ภาวะแพ้รุนแรง อันตรายถึงชีวิต

ภาวะแพ้รุนแรง คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจฟังดูไม่คุ้นหู แถมฟังดูน่าอันตรายสำหรับเด็กๆ ซึ่งมีข้อมูลจาก คุณหมอบัณฑิตา บำรุงเชาว์เกษม คุณหมอด้านภูมิแพ้โดยตรง จาก รพ.เด็กสมิติเวช ได้เปิดเผยถึงความรุนแรงของภาวะนี้ให้ฟังกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะแพ้รุนแรง หรือ แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายเกิดการตอบโต้ขึ้นเฉียบพลันทันทีเมื่อได้รับสารกระตุ้น เช่น ยา อาหาร พิษจากแมลง หรือสารเคมีอื่น ๆ เนื่องจากระบบภูมิต้านทานของผู้ป่วยไวต่อสารนั้น ๆ มากกว่าคนปกติ หากเข้ารับการรักษาไม่ทัน อาจรุนแรงถึงขั้นชีวิตได้!!

ภาวะแพ้รุนแรง มีอาการอย่างไร?

อาการของภาวะแพ้รุนแรงเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย โดยจะแสดงอาการอย่างน้อย 2 ระบบขึ้นไป สามารถเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันทันทีที่รับสารก่อภูมิแพ้ หรือภายหลังจากนั้นนานเป็นชั่วโมง ๆ ลักษณะอาการของภาวะแพ้รุนแรงมีดังนี้

  • ทางผิวหนัง เกิดผื่นแดง ลมพิษ ปากบวม ตาบวม คันตามผิวหนัง
  • ระบบทางเดินหายใจ หายใจติดขัด รู้สึกเหมือนมีสิ่งอุดตันในลำคอ หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงวี๊ด
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ช็อค หมดสติ
  • ระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย

สาเหตุของการแพ้รุนแรง จะแตกต่างไปตามแต่ละบุคคล เช่น แพ้อาหาร (ถั่ว นมวัว แป้งสาลี อาหารทะเล ฯลฯ) แพ้ยา ถูกแมลงกัดต่อย หรือแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำยาง เช่น ถุงมือยาง เป็นต้น  ซึ่งวินิจฉัยจากการซักประวัติ ลักษณะของอาการ ระยะเวลาที่คาดว่าน่าจะได้รับสารกระตุ้น ประวัติการแพ้ และโรคประจำตัว ร่วมกับการตรวจร่างกาย

สำหรับในรายที่ต้องการยืนยันว่า ภาวะดังกล่าวไม่ได้เกิดจากภาวะอื่นที่คล้ายกัน จะมีการตรวจเลือดเพื่อหาเอนไซม์ Tryptase ที่อาจเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่มีอาการ นอกจากนี้ยังมีการตรวจเลือดเพื่อหาสารก่อภูมิแพ้ เพื่อระบุส่งที่กระตุ้นให้มีอาการ หรืออาจนัดมาทำ ทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Prick Test) ในภายหลัง

หากมี ภาวะแพ้รุนแรง ต้องดูแลอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากสงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะแพ้รุนแรง ควรพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะเป็นภาวะฉุกเฉินที่ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ในระหว่างการรักษา แพทย์จะสั่งให้มีการตรวจวัดสัญญาณชีพเป็นระยะสังเกตอาการที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และการตอบสนองต่อการรักษา อาทิ ฉีดยาอิพิเนฟริน (Epinephrine) ที่กล้ามเนื้อต้นขา ให้ยาแก้แพ้ สารน้ำ และในบางรายอาจมีการพ่นยาขยายหลอดลม พร้อมกับให้ออกซิเจน เป็นต้น

แต่สิ่งที่ดีที่สุด เมื่อรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงต่อการมีภาวะแพ้รุนแรง ให้พยายามหลีกเลียงส่งที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ อ่านฉลากอาหาร หรือสอบถามจากผู้ขายว่ามีส่วนประกอบของสารที่แพ้อยู่หรือไม่ หากแพ้แมลง ก็ควรสวมใส่เสื้อผ้าปกปิดมิดชิด สำหรับผู้มีประวัติแพ้ยา ต้องมีป้ายรายละเอียดของยาชนิดที่แพ้ติดกระเป๋าไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง ควรพกยาอิพิเนฟริน (Epinephrine) แบบฉุกเฉินติดตัวไว้เสมอ คุณพ่อคุณแม่เอง ควรแจ้งให้คุณครูทราบว่า เด็ก ๆ แพ้อะไร และควรรู้วิธีการฉีดยาอิพิเนฟริน (Epinephrine) แบบฉุกเฉินไว้ด้วยเช่นกัน

อย่าลืมนะคะ หากคุณพ่อคุณแม่อยากมีความรู้เพิ่มเรื่องของภูมิแพ้ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถชวนลูก ๆ มาทำความรู้จักกับ โรคภูมิแพ้ และ สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ภายในบ้าน ผ่าน Application SAMITIVEJ AR ที่รพ.เด็กสมิติเวช จัดทำขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับน้องๆ ที่เป็นโรคภูมิแพ้โดยเฉพาะเลยค่ะ  รับรองว่าได้ทั้งสาระ ความรู้ และความสนุกสนานจากเกมน่ารัก ๆ เพียง 2 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1.ดาวน์โหลดแอพ SAMITIVEJ AR (ใช้ได้ทั้ง App Store และ Play Store)

2.เปิดแอพ SAMITIVEJ AR แล้ว SCAN รูปภาพเพื่อรับความรู้เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ และเพลิดเพลินกับการเล่นเกมสามมิติ ไล่จับเชื้อสารก่อภูมิแพ้ที่แฝงกายอยู่ตามจุดต่าง ๆ ภายในบ้าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : แพทย์หญิง บัณฑิตา บำรุงเชาว์เกษม กุมารแพทย์ด้านภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team