รู้หรือไม่ จุลินทรีย์ที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย กลับเป็นสิ่งที่สำคัญต่อลูกน้อยอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของลำไส้และระบบทางเดินอาหาร แล้วจุลินทรีย์ประเภทไหนที่มีความสำคัญต่อลูกน้อยบ้าง มาทำความรู้จักเพิ่มเติมกันเลย แอล รียูเทอรี
จุลินทรีย์แล็กโทบาซิลลัส (Lactobacillus) เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะเพศ มีมากกว่า 50 สายพันธุ์ แต่ะละสายพันธุ์ก็มีจุดเด่นในการบรรเทาหรือป้องกันต่างกัน และ จุลินทรีย์แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี หรือ แอล รียูเทอรี เป็นหนึ่งในสายพันธุ์นั้น ปัจจุบันมีการนำจุลินทรีย์แล็กโทบาซิลลัส หลากหลายสายพันธุ์มาเสริมในอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ละสายพันธุ์ให้ผลด้านสุขภาพแตกต่างกันไป จุลินทรีย์โดยเฉพาะสายพันธุ์ จุลินทรีย์แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี เป็นสายพันธุ์หนึ่งมีการนำมาใช้และมีการวิจัยสนับสนุนผลด้านสุขภาพ
จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ แอล รียูเทอรี (Lactobacillus reuteri)
- เป็นจุลินทรีย์ที่มักพบในน้ำนมแม่
- เป็นจุลินทรีย์ที่มีผลวิจัยรับรอง ในการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในทางเดินอาหาร เมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่น
- กระตุ้นการขับถ่าย ลดอาการสำรอกนม ลดท้องผูก ปวดท้องและลดระยะเวลาร้องไห้ในทารกที่มีภาวะร้องโคลิก
- เป็นจุลินทรีย์ที่ถูกใช้ในกว่า 50 ประเทศทั่วโลกและนำมาใช้อุตสาหกรรมนมผงทารกในยุโรปตั้งแต่ปี 2005
- ได้รับการรับรองความปลอดภัยโดยองค์กรความปลอดภัยด้านอาหารระดับสากล
แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี ช่วยให้สุขภาพทางเดินอาหารแข็งแรง ด้วย 3 กลไกหลัก
- แย่งอาหารจุลินทรีย์ตัวไม่ดี ทำให้มีอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
- แย่งจับพื้นที่จุลินทรีย์ตัวไม่ดี ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ตัวร้ายเข้าจับกับผนังลำไส้
- ปล่อยสาร “Reuteri” ฆ่าจุลินทรีย์ตัวที่ไม่ดีและผลิต Lactic acid ซึ่งยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ตัวที่ไม่ดี
โภชนาการที่เหมาะสม รวมทั้งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดนี้ ถือเป็นตัวช่วยกระตุ้นทำให้ระบบทางเดินอาหารให้แข็งแรง ดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับลูกน้อยได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นคุณแม่ควรดูแลเรื่องสารอาหารที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของลูกให้เป็นอย่างดี เพื่อให้มีสุขภาพทางด้านร่างกายและพัฒนาการทางอารมณ์ที่แข็งแรงนะคะ
ตรวจทานโดย ศ.พญ.วันดี วราวิทย์
ทำความรู้จัก “แอล รียูเทอรี” เพิ่มเติม คลิก
#จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในเด็ก #แอลรียูเทอรี #ท้องแฮปปี้ #ลูกน้อยเติบโตแฮปปี้ทุกวัน
อ้างอิง
- SINKIEWICZ G, et al. Microbial Ecology in Health and Disease. 2008; 20: 122_126
- Coccorullo P, et al. J Pediatr. 2010 Oct;157(4):598-602.
- Savino F, et al. Pediatrics. 2010 Sep;126(3):e526-33.
- Szajewska H, et al. J Pediatr. 2013 Feb;162(2):257-62
- Indrio F et al. Euro J Clin Invest 2011;41(4): 417-22.
- Romano C, Ferrau V et al. J Pediatr Child Health, 2010. Epub.
- European Food Safety Authority (EFSA). 2007a. Introduction of a qualified presumption of safety (QPS) approach for assessment of selected microorganisms referred to EFSA: opinion of the scientific committee. EFSA J 587:8-16
- GRAS Notice No GRN 000254
- Scientific Committee on Food (SCF). 2003. Report of the Scientific Committee on Food on the Revision of Essential Requirements of Infant Formulae and Follow-on Formulae
- ESPGHAN Committee on Nutrition. 2004. Probiotic Bacteria in Dietetic Products for Infants: A Commentary by the ESPGHAN Committee on Nutrition.