แม่แบบไหนที่มีปัจจัย ภาวะครรภ์เสี่ยง เรื่องที่ไม่อยากเสี่ยงเป็นเสี่ยงกันตอนท้อง!!

เมื่อถึงเวลาที่มีเจ้าตัวน้อยอยู่ในท้อง ถือเป็นความเสี่ยงที่อาจมีอันตรายเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ คุณแม่ส่วนใหญ่จึงเป็นกังวลและมีสารพัดเรื่องที่ต้องดูแลตัวเองให้ดีในขณะตั้งครรภ์ เพราะความเสี่ยงมากหรือน้อยนั้นย่อมส่งผลที่แตกต่างกันไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะครรภ์เสี่ยง เป็นภาวะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับแม่ท้องทุกคน ที่คาดว่าอาจมีโอกาสทำให้เกิดความผิดปกติต่อสุขภาพทั้งแม่และลูกในท้อง ในท้องแรกอาจเกิดได้จากการไม่มีประสบการณ์ แต่ในท้องถัดไปอาจเสี่ยงได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุที่มากขึ้น มีโรคประจำตัว หรือมีประวัติจากท้องการท้องก่อนหน้า พ่อแม่ที่วางแผนจะมีลูกในอนาคตหรือแม่ท้องควรรู้ไว้ ก่อนเสี่ยงแท้งหรือเกิดอันตรายต่อตัวเองและทารกในครรภ์จากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้

แม่แบบไหนที่มีปัจจัย ภาวะครรภ์เสี่ยง

1.คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุน้อยกว่า 16 ปี หรือมากกว่า 40 ปี

2.การตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์แฝด

3.มีหมู่เลือด Rh เป็นลบ

4.มีก้อนในอุ้งเชิงกรานระหว่างตั้งครรภ์

5.มีความดันโลหิตสูง โดยความดันมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6.เป็นโรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง มีภาวะโลหิตจาง ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (SLE) โรคธาลัสซีเมีย โรคลมชัก วัณโรค และมะเร็ง เป็นต้น

7.เป็นโรคติดเชื้อ HIV (โรคเอดส์) กามโรค หรือพาหะตับอักเสบบี

8.ทารกในครรภ์ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ขึ้นไปอยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น ท่าก้น หรือท่าขวาง

9.มีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10.มีประวัติเคยคลอดและแท้งลูก (โดยเฉพาะการแท้งในสามครั้งติดกัน)

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะครรภ์เสี่ยงได้ และวิธีช่วยตรวจหาความผิดปกติของทารกที่จะช่วยให้แม่ท้องคลายกังวล อ่านหน้าถัดไป>>

11.มีประวัติทารกคลอดก่อนหรือหลังกำหนด คือ คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์หรือคลอดเมื่ออายุครรภ์เกิน 42 สัปดาห์เต็มขึ้นไป และเคยคลอดทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือมากกว่า 4,000 กรัม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

12.มีประวัติทารกโตช้าในครรภ์ เป็นดาวน์ซินโดรมหรือมีพิการทางด้านสมอง

13.มีประวัติครรภ์เป็นพิษในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน

14.มีประวัติเคยได้รับการผ่าตัดทางหน้าท้อง เช่น โรคไส้ติ่งอักเสบ หรือที่มดลูก

15.มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น การติดยาเสพติดหรือสุรา

แม่ท้องหรือก่อนท้องที่พบว่าตัวเองอยู่ในปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว หรือมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดหัวบ่อย จุกเสียดแน่นท้อง ตั้งครรภ์ได้ 5-6 เดือนแล้วลูกยังไม่ดิ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษา เพื่อได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย โดยคุณหมอจะเป็นผู้ทำการวินิจฉัยและประเมินว่าคุณแม่มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์หรือไม่ ทั้งจากการซักประวัติ ร่วมกับการตรวจปัสสาวะ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิตตรวจดูยอดมดลูกเพื่อประมาณขนาดทารก และการตรวจอื่น ๆ ตามความเห็นของแพทย์

คุณแม่ที่ภาวะครรภ์เสี่ยงจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและพบแพทย์ให้บ่อยครั้งกว่าคุณแม่ที่มีภาวะครรภ์ปกติ ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วยวิธี เช่น

  • การอัลตราซาวนด์แบบละเอียดเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของทารกและรก รวมทั้งสามารถบอกรูปร่างความสมบูรณ์ของอวัยะทารกในครรภ์ รก สายสะดือและน้ำคร่ำ
  • การเจาะน้ำคร่ำ ที่ควรตรวจในช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ เพื่อใช้ตรวจวิเคราะห์โรคต่าง ๆ ได้ เช่น โครโมโซมผิดปกติ ธาลัสซีเมีย หรือโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ
  • การเจาะเลือดตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในทารกด้วยวิธีนิฟตี้เทสต์ (NIFTY test)
  • การตรวจอื่น ๆ ตามความเห็นของแพทย์เช่น การตัดชิ้นเนื้อจากรก การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์ การตรวจการทำงานของหัวใจทารก (non-stress test: NST) เป็นต้น

แม้ดูเหมือนว่าปัจจัยที่อาจเกิดความครรภ์เสี่ยงจะมีมากจนทำให้เกิดความกังวล แต่เป็นการเตือนเพื่อป้องกันให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ดูแลตัวเองเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีการวางแผนเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนหรือระหว่างตั้งครรภ์เป็นอย่างดี ด้วยการใส่ใจในสุขภาพตั้งแต่การรักษาหรือควบคุมโรคก่อนที่จะวางแผนตั้งครรภ์ การตรวจร่างกายและตรวจเลือดเบื้องต้น และควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ตลอดจนการดูแลในอาหารการกิน การออกกำลังกาย การได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย เปลี่ยนไลฟ์สไตล์แบบผิด ๆ งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติด ที่สำคัญควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยลดไม่ให้เกิดภาวะความเสี่ยงเหล่านี้และไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้


ที่มา : www.bumrungrad.com

ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการร้ายใกล้ตัวที่แม่ท้องควรรู้!

ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ของแถมที่เกิดขึ้นได้กับแม่ท้อง(อายุน้อย)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R