามระยะเวลารับคำขอสินเชื่อของแต่ละโครงการ

 

5. มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 

โดยธนาคารส่งเสริมการส่งออกและการนำเข้า (ธสน.) สนับสนุนสินเชื่อ ให้ผู้ประกอบการส่งออก และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงผู้นำเข้าเครื่องจักร และอุปกรณ์ วงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 100 ล้านบาท รวมวงเงิน 5,000 ล้านบาท ขยายเวลาพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

*ณ วันที่ 3 ธันวาคม มีวงเงินคงเหลือ 2,142 ล้านบาท

 

6. โครงการสินเชื่อ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่มีอาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 

โดยธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 20,000 ล้านบาท ให้แก่ประชาชนที่ทำอาชีพอิสระ ไม่มีรายได้ประจำ และเกษตรกรรายย่อย คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (flat rate) ไม่เกินร้อยละ 0.10 / เดือน ขยายเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

*ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2563 รวม 2 ธนาคาร มีวงเงินคงเหลือ 14,365 ล้านบาท

โครงการเยียวยา จากโควิด6

7. โครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก 

ธนาคารออมสิน วงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยสินเชื่อให้ครอบคลุม ถึงผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้มีรายได้ประจำ รวมถึงบุคคลในครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ภัยทางเศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.35 / เดือน ขยายเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 และให้โยกวงเงินที่เหลือจากโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ที่มีวงเงินเหลือ 2,987 ล้านบาท มาดำเนินการรวมกันในโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก เมื่อบวกกับวงเงินเดิมของโครงการที่เหลือ 7,245 บาท รวมเป็นวงเงินสำหรับปล่อยสินเชื่อทั้งสิ้น 10,412 ล้านบาท

 

8.โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564 

ประกอบด้วย 4 มาตรการ ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้น และตัดดอกเบี้ย) นานสูงสุด 6 เดือน ได้แก่

  • มาตรการที่ 9 สำหรับลูกค้า ธอส. ที่เคยเข้าร่วม หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม  2564) ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ ระยะแรกผ่านแอปพลิเคชั่น GHB ALL วันที่ 15 – 29 มกราคม  2564
  • มาตรการที่ 10 สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้น และตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม  2564) ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการระยะแรก วันที่ 15 มกราคม – 26 กุมภาพันธ์ 2564
  • มาตรการที่ 11 สำหรับลูกค้า ธอส. ที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงิน งวดผ่อนชำระในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม  2564) ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการระยะแรก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 26 กุมภาพันธ์ 2564
  • มาตรการที่ 12 สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต แบ่งเป็น
    1. ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือไม่เกิน มิถุนายน 2564 หรือ
    2. พักชำระหนี้ถึง มิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบ ทำให้รายได้ไม่เพียงพอสำหรับชำระหนี้ ยื่นคำขอเข้ามาตรการระยะแรก ได้ที่สาขาทั่วประเทศภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564

โครงการเยียวยา จากโควิด7

9. ปรับปรุงเงื่อนไข โครงการเราเที่ยวด้วยกัน 

ให้ผู้ใช้สิทธิ์ ที่จองที่พักตั้งแต่ มกราคม – กุมภาพันธ์ 2564 สามารถเลื่อนการเดินทางออกไปได้ถึงเดือน เมษายน 2564 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และมอบ ททท.พิจารณาขยายระยะเวลา การดำเนินโครงการที่เหมาะสม และปรับปรุงโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น

 

10. โครงการคนละครึ่ง 

ขยายสิทธิ์เพิ่มอีก 1 ล้านสิทธิ์ โดยจะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียน 20 มกราคม 2564 และสามารถใช้สิทธิ์ ได้ตั้งแต่ 25 มกราคม เป็นต้นไป

 

11. มาตรการ เราชนะ 

จ่ายเงินเยียวยารายละ 3,500 บาท / เดือน เป็นเวลา 2 เดือน สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ แรงงานนอกระบบ และเกษตรกร

โครงการเยียวยา จากโควิด5

12.ขยายระยะเวลาการลดภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

ครม. มีมติ ขยายระยะเวลาการลดภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง จากปีที่ผ่านมา โดยจะลดภาษีลง 90% และลดค่าธรรมเนียม การโอนอสังหาริมทรัพย์เหลือ 0.01%

 

13. โครงการ เยียวยาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม 

อนุมัติวงเงิน 1,447 ล้านบาท สำหรับจัดซื้อนมจากเกษตรกร ให้เป็นนมโรงเรียนชนิดยูเอชที ซึ่งงบประมาณนี้ จะจัดสรรให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อนมโรงเรียนโดยตรง ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,098 ล้านบาท และกระทรวงศึกษาธิการ 326 ล้านบาท

โครงการเยียวยา จากโควิดด8

มาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน

  1. ขยายเวลาลดหย่อนส่งเงินสมทบประกันสังคม ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง เหลือ 3% ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่มกราคม – มีนาคม 2564
  2. การชดเชยกรณีว่างงาน โดยกองทุนประกันสังคม กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ได้เงินชดเชย 70% ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน กรณีว่างงานจากการลาออก ได้เงินชดเชย 45% ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน
  3. มาตรการส่งเสริมการจ้างงานและรักษาระดับการจ้างงาน ครม. มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน ติดตามและเร่งรัดดำเนินโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

 

ที่มา : www.prachachat.net

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

ส่องเงื่อนไขชัด ๆ อีกครั้ง คนละครึ่งเฟส 3 ก่อนลงทะเบียนจริง 20 ม.ค. 64 นี้

เราชนะ โครงการเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ระลอก 2

โครงการเราชนะ เปิดความหมาย กลุ่มประกันสังคมมาตรา 33 คือใครบ้าง

บทความโดย

@GIM