ภูมิต้านทาน กับ สมอง สิ่งไหนสำคัญต่ออนาคตของลูกรักมากกว่ากัน??

ภูมิต้านทานและสมองเป็นสองสิ่งที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเด็กวัยแรกเกิดจนถึง 2 ปี เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายของลูกมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด และยังเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและคุณภาพชีวิตมากที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภูมิต้านทาน เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาสมอง หากร่างกายไม่พร้อมหรือลูกมีสุขภาพไม่แข็งแรงย่อมส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูก ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกมีภูมิต้านทานที่พร้อมอยู่เสมอไม่ใช่แค่เฉพาะตอนที่ลูกเจ็บป่วย และต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ระบบภูมิต้านทานยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งกว่าระบบภูมิต้านทานของเด็กจะพัฒนาใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ก็เมื่ออายุประมาณ 5 ขวบ

ภูมิต้านทาน เริ่มสร้างได้ตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต

ภูมิต้านทานคือสารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เป็นพื้นฐานสำคัญที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย โดยเฉพาะ 1,000 วันแรก ที่ร่างกายของทารกกำลังพัฒนาระบบสำคัญๆ ทั้งระบบภูมิต้านทาน ระบบโครงสร้างของร่างกาย ระบบเมตาบอลิซึม และระบบประสาทและสมอง

ด้วยเหตุนี้เอง ธรรมชาติจึงสร้าง นมแม่ ที่อุดมด้วยสารอาหารครบครัน มีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน เด็กที่ทานนมแม่จึงมีภูมิต้านทานสูง ลดโอกาสเกิดโรค การติดเชื้อ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วน และโรคเบาหวานในอนาคต

น้ำนมหยดแรก = วัคซีนหยดแรก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำนมเหลือง (Colostrum) คือน้ำนมแม่ในช่วงแรก ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นเพียงระยะ 1-3 วันหลังคลอดเท่านั้น ถือเป็นอาหารมื้อแรกแสนล้ำค่าของลูกรัก ที่อุดมด้วยสารอาหารมีประโยชน์สูงมากมาย มี immunoglobulin A (โปรตีนที่ช่วยดักจับสารแปลกปลอมในร่างกาย) และยังมีจุลินทรีย์สุขภาพ ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน จึงมีค่าเทียบได้กับ “วัคซีนหยดแรก” ของลูกน้อย

น้ำนมแม่ ที่ร่างกายแม่ผลิตได้โดยตามธรรมชาติ แบ่งเป็น 3 ระยะด้วยกัน โดยไม่ว่าจะเป็นระยะใดก็ตามล้วนดีต่อสุขภาพลูกทั้งสิ้น  ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1.ระยะนมสีเหลือง (Colostrum) เกิดใน 24-36 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

2.ระยะนมปรับเปลี่ยน (Transitional Milk) เกิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังคลอด สีจะค่อยๆ ขาวขึ้น

3.ระยะน้ำนมแม่ (Mature Milk)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นมแม่มีการทำงานแบบ ซินไบโอติก (Synbiotic) หรือการทำงานประสานกันระหว่างโพรไบโอติก (จุลินทรีย์สุขภาพ) และ พรีไบโอติก (อาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ) ซึ่งช่วยให้จุลินทรีย์สุขภาพในระบบทางเดินอาหารของเด็กเติบโตได้ดี และยังช่วยยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค จึงส่งผลให้เด็กมีระบบภูมิต้านทานที่ดีได้ ทั้งยังช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ลดความเสี่ยงของการเกิด โรคภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ผื่นผิวหนัง อักเสบ โรคหืด นอกจากนี้ในนมแม่ยังมี DHA ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมอง  การโอบกอดลูกน้อยระหว่างให้นม ยังช่วยให้ทารกอบอุ่น และสร้างภูมิต้านทานทางจิตใจ สนับสนุนให้ลูกรักกล้าแกร่ง พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

“ภูมิต้านทาน” คือพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้

เมื่อ “ภูมิต้านทาน” คือ พื้นฐานให้ลูกพร้อมสำหรับการเรียนรู้ คุณแม่จึงควรใส่ใจสุขภาพและร่างกายเพื่อเสริมภูมิต้านทานของลูกรักให้แข็งแกร่ง จาก “นมแม่” เด็กๆ ที่ทานนมแม่จะได้รับภูมิต้านทานที่ดีตั้งแต่ต้น แต่ถ้าหากไม่สามารถทานนมแม่ได้จากหลายๆ ปัจจัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเลือกนมหรืออาหารเสริมที่ให้คุณค่าโภชนาการเหมาะกับวัย อาจเลือกเสริมด้วยอาหารที่มีพรีไบโอติก จะช่วยลดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค และช่วยรักษาสภาวะสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารของลูก ส่งเสริมให้ระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารมีสุขภาพสมบูรณ์ ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมภูมิต้านทานที่ดีอีกด้วย

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team