พื้นฐานวิธีห่อตัวทารก

ยินดีด้วยนะคะกับคุณพ่อคุณแม่ที่เพิ่งจะมีลูกหรือกำลังจะมีในอีกไม่ช้า เราจะมาดูวิธีห่อตัวทารกกัน มีหลายแบบสำหรับหน้าหนาวหน้าร้อน ห่อศีรษะหรือไม่ห่อศีรษะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พื้นฐานวิธีห่อตัวทารก

แม้ว่า การห่อตัวทารกน้อย จะเป็นวิธี ที่ช่วยให้ทารกนอนหลับได้ดีขึ้น แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคไหลตาย ได้ สาเหตุพื้นฐาน ที่สามารถอธิบายได้คือ เมื่อทารกน้อย เริ่มพลิกตัวนอนคว่ำ ในขณะได้รับการห่อตัว อาจทำให้ขาดอากาศหายใจ เนื่องจากการคว่ำหน้า ลงบนวัสดุรองนอน ทารกน้อย จะไม่สามารถผลิกตัว กลับมานอนหงายได้เอง เนื่องจากแขน ขา ถูกห่อไว้ นอกจากนี้ การศึกษาในต่างประเทศ พบว่าทารกที่ได้รับการห่อตัว ในขณะหลับ จะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า ทารกที่ไม่ได้รับการห่อตัว หลังได้รับการกระตุ้นด้วยเสียงดัง ถ้าหากทารกน้อย มีความบกพร่อง ในการควบคุมการทำงานของหัวใจ และ ไม่สามารถปลุกให้ตื่นจากการนอนหลับ อาจนำไปสู่การลด การตอบสนองของหัวใจ และ ระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งเป็นกลไกหลัก ที่ก่อให้เกิดโรคไหลตายในทารก หรือ sudden infant death syndrome ( SIDS ) นอกเหนือจากภาวะเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารกแล้ว พื้นฐานวิธีห่อตัวทารก ที่ไม่ดี อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิด การเจริญพัฒนาของสะโพกที่ผิดปกติ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน ปอดบวม หรือ อาจเกิดการติดเชื้อ ในทางเดินหายใจส่วนบน

พื้นฐานวิธีห่อตัวทารก-01

การห่อตัวทารก มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และ วิธีห่อตัวทารก ก็มีในหลายประเทศ ซึ่งจะค่อนข้างคล้าย ๆ กัน จุดประสงค์ คือให้ทารกรู้สึกอบอุ่น เหมือนมีพ่อ แม่กำลังกอดอยู่ นอนได้โดยที่ผ้าห่มไม่หลุดไปไหน เมื่อขยับตัว ไม่ให้ผ้าห่มปิดหน้าปิดปาก

พื้นฐานวิธีห่อตัวทารก-02

วิธีห่อตัวทารก แบบหน้าร้อน ไม่ห่อศีรษะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. แบผ้าขนหนู หรือ ผ้าห่ม เป็นแนวทแยง และ พับมุมด้านบนลงมา

2. เอาลูกวางไว้ โดยให้คออยู่ที่มุม ที่พับลงมา

3. จับผ้าจากด้านซ้าย ห่อตัวลูก เก็บไว้ใต้แขนซ้าย

4. จับผ้าจากด้านล่าง ขึ้นมาปิดขาเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. จับผ้าจากด้านขวา เข้ามาห่อตัวลูก เก็บชายผ้าเข้ามาใต้ตัวลูก

พื้นฐานวิธีห่อตัวทารก-03

คุณจะให้เอามือลูก ไว้ด้านใน หรือ ด้านนอกก็ได้ หรือ จะเอาข้างนึงไว้ด้านในอีกข้างไว้ด้านนอกก็ไม่ว่ากัน คอยสังเกตดูว่าลูกชอบแบบไหน หากผ้ามาปิดบริเวณปากของลูกให้พับเข้าด้านใน ดูตามวีดีโอค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีห่อตัวทารก แบบหน้าหนาว ( หรืออยู่ในห้องแอร์ ) ห่อศีรษะ

1. ทำเหมือนกับการห่อ แบบหน้าร้อน นำผ้ามาแบ แบบทแยง และ พับมุมด้านบนลงมา แต่การวางทารก จะวางให้ศีรษะทารกอยู่ข้างใน ผ้ามากกว่าเดิม

2. พับผ้าจากด้านบน เข้ามาครอบศีรษะลูก ให้ปิดใบหู

3. จับมุมผ้า จากด้านซ้ายมาปิดตัวลูก เก็บชายเข้าด้านหลังลูก

4. จับมุมผ้าจากด้านล่าง เข้ามาปิดตัวลูก จากนั้น ก็จับผ้าด้านขวาเข้ามาทับ เก็บชายผ้าเข้าด้านหลังลูก

ที่มา pharmacy.mahidol

วิธีทำให้ลูกหยุดร้องไห้

Credit ภาพ : babyology.com.au

the Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญ ด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น the Asianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการ ทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอด ที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก the Asianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุน พ่อ แม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team