พี่เลี้ยงใจร้าย ทำร้ายเด็กวัย 11 เดือน!

คลิปนี้เป็นวีดีโอจากกล้องวงจรปิดที่คุณแม่ชาวอเมริกาได้ซ่อนไว้หลังจากสังเกตเห็นว่าพฤติกรรมของลูกน้อยวัย11เดือนของเธอนั้นแปลกไป ลูกมักร้องไห้อย่างหนักทุกครั้งที่เจอหน้าพี่เลี้ยงคนนี้ และสิ่งที่แม่คนนี้ได้เห็นจากกล้องก็ทำให้รู้ว่า พี่เลี้ยงที่เธอแสนจะไว้ใจจากการคัดประวัติมาอย่างดี อดีตครูสอนเด็กอนุบาลและมีประสบการณ์เลี้ยงเด็กมากกว่า 10 ปีนั้นได้ทำร้ายลูกของเธอหลายต่อหลายครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พี่เลี้ยงใจร้าย ทำร้ายเด็กวัย 11 เดือน! คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นคอยระวัง

พี่เลี้ยงใจร้าย

คุณแม่ท่านนี้ได้นำคลิปวีดีโอนี้ไปแจ้งความและเปิดเผยคลิปบนเวปยูทูปเพื่อเป็นอุทธาหรณ์ให้แก่แม่ๆทุกคนค่ะ

ไม่มีใครรกลูกเราเท่าเรารักลูกเราแล้วล่ะค่ะ หากจำเป็นต้องจ้างพี่เลี้ยงนั้น ให้หมั่นสังเกตพฤติกรรมลูกไว้และคอยเฝ้าระวังนะคะ

https://youtu.be/HSNuEJIEC3g

ในสังคมปัจจุบัน เรามักจะเห็นข่าวในหนังสือพิมพ์ ทีวี หรือสื่ออื่นๆ เป็นเรื่องของเด็กที่ถูกทำร้ายอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นจากคนในครอบครัวเด็กเอง พี่เลี้ยงตามสถานเลี้ยงเด็กต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งครูในโรงเรียนก็มีมาแล้วเช่นกัน โดยในปี 2558 ที่ผ่านมามีการเก็บสถิติความรุนแรงพบว่ามีจำนวนกว่า 30,000 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งมีจำนวนกว่า 28,000 คน โดยแบ่งเป็นเด็กกว่า 19,000 คน สตรีกว่า 12,000 ราย ในกลุ่มของเด็กพบว่าร้อยละ 90 เป็นหญิงอายุระหว่าง 10-15 ปี โดยอันดับหนึ่ง เป็นการกระทำรุนแรงต่อร่างกาย ทั้งกักขัง บังคับ ทุบตี อันดับสอง เป็นคดีทางเพศ ทั้งข่มขืน กระทำชำเรา และล่วงละเมิดทางเพศ นี่กำลังเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยของเรา เหตุใดจึงมีเด็กถูกทำร้ายมากมายถึงเพียงนี้ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าสาเหตุของความรุนแรงนั้นมีด้วยกัน 3 สาเหตุ คือ

1. ผู้ดูแลเด็กไม่มีความพร้อมที่จะเป็นผู้ดูแลเด็กที่ดี บางคนอาจได้รับการเลี้ยงดูมาในลักษณะที่ไม่ดี หรืออาจมีปัญหาสุขภาพจิตและไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้เด็กที่อยู่ในการดูแลของคนเหล่านี้ถูกทำร้ายร่างกาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ผู้ดูแลเด็กอาจมีการใช้สารหลายอย่าง เช่น ติดแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด กลุ่มคนเหล่านี้ก็จะมีความเสี่ยงสูงในการที่จะทำร้ายเด็ก หรือบางคนก็มีประวัติก่อความรุนแรงเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น ชอบชกต่อย ตี หรือมีพฤติกรรมที่เป็นอาชญากร เช่น ขโมยของ ผู้ดูแลเด็กที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ก็จัดอยู่ในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงที่อาจใช้ความรุนแรงกับเด็ก

3. ผู้ดูแลที่ไม่ได้มีพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น แต่มีทัศนคติในการดำเนินชีวิต ในการเลี้ยงดูเด็กว่าการดูแลเด็กเล็ก จะต้องได้รับการลงโทษจึงจะเป็นเด็กดีได้ ผู้ดูแลเด็กกลุ่มนี้จะรู้สึกว่าการตีเป็นการสั่งสอน เป็นการลงโทษตามปกติ เป็นเรื่องที่ทำได้และก็มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไป เช่น ตีเบา ตีด้วยไม้ขนาดเล็ก ไปจนถึงขั้นเตะ ต่อย ทุบ หยิก บิดหู ซึ่งในความเป็นจริง การลงโทษที่มีลักษณะของการทำให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายนั้นไม่ใช่การลงโทษที่เหมาะสม ความเจ็บในลักษณะนี้ไม่สามารถนำไปสู่ความเข้าใจว่าผู้กระทำมีความรัก หรือมีความหวังดีกับเด็ก การลงโทษภายใต้อารมณ์โกรธไม่ส่งผลดีต่อเด็ก นับเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยที่ทุกคนควรหันมาให้ความสนใจและร่วมกันแก้ไข

แนวทางการแก้ไข

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

@ การลงโทษเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางวินัยนั้นต้องมีอย่างแน่นอน แต่ต้องไม่ใช่วิธีการที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ และทำร้ายร่างกาย หรือเปิดโอกาสให้ผู้กระทำ ผู้ลงโทษเด็ก ผู้ดูแลเด็กกระทำภายใต้การใช้อารมณ์ของตัวเอง แล้วก็ควบคุมไม่ได้ ซึ่งวิธีการที่ถูกต้อง เพราะคำพังเพยไทยที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” นั้นไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหา ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องมาทบทวนกันใหม่ถึงการลงโทษที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย ควรปลูกจิตสำนึกให้เด็กรู้จักคิด เข้าใจเหตุผล มากกว่าการตีเด็กอย่างเช่นที่ผ่านๆ มา

@ แจ้ง 1300 ทันที หากพบการลงโทษเด็กด้วยวิธีการรุนแรง มีการทำร้ายร่างกาย ทั้งคนปกติแต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หรือคนที่สุขภาพจิตไม่ดี มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เสพสารเสพติด ก่อความรุนแรงกับเพื่อนบ้าน และคนเหล่านี้มีเด็กภายใต้การดูแล หากปล่อยเด็กถูกทำร้ายเรื่อยๆ เด็กอาจจะเสียชีวิต ทั้งที่จริงๆ แล้วเพื่อนบ้านหรือคนรอบข้างเห็นเหตุการณ์ทุกวันว่าผู้ดูแลมีพฤติกรรมรุนแรงกับเด็ก เช่น ตบหัว บิดหู ลากหู หากเห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราทุกคนต้องช่วยกัน เราต้องช่วยกันดูแลเด็กๆ หากพบเห็นการทำร้ายเด็กสามารถโทร.รายงานที่ 1300 เพื่อ ให้ ศูนย์ ช่วยเหลือ สังคม เข้าไป ประเมิน และ ให้ ความช่วยเหลือ การ ปล่อยเรื่อง นี้ ผ่านไป เด็ก มักจะ ถูกกระทำ ซ้ำ และ มี ความ รุนแรง มากขึ้น กว่าเดิมจนถึง ขั้นเสียชีวิต ได้ จึง จำเป็น ที่ สังคม ต้อง ช่วยกัน ดูแล แม้ว่า ในความ เป็นจริง พ่อแม่มีสิทธิ์ ที่จะ ดูแลลูก แต่ ตราบ ใด ที่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กละเมิดต่อชีวิต ความปลอดภัยและสุขภาพของเด็กแล้ว สังคมมีหน้าที่ที่จะต้องรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 29 ใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก

“เด็กวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า” พวกเรา ทุกคน จึง ต้อง หันมา ช่วยกัน ดูแลลูกหลาน ของเรา ให้ ปลอดภัย จาก ความรุนแรงต่างๆ เพื่อ ให้ พวกเขา เติบโต ไป เป็น ผู้ใหญ่ ที่ดี และ มี คุณภาพ ของ สังคม ต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จับครูเลี้ยงโหดที่เวียดนาม ระวังก่อนฝากลูกไว้กับใคร

นางพยาบาลไร้จรรยาบรรณ ปิดสก็อตเทปที่ปากทารก

ฟัง วีรกรรมครูจุ๋ม จากปากเด็กนักเรียน เคยอุ้มไปใส่ถังขยะเพียงเพราะไม่ตั้งใจเรียน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา