พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์

แขนขาเป็นอวัยวะที่จำเป็นต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย มือและนิ้วจำเป็นต่อการหยิบจับ เรียนรู้โลกรอบตัวผ่านการสัมผัส เรามาดูกันว่าพัฒนาการแขน ขา มือ เท้า นิ้ว และเล็บของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 6 เริ่มเห็นปุ่มที่จะพัฒนาเป็นแขนและขา

สัปดาห์ที่ 7 แขนขาของตัวอ่อนเริ่มพัฒนาจากปุ่มแขนขาแต่ละข้าง โดยปุ่มแขนพัฒนาเป็นส่วนมือ แขน และไหล่ ปุ่มขาพัฒนาเป็นขา เข่า และเท้า มือและเท้าจะมีรูปร่างคล้ายไม้พาย ก่อนจะพัฒนาเป็นนิ้วในเวลาต่อมา

สัปดาห์ที่ 9 นิ้วมือนิ้วเท้าปรากฏครบแล้ว

สัปดาห์ที่ 13 เล็บเริ่มปรากฏ เริ่มมีลายนิ้วมือ ลายนิ้วเท้า

สัปดาห์ที่ 14 แขนมีการพัฒนาให้ได้สัดส่วนกับร่างกาย ในขณะที่ส่วนขายังสั้นกว่าเล็กน้อย

สัปดาห์ที่ 15 ขายาวกว่าแขนแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 16 เล็บเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง

สัปดาห์ที่ 19 ทั้งแขนและขาของทารกพัฒนาได้สัดส่วนกับร่างกาย มีการขยับแขน ขยับนิ้วมือ นิ้วเท้า คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกเตะในช่วงนี้ หรือภายในไม่เกิน 1-2 สัปดาห์

สัปดาห์ที่ 20 เล็บยังคงพัฒนาต่อไป

สัปดาห์ที่ 22 เล็บพัฒนาเสร็จแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 32 แขนและขาพัฒนาได้สัดส่วนสัมพันธ์กับขนาดของศีรษะ

สัปดาห์ที่ 34 เล็บเท้ายาวขึ้นจนถึงปลายนิ้ว

ดูคลิปพัฒนาการแขนและขาของทารก ได้ที่นี่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ได้ทราบแล้วนะคะว่าแขนและขาของทารกมีการพัฒนาอย่างไร แต่คุณแม่ทราบไหมคะว่า สถิติของเด็กที่แขนขาพิการแต่กำเนิดมีอยู่ถึง 2 : 1,000 คน เรามาดูกันว่า ความผิดปกติของแขนขาทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะป้องกันได้หรือไม่ คลิกหน้าถัดไป

ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิดเกิดจากอะไร

ข้อมูลจากสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) ระบุว่า ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิด (Limb anomalies) คือความผิดปกติของแขน ขา เกิดจากทารกในครรภ์ไม่มีการสร้างหรือมีการสร้างแขนขาที่ผิดไป เป็นความพิการของร่างกายที่เห็นได้ชัดตั้งแต่หลังเกิด ตัวอย่างเช่น โรคเท้าปุก แขนขาด ขาขาด และโรคข้อยึดแต่กําเนิด เป็นต้น ซึ่งมีความรุนแรงได้หลากหลายและทําให้การทํางานของแขนขาและมือเท้าผิดปกติไป

สาเหตุของภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิด มีได้หลากหลาย สาเหตุการเกิดส่วนใหญ่มักไม่ทราบแน่ชัด ทั้งนี้สาเหตุที่เป็นไปได้ ได้แก่ การใช้ยาที่มีผลกับทารกในครรภ์ สารพิษ หรือการติดเชื้อในระยะ 4-8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นระยะที่มีการสร้างแขนขาของทารก หรืออาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของพันธุกรรม

ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิดสามารถรักษาได้หรือไม่

การรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันไป โดยพิจารณาจากความผิดปกตินั้นเป็นอุปสรรคต่อการทํากิจวัตรประจําวัน การใช้งาน การยืนเดิน เป็นหลัก

  • แขนขาขาดหาย พิจารณาให้อวัยวะเทียมในเวลาที่เหมาะสมตามระดับพัฒนาการของเด็ก
  • แขนเทียม พิจารณาให้เมื่อเด็กเริ่มถือของด้วยสองมือ เริ่มนั่งทรงตัว หรืออายุประมาณ 6 เดือน
  • ขาเทียม พิจารณาให้เมื่อเด็กเริ่มเกาะยืน หรือ อายุประมาณ 1 ปี
  • นิ้วเกินหรือพังผืดระหว่างนิ้ว รักษาโดยการผ่าตัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและความ สวยงาม แนะนําให้ทําในวัยก่อนเข้าโรงเรียนเพื่อลดปัญหาทางจิตใจและสังคม
  • ส่งพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิดป้องกันได้หรือไม่

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ให้ข้อมูลว่า ยังไม่มีวิธีการป้องกันแน่ชัด สิ่งที่คุณแม่ทำได้คือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งก่อนตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงการรับประทานวิตามินรวมที่มีกรดโฟลิค (400 ไมโครกรัม) ทุกวัน ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์

ที่มา https://pregnancy.familyeducation.com/, https://bdr.kku.ac.th/, www.cdc.gov

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ทารกคลอดไม่มีนิ้ว ภัยร้ายจากพังผืดในถุงน้ำคร่ำ

ปอดของทารกในครรภ์มีพัฒนาการอย่างไร

พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา