ฟันซี่แรกของลูกขึ้นช้า เป็นอะไรไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฟันซี่แรกของลูกขึ้นช้า อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเป็นกังวล แต่โดยทั่วไปแล้ว ฟันซี่แรกของลูกน้อยจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน และจะขึ้นต่อเนื่องไปจนอายุ 3 ขวบ แต่สำหรับเด็กบางคนก็อาจเริ่มมีฟันขึ้นเร็วหรือช้ากว่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในเด็กหลายคน โดยการที่ฟันซี่แรกขึ้นช้านั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของเด็กแต่อย่างใด แต่เรื่องของกรรมพันธุ์ก็อาจจะมีส่วนที่ทำให้ ฟันซี่แรกของลูกขึ้นช้า ด้วยเหมือนกัน

 

วิธีทําให้ฟันขึ้นเร็ว อาการที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกฟันขึ้น

ดอกเตอร์ David Geller กุมารแพทย์ จาก แมสซาชูเซต ให้ความเห็นไว้ว่า โดยทั่วไปแล้ว ฟันซี่แรกของเด็กจะเริ่มขึ้นตอนอายุประมาณ 6 เดือน อย่างเร็วที่สุดที่เคยเห็นคือ 4 เดือน และอย่างช้าที่สุดคือ 17 เดือน แต่การที่เด็กฟันขึ้นช้านั้นไม่ได้หมายความว่าพัฒนาการทางร่างกายโดยรวมของเด็กจะช้าตามไปด้วย

  • มีน้ำลายเยอะ
  • กัดทุกอย่างที่ขวางหน้า
  • เหงือกบวมแดง
  • ร้องไห้เพราะเจ็บเหงือก
  • ตื่นบ่อย นอนหลับไม่สนิท
  • เริ่มมีอาการเบื่ออาหาร
  • มีอาการตัวรุม ๆ เหมือนเป็นไข้

แต่หากเวลาผ่านไป 18 เดือนแล้ว ฟันของลูกน้อยยังไม่ขึ้น คุณควรพาลูกไปตรวจหาสาเหตุที่แน่นอนจะดีที่สุด

 

“ลูกชอบกัด” วิธีรับมือและแก้ปัญหา

อาการ “กัด” ของเด็กวัย 1-2 ปี นี้ เป็นพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณเจอบ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นในช่วงที่ดูดนมแม่ หรือกัดไหล่ กัดบ่าขณะแม่อุ้ม บางรายไปกัดเด็กอื่น ทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความกังวลกับพฤติกรรมนี้ แม้ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ดูธรรมดาของเด็กก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถให้การช่วยเหลือลูกได้เมื่อลูกแสดงกิริยาที่ไม่น่ารักเช่นนี้ จะมีวิธีอะไรบ้างไปดูกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : สัญญาณที่บอกว่าฟันลูกกำลังจะขึ้น ฟันซี่แรก วิธีดูแลรักษาฟันซี่แรก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

สาเหตุของการกัด

  • ด้านร่างกาย : จากการศึกษาวิจัยพบว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กชอบกัด มาจากด้านร่างกาย คือ ฟันเริ่มขึ้น หรือหิว
  • ด้านจิตใจ  : เด็กมีความคับข้องใจ ไม่พอใจ หรือระบายความเครียด เนื่องจากขาดทักษะที่ดีในการสื่อสารเป็นคำพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ มีการเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็น แสดงความเป็นอิสระ เป็นทักษะพัฒนาการด้านสังคมอย่างหนึ่งของเด็ก

 

วิธีรับมือและแก้ปัญหา

 1. หาสาเหตุของการกัด

  • ถ้าการกัดมาจากลูกชอบสำรวจ อยากรู้อยากเห็น หรือฟันเริ่มขึ้น คุณแม่ควรให้ลูกกัดผ้า หรือยาง
  • ถ้าลูกกัดเพราะเบื่อหรือหิว ต้องดูแลให้กินและนอนอย่างเพียงพอ
  • ถ้ากัดเพราะลูกแย่งของกันต้องหาของให้พอเล่นหรือพอใช้ หรือสอนให้ลูกได้รู้จักแบ่งปันของกัน
  • ถ้าลูกกัดคนอื่นเพราะมีความตั้งใจ แม่ต้องพยายามให้เวลาแก่ลูก โดยการเล่น อ่านหนังสือนิทาน หรือกอดลูก
  • ถ้าลูกเครียดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ คุณแม่ต้องหากิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด

