พ่อขอความช่วยเหลือ ลูกสาวผ่าตัดปานบนใบหน้า

คุณพ่อและคุณแม่โพสต์วอนขอความช่วยเหลือผู้ใจบุญให้การช่วยเหลือและรักษาปานบนใบหน้าของลูกสาว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภายหลังจากที่คุณพ่อโพสต์ขอความช่วยเหลือให้กับลูกสาว ที่มีปานอยู่บนใบหน้า ก็ได้มีผู้คนในโลกโซเชียลให้การช่วยเหลือกันเป็นจำนวนมาก

โดยคุณพ่อเล่าว่า ลูกสาวมีปานดำบนใบหน้า และได้ผ่าตัดรักษาไปแล้วถึงสองครั้ง ซึ่งการผ่าตัดในแต่ละครั้ง จะต้องใช้เงินจำนวนมาก ตกครั้งละประมาณ 100,000 บาท ซึ่งคุณพ่อก็ไม่ได้มีเงินมากพอที่จะรักษาลูกอีก จึงอยากขอความช่วยเหลือจากผู้ใจบุญแนะนำสถานที่ ๆ จะสามารถให้การช่วยเหลือน้องได้

และหลังจากที่คุณพ่อลงข้อความดังกล่าว ก็ได้มีผู้ไม่หวังดีได้ทำการสวมรอย ทำให้เพจดังอย่าง Drama-addict ต้องออกโรงเตือน จนในที่สุด คุณแม่ของน้องนามว่า Noo Yui ถึงกับต้องออกมาชี้แจง ถึงเลขที่บัญชีที่แท้จริง

ท่านผู้ใดสนใจให้การช่วยเหลือค่าผ่าตัดของน้อง ก็สามารถช่วยเหลือโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชื่อบัญชี ปาริฉัตร มงคลสาคร

เลขที่ 586-2-37577-9

มาทำความรู้จักกับปานกันได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

ปาน คือ บริเวณของผิวหนังที่มีสีต่างจากผิวหนังบริเวณอื่น มักเป็นมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นหลังจากคลอดได้ไม่นาน สีของปานจะแตกต่างกันไปตามแหล่งต้นกำเนิดของปาน โดยอาจเป็นสีแดงสด ชมพู น้ำตาล น้ำตาลเข้ม หรือเขียว และอาจจะนูนหรือแบนราบไปตามผิวหนังก็ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประเภทของปาน

  • Cafe-au-lait Spots เป็นปานสีน้ำตาลอ่อน
  • Hemangiomas มีลักษณะแบนหรือนูนกว่าผิวหนังเล็กน้อย มีสีแดงสดหรือแดงคล้ำ อาจเกิดบนใบหน้า ศีรษะ และคอ แต่อาจพบได้ตามลำตัว ปานประเภท hemangiomas บนผิวหน้านั้นมักเกี่ยวข้องกับการที่เส้นเลือดในสมองมีลักษณะผิดรูป ซึ่งปานประเภทนี้สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
    • Strawberry hemangioma มักนูนกว่าผิวหนังเล็กน้อยและมีสีแดงสดเหมือนผลสตรอเบอร์รี การที่มีสีแดงสดเนื่องจากมีเส้นเลือดจำนวนมากรวมตัวกันใกล้ผิวหน้า
    • Cavernous Hemangioma มักเกิดขึ้นใต้ผิวหนัง ส่วนมากจะมีสีแดงคล้ำอมเขียว
  • Macular Stain บางครั้งเรียกว่า angel’s kiss หรือ stork bites โดยมากมักมองแทบไม่เห็น ไม่จำเป็นต้องรักษา
  • ไฝ มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มักเกิดขึ้นหลังจากคลอดแล้วไม่นานและเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของเซลล์เม็ดสี
  • Mongolian spots โดยส่วนใหญ่ปานชนิดนี้จะแบนราบ มีสีเขียวปนเทาและมักอยู่บริเวณก้นกบ ไม่เป็นอันตรายและมักจางหายไปเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
  • Port-wine Stains มีสีชมพู แดง หรือม่วง เป็นจุดๆ บนผิวหนังโดยมีขนาดแตกต่างกันไป
  • Congenital hairy nevus (giant hairy nevus, bathing trunk nevus) มีลักษณะเป็นเนื้อนูน มีสีเข้มและมักจะมีขนปกคลุม ส่วนใหญ่ปานประเภทนี้มีขนาดใหญ่ และเมื่อเวลาผ่านไปอาจกลายเป็นเนื้องอกได้ จึงควรกำจัดตั้งแต่ในช่วงที่ยังสามารถทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของปาน

ควรปรึกษาแพทย์หากปานมีการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

  • สีของปานเปลี่ยนไป (จางลงหรือเข้มขึ้นกว่าเดิม)
  • ผิวหนังเกิดการนูนหรือบวมขึ้น
  • มีความผิดปกติของผิวหนังเกิดขึ้นใหม่

ปานส่วนใหญ่นั้นไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ปานชนิด hemangiomas และ port-wine stains อาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น แผลเปิด เลือดออกง่าย อวัยวะที่อยู่รอบๆ ได้รับผลกระทบทำให้ทำงานผิดปกติ (เช่น ตาหรือปาก) หรือปานอาจมีการเจริญเติบโตเร็วผิดปกติ

ในบางกรณีนั้น ไฝอาจกลายเป็นมะเร็งได้ ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: Bumrungrad Hospital และ Drama-addict

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

1 ใน 20,000 เด็กชายไฝและปานทั่วตัว ยาวติดกันทั้งแผ่นหลัง

10 ความในใจ จากปากคนเป็นมะเร็งเต้านม

บทความโดย

Muninth