พาลูกไปพบจิตเเพทย์ ไม่ได้หมายความว่า "ลูกเป็นบ้า" ความเข้าใจผิดๆ ที่ควรเข้าใจใหม่ได้เเล้ว

พาลูกไปพบจิตเเพทย์ ไม่ได้หมายความว่า "ลูกเป็นบ้า" ความเข้าใจผิดๆ ที่ควรเข้าใจใหม่ได้เเล้ว จิตเเพทย์ไม่ได้รักษาเเต่คนบ้า หลายๆ อาการก็ต้องปรึกษาจิตเเพทย์ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พาลูกไปพบจิตเเพทย์ ไม่ได้หมายความว่าลูกเป็นบ้า ความเข้าใจผิดๆ ที่ควรเข้าใจใหม่ได้เเล้ว

พาลูกไปพบจิตเเพทย์ ไม่ได้หมายความว่าลูกเป็นบ้า ความเข้าใจผิดๆ ที่ควรเข้าใจใหม่ได้เเล้ว สืบเนื่องจากประเด็นข่าวเเละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาช้านาน ทั้งความเข้าใจผิดๆ ความอคติ เเละความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้คนที่เสียหายจากเรื่องนี้ที่สุดก็คือตัวของเด็กๆ เองค่ะ

พบจิตเเพทย์ต้องเป็น “บ้า” เท่านั้น ???

ความเข้าใจผิดที่ยิ่งใหญ่มโหฬาลนี้ เกิดขึ้นเพราะคนไทยกลุ่มหนึ่งคิดว่า การที่พ่อแม่จะพาลูกไปพบจิตเเพทย์เด็กนั้น เด็กต้องมีความผิดปกติทางสุขภาพจิตเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดพลาดมากๆ เลยนะคะ จริงๆ เเล้วคุณพ่อคุณเเม่สามารถพาลูกไปพบจิตเเพทย์เด็กเเละวัยรุ่นได้ทันที เมื่อลูกมีพัฒนาการ พฤติกรรม การกระทำ เเละความคิด ดังต่อไปนี้ค่ะ

  • มีพัฒนาการล่าช้า อย่างเช่น ด้านการพูด ด้านภาษา หรือการฝึกเข้าห้องน้ำ
  • ความสนใจจดจ่อ หรือมีปัญหาด้านสมาธิ
  • พฤติกรรมที่ติดเป็นนิสัยต่างๆ เช่น โมโหง่ายหรือโมโหร้าย ฉี่รดที่นอน มีปัญหาด้านการกิน
  • ผลการเรียนตกลงมาก จากปกติ
  • นิสัยเปลี่ยนไป เช่น มีอาการของโรคซึมเศร้า หรือโศกเศร้าจากเรื่องต่างๆ
  • การเเยกตัวจากสังคม หรือไม่มีเพื่อน
  • เป็นเหยื่อของการเเกล้งกัน หรือเป็นเด็กที่เเกล้งเพื่อน
  • มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ลดลง
  • มีพฤติกรรมอย่าง การกัด การตี การเตะหรือถีบ
  • มีความเจ็บป่วยร้ายเเรงหรือเรื้อรัง
  • คุณพ่อคุณเเม่หย่าหรือเเยกกันอยู่ หรือการย้ายบ้าน
  • การล่วงละเมิดต่างๆ เช่น ล่วงละเมิดทางใจ ล่วงละเมิดทางคำพูด เเละล่วงละเมิดทางกาย
  • ไม่อยากอาหาร
  • ใช้เวลานอนนานขึ้น
  • รู้สึกไม่อยาก หรือขี้เกียจไปโรงเรียน
  • อารมณ์เเปรปรวน
  • มีอาการต่างๆ ทางกายภาพมากขึ้น เช่น ปวดหัว ปวดท้อง รู้สึกไม่ดี เเม้ว่าจะได้รับการตรวจการคุณหมอโรคทั่วไป หรือคุณหมอเฉพาะทางเเล้วก็ตาม เนื่องจากในบางครั้งสุขภาพจิตก็ส่งผลถึงสุขภาพกายได้เช่นกันนะคะ