 

2. เมื่อลูกกัดคนอื่น

  • ต้องสอนให้รู้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่ควรทำ
  • มองตาลูกและออกคำสั่งด้วยเสียงหนักแน่นว่า “ไม่กัดนะลูก” เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
  • เมื่อลูกกัดคุณแม่อย่าร้อง เพราะลูกอาจรู้สึกสนุกสนานที่เห็นคุณแม่ร้อง
  • อย่าหัวเราะกับการกระทำของลูกเป็นอันขาด
  • อย่าพูดตะคอกใส่ลูก แต่ควรพูดว่า “หนูกัดคุณแม่นะ”
  • พยายามทำตัวให้หลุดจากการกัดของลูกอย่างนุ่มนวลที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ใช้วิธีการขอเวลานอกกับลูก

  • หาสถานที่สงบและให้ลูกนั่งเก้าอี้ตามลำพัง แต่อยู่ในมุมที่สามารถมองเห็นลูกได้
  • ถ้าลูกอายุ 2 ปี ใช้เวลานอกเพียง 30 วินาที ถึง 1 นาที ก็พอ
  • แนะนำว่าทันทีที่ลูกกัด คุณแม่ควรพูดว่า “ห้ามกัดนะลูก ลูกจะต้องขอเวลานอกบนเก้าอี้ตัวนี้จนกว่าจะหมดเวลา แล้วค่อยมาเล่นต่อ”
  • ถ้าลูกพยายามเรียกร้องความสนใจคุณแม่ควรวางเฉย จนกว่าเวลานอกจะหมด
  • ถ้าลูกจับขาหรือดึงเสื้อ อย่าใจอ่อน หันหน้าหนีลูกแล้วผละไปทำงานอย่างอื่น เช่น ล้างจาน หรือจัดลิ้นซัก
  • ถ้าลูกกัดคนอื่นที่โรงเรียน ควรดูว่าครูใช้เวลาการขอเวลานอกถูกไหม

 

4. สอนการแสดงออกที่ถูกให้ลูก

  • คุณแม่ควรสอนให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ถูก
  • ถ้าลูกต้องการแสดงความรักให้ใช้การกอดแทนการกัด
  • ถ้ากัดเพราะต้องการปกป้องตนเองหรือไม่ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใกล้ ก็ให้ลูกใช้สัญญาณที่แสดงว่าหยุด
  • สัญญาณการหยุดโดยการยกมือห้ามหรือใช้การดันไหล่เพื่อนเบา ๆ ถ้าลูกโมโหมากให้บอกคุณแม่ หรือบอกครู

 

5. ชมเชยลูก

  • เมื่อสอนลูกแล้ว และลูกเริ่มมีพฤติกรรมการกัดอาจน้อยลงหรือไม่มีอีกเลย พ่อแม่ก็ควรจะชมลูกบ้าง
  • ไม่สอนและดุเพียงอย่างเดียว
  • การที่พ่อแม่ชื่นชมลูก เขาจะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง และความภูมิใจตรงนี้จะเป็นการละลายพฤติกรรมนี้ได้
  • คุณแม่ควรใจเย็น ช่วยเหลือลูก และให้กำลังใจลูก

ซึ่งการรับมือกับปัญหาลูกชอบกัด สามารถช่วยเหลือ แก้ไขให้ถูกทางตามคำแนะนำด้านบนก็จะสามารถช่วยให้พฤติกรรมการกัดลดลงและหายไปในที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โรคทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูกมีอะไรบ้าง

โรคทางพันธุกรรมคือโรคที่มีสาเหตุหลักจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากแม่หรือพ่อไปสู่ลูก หากพันธุกรรมของพ่อแม่มีความผิดปกติอยู่ก็อาจส่งผลให้เกิดขึ้นกับลูกได้นั่นเอง เป็นสิ่งสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งก็มีหลายโรคเหมือนกัน ลองมาทำความรู้จักโรคต่าง ๆ ไปพร้อมกันได้เลย

 

โรคทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก อาการ และการดูแล

  1. ธาลัสซีเมีย : เป็นความผิดปกติของสารสีแดงในเม็ดเลือด อาการจะเกิดขึ้นมีลักษณะโลหิตจาง ถือเป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งซึ่งมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ แตกสลายเร็วกว่าเดิม มีความซีดเหลืองเรื้อรัง ต้องรับมาทั้งสองฝ่าย การดูแลให้พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ รับวัคซีนให้ครบ
  2. ซิสติกไฟโบรซิส : จัดเป็นโรครุนแรงเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่สร้างเอนไซม์ในการย่อยอาหาร สร้างบางส่วนของต่อมน้ำลาย ทางเดินอาหารและเหงื่อ เกิดโรคแทรกซ้อนได้โดย ร่างกายมีสภาพขาดสารอาหาร อวัยวะระบบหายใจอักเสบ ไม่มีแรง วิธีดูแล พยายามปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนป่วยให้ดีขึ้น
  3. คนเผือก : เกิดจากยีนด้อยในพันธุกรรมสร้างเอนไซม์สำคัญตัวหนึ่งไม่ได้ส่งผลให้ร่างกายแสดงออกมาเป็นลักษณะเผือก ผิวขาว ผมขาว ตาขาว ม่านตาสีเทาโปร่งแสง รูม่านตาสะท้อนเป็นสีแดง ติดเชื้อง่ายกว่าคนปกติ วิธีดูแลให้ห่างไกลจากแสงแดดเพราะจะทำให้ตกกระและเกิดโรคแทรกซ้อน
  4. ดักแด้ : เป็นกลุ่มโรคผิวหนังอาจพบไม่บ่อย อาการผิวหนังแห้ง บอบบางรุนแรง แผลพุพอง แบ่งความรุนแรงได้หลายระดับมักถ่ายทอดทางพันธุกรรมยีนเด่นและยีนด้อย พบบ่อยในยีนเด่น ต้องได้รับการดูแลมากกว่าปกติ ปกป้องผิวหนังเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อหรือเกิดบาดแผล
  5. ท้าวแสนปม : เกิดความผิดปกติทางกระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน ผิวหนัง แบ่งได้ 2 ประเภท ถือว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยไม่น้อย สิ่งสังเกตชัดคือมีการปูดตามผิวหนังทุกสัดส่วนของร่างกาย ปกติก็ดูแลรักษาตามอาการ เน้นทานอาหารมีประโยชน์
  6. ลูคิเมีย : มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากความผิดปกติของไขกระดูก มีการสร้างเม็ดเลือดขาวมากในไขกระดูกแล้วไปเบียดบังการสร้างเม็ดเลือดแดง มีอาการโลหิตจาง ติดเชื้อง่าย มีไข้สูง เป็นบ่อยกว่าคนปกติ ซีด เหนื่อยง่าย อาจหน้าหรือเท้าบวม เลือดออกง่ายกว่าคนปกติ ต้องไปพบแพทย์เพื่อจะได้ให้วิธีการรักษาอย่างถูกต้องรวมถึงทานอาหารให้ครบถ้วนตามเหมาะสม

นี่เป็นส่วนหนึ่งของโรคทางพันธุกรรมที่ติดต่อจากพ่อแม่สู่ลูก เป็นโรคที่คงไม่มีใครอยากให้เกิดกับลูกของตนเองแต่มันคงห้ามได้ยากและกำหนดไม่ได้

 

 

วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยเบื่ออาหาร

ตอนที่ลูกอายุได้ 6 เดือน ก็ถึงเวลาที่คุณแม่จะเริ่มป้อนอาหารเสริมที่นอกเหนือจากการให้ลูกทานนมแม่อย่างเดียว เมนูอาหารสำหรับลูกเล็กส่วนใหญ่ก็จะเป็น ข้าวบดไข่แดง ข้าวบดปลา ข้าวบดกล้วย ข้าวบดตับ โตขึ้นมาอีกนิดก็เริ่มให้ทานข้าวสวยกับแกงจืดเต้าหู้หมูสับ เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะทำเมนูอะไรให้ก็ดูลูกจะสนุกกับการทานอาหารมาก คุณแม่เห็นแล้วยิ้มหน้าบานด้วยความภูมิใจว่าลูกทานอร่อย และก็ทานหมดทุกครั้ง แต่หลังจากลูกอายุได้ 1 ขวบขึ้นไป ก็เริ่มรู้บ้างแล้วว่านี่คือผักอะไร มีรสชาติ มีกลิ่นเป็นแบบไหน เริ่มที่จะต่อรองไม่ทานต้นหอม ไม่ชอบหมูสับ แต่จะเอาแค่กุ้ง แกงจืดเต้าหู้ต้องไม่ใส่สาหร่าย อืม เห็นแบบนี้ชักจะไม่ชอบใจคุณแม่แล้วซิ เพราะคุณแม่หนะก็อยากให้ลูกได้ทานอิ่ม กินอร่อย ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ แต่ลูกตัวดีไม่ยอมให้ความร่วมมือ พอนานเข้าก็เกิดอาการเบื่ออาหาร เพราะทานแต่เมนูซ้ำ ๆ  แบบนี้ทำไงดีละ ?

