พาร์โวไวรัสบี19 ไวรัสไข้ออกผื่นในเด็กที่คุณแม่ควรทราบ

เรามาทำความรู้จักกับโรค พาร์โวไวรัสบี19 หรือ Fifth Disease กันครับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พาร์โวไวรัสบี19 หรือ Fifth Disease เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับทารก เด็ก และอาจเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ได้ในบางครั้ง ตามปกติโรคจะไม่รุนแรง เป็นแล้วหายเองได้ครับ

 

พาร์โวไวรัสบี19 มีสาเหตุมาจากอะไร

พาร์โวไวรัสบี19 แพร่โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ติดเชื้อเช่น อาการไอ หรืออาจติดต่อได้จากมารดาไปยังทารกที่ยังอยู่ในครรภ์ โดยมีระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 4 – 20 วัน หลังจากการติดเชื้อจนถึงการเกิดขึ้นของผื่นหรืออาการอื่นๆ

 

อาการของผู้ติดเชื้อ พาร์โวไวรัสบี19

เมื่อเริ่มต้นจะมีอาการคล้ายกับเป็นไข้ ไอ และปวดศรีษะ เด็กที่ป่วยจะมีผื่นสีแดงขึ้นที่แก้ม มีลักษณะคล้ายกับโดนตบหน้าจนแดง มีผื่นแดงขึ้นบริเวณลำตัว แขนและขา คล้ายโดนแดดเผา บางครั้งอาจมีอาการคัน และเป็นไข้ ซึ่งโดยปกติแล้วผื่นจะหายไปภายใน 7 – 10 วัน และหากเด็กหายป่วยจากการติดเชื้อพาร์โวไวรัสแล้ว เขาจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอด และจะไม่กลับมาเป็นอีก

สำหรับผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ พาร์โวไวรัสบี19 บางรายอาจไม่ปรากฎอาการใดๆเลย หรืออาจเป็นแค่ผื่น ปวดตามข้อ โดยอาการเหล่านี้จะหายไปภายใน 1 หรือ 2 สัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พาร์โวไวรัส บี19 และการตั้งครรภ์

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นโรคนี้มาก่อนจะไม่กลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำอีก ดังนั้นจึงพบคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ติดเชื้อนี้ได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม โรคพาร์โวไวรัส บี19 อาจเป็นสาเหตุทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์มีอาการโลหิตจางรุนแรง และอาจทำให้เกิดการแท้งลูกได้ โดยโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีต่ำกว่าร้อยละห้าของสตรีมีครรภ์ทั้งหมดที่ติดเชื้อพาร์โวไวรัสบี19 และมักจะเกิดขึ้นระหว่างครึ่งระยะแรกของการตั้งครรภ์ครับ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากมีอาการควรทำอย่างไร

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาใดๆที่จะป้องกันการติดเชื้อ พาร์โวไวรัส บี19 และโรคนี้มักจะหายไปเอง มีเพียงร้อยละ 15-30 เท่านั้นที่เป็นไข้ สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์แล้วเป็นโรคนี้ หรือคุณแม่ที่ต้องดูแลลูกที่เป็นโรคนี้ คุณควรล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค แต่หากพบว่าอาการรุนแรงขึ้น มีอาการขาดน้ำ ง่วงซึมหรือมีโรคอื่นแทรกซ้อนควรรีบไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีครับ

 

ที่มา parents.com, mhcs.health.nsw.gov.au

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผ้าเช็ดตัว แหล่งเชื้อโรคสู่ลูกน้อยที่คุณไม่คาดคิด

“ไข้ออกผื่น” ในเด็ก สังเกตอย่างไร

บทความโดย

P.Veerasedtakul