พาเด็กไปหาจิตเเพทย์ มีประโยชน์ยังไง 

ความผิดปกติหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เกิดขึ้นเมื่อเด็กยังเล็กๆ ค่ะ เเต่เมื่อนานวันเข้า เด็กๆ ไม่ได้รับการรักษาหรือบำบัดอย่างถูกต้อง พฤติกรรมหลายต่อหลายอย่างนับจะทวีความรุนเเรงยิ่งขึ้นสอดคล้องกับอายุเด็กที่มากขึ้น จิตเเพทย์หลายท่านที่กว่าจะเจอเด็กที่มีปัญหาปัญหาก็ลุกลามบานปลายใหญ่โตเเล้ว เเละการบำบัดหรือรักษาสิ่งเหล่านั้นก็ทำได้เเค่ไม่ให้อาการเป็นมากไปกว่านี้

ดังนั้นการรีบพาลูกมาปรึกษาจิตเเพทย์ เพื่อบำบัดเเละรักษา ยิ่งเร็วเท่าไหร่ ยิ่งหายเร็วเท่านั้นค่ะ ดีกว่าปล่อยให้เด็กๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนยากเกินการรักษาหรือบำบัดให้หายขาดได้เเล้วนะคะ ทั้งนี้บางความคิดเเละพฤติกรรมของเด็กนั้น มีผลต่อสุขภาพจิตของเด็กในระยะยาวด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัจจัยที่ทำให้การรักษาเเละการบำบัดเป็นไปได้ด้วยดี

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การรักษาเเละการบำบัดมีประสิทธิภาพต่อเด็กๆ อย่างมากคือ การปรับเเละเปลี่ยนของตัวคุณพ่อคุณเเม่ ผู้ใหญ่ในบ้าน เเละคนใกล้ชิดของเด็กเอง เนื่องจากปัญหาบางอย่างนั้นเเก้ได้ด้วยการปรับพฤติกรรมของคนรอบข้างที่ใกล้ชิดเด็กๆ คุณพ่อคุณเเม่จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

ในการปรึกษาจิตเเพทย์ครั้งเเรกๆ ควรพาคนที่ใกล้ชิด หรือเลี้ยงดูเด็ก เข้าพบคุณหมอด้วย เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน ถึงการเปลี่ยนเเปลง ปรับเปลี่ยน เเละเเก้ไขที่จะเกิดขึ้นต่อไปค่ะ เพราะต่อให้พาเด็กๆ ไปพบจิตเเพทย์ เเต่ถ้าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเด็กๆ ไม่เปลี่ยน เด็กๆ ก็ไม่อาจจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้นั่นเองค่ะ

หวังดีกับลูก พ่อแม่ต้องเข้มเเข็ง

ไม่มีความรักเเละความหวังดีไหนจะบริสุทธิ์มากไปกว่ามาจากพ่อกับเเม่อีกเเล้ว เเม้คนในสังคมจะมองเป็นด้านลบเเค่ไหน เเต่ขอให้คุณพ่อคุณเเม่พึงระลึกไว้เสมอว่า ลูกคือการรับผิดชอบของเรา คำวิจารณ์ คำด่า คำส่อเสียดที่ผ่านเข้ามา ไม่ทำให้ลูกหายจากสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นการเป็นพ่อแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย สตรองเข้าไว้นะคะคุณพ่อคุณเเม่ทั้งหลาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รายชื่อโรงพยาบาลที่มีจิตเเพทย์เด็กเเละวัยรุ่นประจำการ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 0-2256-4000
โรงพยาบาลศิริราช 0-2419-7422
โรงพยาบาลรามาธิบดี 0-2354-7308
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 0-2926-9999
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 0-2534-7000
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล 0-2244-3000
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 0-2354-7600-28
โรงพยาบาลศรีธัญญา 0-2528-7800
สถาบันราชานุกูล 0-2245-4603
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ 0-2248-8999 / 1323
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) 0-2354-8439