 

  • พยายามจัดอาหารที่มีคุณค่า และให้พลังงานสูง : ตักอาหารในปริมาณที่ลูกจะสามารถรับประทานได้หมด  ถ้าลูกไม่อิ่มค่อยตักเติมให้อีกครั้ง  การตักอาหารให้ลูกมาก ๆ จนเต็มชาม จะทำให้ลูกท้อในการรับประทานข้าวให้หมดชาม
  • จัดอาหารที่เหมาะสมกับวัยของลูก : รวมทั้งเรื่องรสชาติด้วย เช่น ถ้าลูกไม่ชอบทานผัดผัก คุณแม่ลองเปลี่ยนมาทำเป็นผักชุบแป้งทอด เช่น แครอท ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ชุบแป้งทอดแล้วให้ลูกจิ้มทานกับซอสมะเขือเทศ เชื่อว่าด้วยเมนู และรสชาติที่แปลกใหม่ เด็ก ๆ จะต้องยอมทานอย่างแน่นอน
  • ปล่อยให้ลูกได้หัดรับประทานอาหารเอง : จะหกเลอะเทอะบ้างก็ไม่เป็นไร เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ในการหัดใช้มือ จนในที่สุดลูกก็จะตักข้าวรับประทานได้เอง และจะยิ่งทำให้เขาสนุกมากขึ้นกับการทานข้าวในแต่ละมื้อ
  • กำหนดเวลาในการข้าวแต่ละมื้อ : ไม่เกิน 30-45 นาที และไม่ควรจ้ำจี้จ้ำไช หรือบังคับลูก ถ้าลูกไม่ทานต่อก็ให้เก็บอาหารในมื้อนั้นซะ  แต่อาจจะเพิ่มนม 1 แก้วเล็ก ๆ ให้ลูก
  • ให้คำชม : เมื่อลูกรับประทานอาหารเมนูใหม่ ๆ ได้ เช่น มื้อกลางวันลูกสามารถทานผัดมักกะโรนีไก่ใส่หอมใหญ่ มะเขือเทศได้ ถึงแม้จะทานไปได้แค่ครึ่งจานก็ตาม การให้กำลังใจ และกล่าวชื่นชมว่า “เก่งมาก ที่หนูทานผัดมักกะโรนี คุณแม่ตั้งใจทำให้หนู”  นอกจากลูกจะรู้สึกดีกับอาหารที่คุณแม่ทำให้แล้ว ลูกยังได้เรียนรู้อาหารเมนูใหม่ รวมทั้งรสชาติใหม่ด้วย

 

หลังจากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับฟันซี่แรกของลูกไปแล้ว เมื่อฟันของลูกขึ้นอย่าลืม ดูแลสุขภาพช่องปากของลูกน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงอาการติดเชื้อ หรือฟันเก ฟันผุ ที่อาจเกิดขึ้นในเด็กทารกด้วยนะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ

ดูแลฟันลูกทำยังไง? ผู้ปกครองควรจะดูแลสุขภาพฟันเจ้าตัวน้อยอย่างไรบ้าง?

ฟันลูกเก เกิดจากอะไร ฟันน้ำนมเกส่งผลต่อฟันแท้มากแค่ไหน ?

แชร์ให้ลูกดู ! น้องณิรินสอนวิธีแปรงฟันอย่างไรให้ถูกวิธี น่ารักมาก

ที่มา :  babycenter, colgate

บทความโดย

P.Veerasedtakul