ฟันซี่แรกของลูกกำลังขึ้น ต้องมีอาการไข้ไม่สบายทุกคนไหม?

ลองสังเกตดูกันนะคะ เจ้าตัวน้อยในวัย 6 เดือนที่มีมีอาการงอแงผสมตัวร้อนเป็นไข้ไปด้วย อาจเป็นเพราะว่าฟันซี่แรกของลูกกำลังจะขึ้นใช่หรือเปล่าน๊า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฟันซี่แรกของลูก ส่วนใหญ่จะขึ้นกันตอนอายุประมาณ 6 เดือน หรือเด็กบางคนขึ้นช้าหลังอายุ 1 ขวบไปเลยก็มีและจะค่อย ๆ ทยอยขึ้นจนครบเมื่อเข้าสู่อายุ 2 ขวบครึ่ง และก็เป็นไปได้เจ้าตัวน้อยของคุณแม่บางคนอาจเกิดมาพร้อมกับฟัน 1 ซี่ให้เห็นเลยก็ได้

ฟันซี่แรกของลูก กำลังขึ้น ต้องมีไข้ไม่สบายทุกคนไหม ?

เวลาที่ลูกน้อยงอแง ร้องไห้ มีไข้ ที่มักจะเป็นข้อสันนิษฐานบอกต่อ ๆ กันมาว่า อาจเป็นเพราะเจ้าตัวเล็กฟันกำลังจะขึ้น ทั้งนี้การศึกษาหนึ่งในวารสารการแพทย์ของอเมริกัน เมื่อปีค.ศ. 2000 ได้ติดตามทารกที่อยู่ในวัยกำลังมีฟันขึ้น โดยวัดอุณหภูมิร่างกายและตรวจดูฟันทุก ๆ 2 วัน พบว่าอุณหภูมิร่างกายของเจ้าตัวเล็กนั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้งานวิจัยในประเทศออสเตรเลีย ได้ทำการวัดอุณหภูมิร่างกายของเบบี๋ในวันที่มีฟันขึ้น ซึ่งหลังจากนั้นภายใน 5 วันก็ไม่พบว่าหนูน้อยมีไข้แต่อย่างใด

ด้วยเหตุนี้ อาการมีไข้ไม่สบายของเบบี๋ที่ฟันกำลังจะขึ้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน การที่ฟันขึ้นอาจทำให้ลูกมีอุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น หรือมีอาการถ่ายท้องในบางครั้งซึ่งก็เป็นผลข้างเคียงจากอาการฟันขึ้นนี้ได้ หากพบว่ามีอาการผื่นคัน หรือมีไข้ขึ้นสูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส น่าจะเกิดจากการได้รับเชื้อหรือมีไวรัสในร่างกาย ซึ่งควรลูกไปหาหมอเพื่อดูอาการนะคะ

รู้ได้ยังไงว่าฟันหนูกำลังขึ้น?

ช่วงที่ฟันซี่แรกของลูกกำลังขึ้นนั้น สังเกตได้จากบริเวณแก้มของลูกจะมีสีชมพูจัดหรือสีแดง และมีน้ำลายมากกว่าปกติจนไหลออกมานอกปาก เหงือกบริเวณที่ฟันกำลังขึ้นอาจมีอาการบวมแดงและคัน มีปุ่มขาวๆ อยู่ตรงกลางเหงือกด้านล่าง จนทำให้เกิด “อาการคันเหงือก” ที่ทำให้เจ้าน้อยอยากเคี้ยวอยากกัดของแข็ง ๆ ไปหมด และเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าตัวน้อยร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ ประมาณ 2-3 อาทิตย์ เพราะอาการเจ็บเหงือก เมื่อฟันหนูขึ้นแล้ว อาการนี้ก็จะหายไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รับมือกับอาการไม่สบายที่ฟันของเบบี๋กำลังจะขึ้นอย่างไร? อ่านหน้าถัดไป >>

รับมือกับอาการไม่สบายที่ฟันของเบบี๋กำลังจะขึ้นอย่างไร

  • เวลาที่เจ้าตัวน้อยงอแงกับอาการบวมแดงที่เหงือก คุณแม่ควรได้อยู่ใกล้ชิดลูกให้มากที่สุด การกอดลูกจะทำให้เจ้าตัวน้อยคลายกังวลและรู้สึกดีขึ้น
  • หาอาหาร finger food เช่น แครอทหรือแตงกวาแท่งเล็ก ๆ แช่เย็นมาให้ลูกได้กัดเล่น จะช่วยลดอาการระคายเคืองได้
  • ในกรณีที่เหงือกไม่บวมหรือแตะไม่เจ็บ ให้คุณแม่ใช้มือที่ล้างสะอาด โดยใช้นิ้วเข้าไปนวดเหงือกของลูกเบา ๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น
  • ทำความสะอาดเหงือกของลูกหลังจากทานอาหารทุกครั้ง เพื่อช่วยลดอาการอักเสบในขณะที่ฟันขึ้น และเนื่องจากช่วงนี้น้ำลายของลูกจะเยอะจนไหลย้อยออกมา การทำความสะอาดจะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวลูกเป็นผื่นแดงจากการติดเชื้อจากน้ำลาย ด้วยการใช้สำลีหรือผ้าสะอาดเช็ดชุบน้ำสุกเช็ดลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้นเหงือก และบริเวณรอบปาก
  • ถ้าเหงือกของลูกมีอาการบวมแดงมาก ควรพาไปปรึกษาทันตแพทย์

เมื่อลูกเริ่มมีฟันขึ้นหรือฟันงอก คุณแม่ควรเริ่มต้นที่จะดูแลความสะอาดภายในช่องปากของลูกได้ ด้วยวิธีการดังกล่าว เพื่อจะได้ช่วยฝึกให้ลูกคุ้นชินกับการทำความสะอาดและมีช่องปากที่สะอาด ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ก็จะเป็นผลดีต่อการที่ลูกจะยอมแปรงฟันแต่โดยดีได้ในอนาคตนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ้างอิงข้อมูล :

พัฒนาการเด็ก.com

www.baby.haijai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฟันซี่แรกของลูกขึ้นช้า เป็นอะไรไหม

ลูกจ๋าฟันขึ้นกับ 2 ข้อพื้นฐานที่แม่ควรรู้

บทความโดย

Napatsakorn .R