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 0-2528-4567
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพฯ 0-3739-5085-6
โรงพยาบาลสระบุรี 0-3631-6555
โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช 0-3662-1537
โรงพยาบาลสิงห์บุรี 0-3651-1060 ต่อ 229
โรงพยาบาลอ่างทอง 0-3561-5111

โรงพยาบาลนครปฐม 0-3425-4150-4 ต่อ 1117
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล 0-2441-0601
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 0-3462-2999
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช 0-3550-2784-8 ต่อ 7204-5
โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี 0-3271-9600-650
โรงพยาบาลหัวหิน 0-3254-7351
โรงพยาบาลนภาลัย (บางคนพี) 0-3476-1476

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรงพยาบาลชลบุรี 0-3893-1000 ต่อ 1600-01
โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ 0-3824-5700
โรงพยาบาลศูนย์ระยอง 0-3861-7451-8 ต่อ 2027
โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 0-3932-4975-84
โรงพยาบาลพุทธโสธร 0-3881-4375-8 ต่อ 1143

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 0-4336-3031 0-4324-4701
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น 0-4333-6789 ต่อ 2000, 1178
สถาบันพัฒนาการเด็กภาค 0-4391-0770-1
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ 0-4381-1020 ต่อ 2101
โรงพยาบาลเลย 0-4286-2123 ต่อ 724
โรงพยาบาลด่านซ้าย 0-4289-1276
โรงพยาบาลอุดรธานี 0-4224-8586
โรงพยาบาลนครพนม 0-4251-1424

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 0-4423-5000
โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ 0-4434-2667 0-4423-3999
โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 0-4461-5002
โรงพยาบาลสุรินทร์ 0-4451-1757 0-4451-4646
โรงพยาบาลชัยภูมิ 0-4483-7100-49
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 0-4524-4973

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ 0-4531-2550-4
โรงพยาบาลมุกดาหาร 0-4261-1379 0-4261-1285
โรงพยาบาลยโสธร 0-9108-1399-8
โรงพยาบาลศรีสะเกษ 0-4561-2502
โรงพยาบาลกันทรลักษ์ 0-4563-5758-61
โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ 0-7731-1508
โรงพยาบาลตะกั่วป่า 0-7658-4250
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต 0-7636-1234 ต่อ 1267, 1266
โรงพยาบาลระนอง 0-7782-2610 0-7781-2630
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 0-7445-1766 0-7428-1766
โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ 0-7431-1319
โรงพยาบาลตรัง 0-7521-8988
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี 0-7341-1002 0-7341-1412-3

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (รพ.สวนดอก) 0-5394-5755 0-5394-5435
โรงพยาบาลสันป่าตอง 0-5331-1404
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 0-5371-1300 0-5371-1009
โรงพยาบาลเชียงคำ 0-5440-9000
โรงพยาบาลน่าน 0-5471-0138-9 0-5477-1620
โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ 0-5361-1378
โรงพยาบาลลำพูน 0-5541-1084
โรงพยาบาลแพร่ 0-5453-3500
โรงพยาบาลพุทธชินราช 0-5521-9844 ต่อ 2113
โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ 0-5671-7600
โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 0-5541-1084
โรงพยาบาลสุโขทัย 0-5561-2189
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ 0-5621-9888 ต่อ 1207
โรงพยาบาลลาดยาว 0-5638-5012
โรงพยาบาลอุทัยธานี 0-5651-4635
โรงพยาบาลกำแพงเพชร 0-5571-4223

ที่มา KidsHealth โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมถ์

บทความที่น่าสนใจ

ไฮเปอร์เทียม น่าห่วงสำหรับเด็กเล็ก หมอเตือนอย่าให้ลูกเล่นมือถือ แท็บเล็ต

อยากเลี้ยงลูกให้ดีในยุคนี้ เลิกทำ 10 สิ่งที่ทำร้ายจิตใจลูก!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา