Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
พัฒนาการเด็กแต่ละเดือน
พัฒนาการเด็กแต่ละเดือน สำหรับทารกตั้งแต่วัยแรกเกิด – 12 เดือน หนูน้อยจะเริ่มคว่ำ เริ่มคลาน เริ่มตั้งไข่ เริ่มคลาน เริ่มพูด เริ่มกินเองได้เมื่อไหร่? พัฒนาการแต่ละขั้นในแต่ละเดือนของทารกมีอะไรบ้าง พ่อแม่สามารถเช็คได้ดังต่อไปนี้ค่ะ
พัฒนาการเด็กวัย 1 เดือน
- ลูกน้อยจะมองเห็นในระยะใกล้ๆ
- กะโหลกศีรษะจะค่อยๆ เริ่มปิด
- มีการเคลื่อนไหวแขนและขาที่เท่าๆ กัน
- ทารกจะยกศีรษะขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ
- จะร้องไห้เมื่อรู้สึกหิว อึดอัด
- ได้ยินเสียงที่ดัง
- มีอาการสะดุ้งหากลูกน้อยตกใจ
- ตั้งใจฟังเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลงมากขึ้น
พัฒนาการเด็กวัย 2 เดือน
- ในช่วงนี้กระหม่อมของเด็กเริ่มปิดแล้ว ทำให้ลูกน้อยมีศีรษะที่แข็งขึ้นค่ะ
- ลูกน้อยมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น คุณจะเริ่มเห็นว่าลูกน้อยเริ่มจ้ำม้ำแล้ว
- ทารกจะเริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ทั้งแขนขา และศีรษะ
- ลูกน้อยจะเริ่มยิ่มให้คุณได้เห็น
- เริ่มจดจำใบหน้าของพ่อแม่ หรือคนที่คอยดูแลเขาได้แล้ว
- เบบี๋จะเริ่มเรียนรู้เสียงรอบข้าง และเริ่มออกเสียงตาม
พัฒนาการเด็กวัย 3 เดือน
- เด็กจะเริ่มดูดนิ้วตัวเองเนื่องจากเป็นวัยที่เด็กเริ่มค้นพบตัวเองแล้ว
- เริ่มจดจำกลิ่นของพ่อแม่ หรือคนที่คอยดูแลเขาได้
- ลูกน้อยเริ่มผงกศีรษะได้แล้ว แถมพ่อแม่สามรถจับนั่งได้แล้วนะ
- ทารกเริ่มมีกำลังขาที่ดีขึ้น ไม่เชื่อลองจับลูกยืนดูซิค่ะ^^
- ทารกเริ่มมองเห็นในระยะไกลขึ้น โดยจะมองเห็นวัตถุระยะ 8 – 15 นิ้ว
- เรียนรู้การได้ยินและการเลียนแบบเสียงพูด สังเกตได้จากเวลาที่ใครพูดน้องจะหันตาม
- เริ่มใช้มือจับของเล่น หรือวัตถุรอบตัว
- ตาเริ่มมองหรือจับจ้องกับวัตถุ และสามารถมองตามได้
พัฒนาการเด็กวัย 4 เดือน
- ทารกเริ่มที่จะพลิกตัวไปมา ยกศีรษะและยกหน้าอกเวลานอนคว่ำได้
- สามารถนั่งโดยมีคนประคองได้
- สามารถเขย่าของเล่นในมือได้ และสามารถถือของเล่นได้มือเดียวด้วยน้า
- ลูกน้อยจะชอบเอามือเข้าปากหรือของเข้าปาก พ่อแม่คอยดูไว้นะ
- ลูกน้อยจะรู้จักการประสานการทำงานระหวว่างการมองเห็นและการเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน
- ทารกเริ่มเข้าใจเกี่ยวกับความคงทนของวัตถุ รูปร่าง รูปแบบ และสี
- เด็กมักจะยิ้มแย้มให้กับทุกคน
- ชอบเลียนแบบท่าทางที่แสดงออกทางสีหน้า เช่น ยิ้ม และขมวดคิ้ว
- ทารกเริ่มที่จะพูดอ้อแอ้แล้ว
- มองเห็นผู้คนในระยะไกลมากขึ้น
- ลูกน้อยจะร้องบอกความต้องการของตนเอง เช่น หงุดหงิด หิว ง่วงนอน เป็นต้น
- ทารกจะเริ่มสนุกกัยการเล่น และมีการตอบสนองทางด้านอารมณ์กลับ เช่น จะร้องไห้ถ้ามีคนหยุดเล่นด้วย
พัฒนาการเด็กวัย 5 เดือน
- ลูกน้อยเริ่มที่จะคลานไปด้านหน้า
- เริ่มรู้สึกที่จะฝึกนั่งด้วยตนเอง
- สามารถยกตัวเองขณะนอนคว่ำได้สูงขึ้น และนานขึ้น
- มีกำลังแขน และกำลังขาดีขึ้น
- มองเห็นวัตถุรอบตัวได้ชัดเจน สามารถมองตามวัตถุได้
- ลูกมักจะเอามือเข้าปากอยู่บ่อยๆ แถมยังชอบเคี้ยวมือตัวเองด้วย
- ลูกเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น รู้ว่าถ้าทำแบบนี้แล้วจะเกิดอะไร
- ทารกจะร้องไห้หากมองไม่เห็นพ่อหรือแม่
- เด็กจะเริ่มจำหน้าคนอื่นๆ ได้มากขึ้น แล้วก็จะยิ้มให้คนที่ไม่คุ้นเคยด้วยน่ะ
- วัยนี้เด็กๆ จะสนุกกับการเล่นมากๆ และชอบที่จะเลียนแบบด้วย
- หนูน้อยยังคงพูดอ้อแอ้ พูดเก่ง และมักจะตอบสนองด้วยการยิ้มกลับ
พัฒนาการเด็กวัย 6 เดือน
- ทารกจะเริ่มหยิบของส่งของสลับมือไปมาได้แล้ว
- สามารถคลานไปข้างหน้าและคลานถอยหลังได้
- ทารกสามารถลุกนั่งได้เอง โดยที่ไม่ต้องมีใครช่วย
- มักจะใช้มือหยิบจับสำรวจสิ่งของต่างๆ
- สามารถมองเห็นได้ทั่วห้อง โดยมีระยะสายตาใกล้เคียงกับผู้ใหญ่แล้ว
- ลูกจะเริ่มรู้จักใช้โทนเสียงเมื่อรู้สึกดีใจ เสียใจ หรือหงุดหงิด
- เริ่มมีการตอบสนองในการพูดคุย และโต้ตอบได้ด้วย
- สามารถจดจำใบหน้าคนที่คุ้นเคยได้ดีแล้ว
- หนูน้อยจะชอบส่องกระจก พ่อแม่สังเกตเห็นบ้างหรือเปล่าค่ะ
- มีการออกเสียงพยัญชนะบางคำ เช่น “ม” “บ”
- เด็กน้อยจะเรียนรู้จากการสัมผัสและลิ้มรสค่ะ
พัฒนาการเด็กวัย 7 เดือน
- ลูกน้อยสามารถย้ายวัตถุจากมือหนึ่งไปสู่มือหนึ่งได้
- สามารถคลานไปข้างหน้าและถอยหลังได้คล่องมากขึ้น
- ทารกสามารถลุกนั่งได้เอง โดยที่ไม่ต้องมีใครช่วย
- ชอบใช้มือหยิบจับสำรวจสิ่งของต่างๆ
- สามารถมองเห็นได้ทั่วห้อง โดยมีระยะสายตาใกล้เคียงกับผู้ใหญ่แล้ว
- ลูกน้อยสามารถรับน้ำหนักขณะยืนได้ดี
- รู้จักการใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ต่างๆ
- เริ่มมีการตอบสนองในการพูดคุย และโต้ตอบได้ด้วย
- สามารถจดจำใบหน้าคนที่คุ้นเคยได้ดีแล้ว
- หนูน้อยจะชอบส่องกระจก และจ้องมองนานๆ
- เริ่มตอบสนองเมื่อมีคนเรียกชื่อตัวเอง
- มีการออกเสียงพยัญชนะบางคำ เช่น “ม” “บ” ไม่แน่ลูกอาจจะเรียกพ่อและแม่ได้นะคะ
- มีการเรียนรู้คำศัพท์ที่เป็นคำๆ
- เด็กน้อยจะเรียนรู้จากการสัมผัสและลิ้มรสค่ะ
พัฒนาการเด็กวัย 8 เดือน
- ลูกน้อยสามารถย้ายวัตถุจากมือหนึ่งไปสู่มือหนึ่งได้
- สามารถคลานไปข้างหน้าและถอยหลังได้คล่องมากขึ้น
- ทารกสามารถลุกนั่งได้เอง โดยที่ไม่ต้องมีใครช่วย
- พยายามยึดเฟอร์นิเจอร์เพื่อช่วยในการลุกยืน
- เริ่มรู้จักการรวบรวมข้อมูล
- เล่นของเล่นที่เป็นตัวต่อแบบบล็อกได้
- รู้จักการใช้นิ้วชี้สิ่งต่างๆ และการใช้นิ้วเพื่อปิด-เปิดวัตถุ
- เริ่มรู้จักกลัวคนแปลกหน้า
- เริ่มตอบสนองเมื่อมีคนเรียกชื่อตัวเอง
- มีการเรียนรู้คำศัพท์ที่เป็นคำๆ
- ตอบสนองต่ออารมณ์อื่นๆ เช่น เศร้า เสียใจ หรือมีความสุข
- เด็กน้อยจะเรียนรู้จากการสัมผัสและลิ้มรสค่ะ
- สามารถออกเสียงพยัญชนะบางคำ เช่น “ม” “บ” ไม่แน่ลูกอาจจะเรียกพ่อและแม่ได้นะคะ
พัฒนาการเด็กวัย 9 เดือน
- ลูกน้อยจะไม่นอนคว่ำแล้วแต่เปลี่ยนเป็นลุกนั่งแทน
- พยายามยึดเกาะเฟอร์นิเจอร์เพื่อช่วยในการลุกยืน
- เริ่มที่ฝึกเดินโดยการเกาะวัตถุ
- สามารถหยิบอาการกินเองได้แล้ว
- รู้จักลุกขึ้นยืนหรือนั่งลงโดยที่ไม่มีคนคอยช่วยเหลือ
- เลียนแบบคำพูดของคนใกล้ชิด
- ลูกจะเริ่มเรียกพ่อแม่
- เด็กจะมองเห็นสีต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
- เริ่มแสดงออกถึงความอยากรู้อยากเห็น
- ชอบสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัวเอง
- เริ่มเป็นตัวของตัวเอง รู้ว่าอะไรที่ตัวเองชอบ และไม่ชอบ
- อาจมีอาการที่แสดงถึงความกังวลบ้าง
- เด็กชอบเปิดปิด แม่ๆ ระวังลิ้นชัก และประตูด้วยนะคะ
- จำสิ่งของต่างๆ ในบ้านได้ โดยเฉพาะของตัวเอง พ่อแม่ไม่สามารถซ่อนของลูกได้แล้วน้า
- ชอบเล่นของที่กลิ้งไปกลิ้งมา เช่น ลูกบอล
พัฒนาการเด็กวัย 10 เดือน
- ลูกจากการหมอบ
- พยายามยึดเกาะเฟอร์นิเจอร์เพื่อช่วยในการลุกยืน
- รู้จักลุกขึ้นยืนหรือนั่งลงโดยที่ไม่มีคนคอยช่วยเหลือ
- สามารถเดินโดยใช้การยึดเกาะเฟอร์นิเจอร์ได้
- หยิบอาหารหรือช้อนส้อมได้ด้วยตัวเอง
- พูดเก่งและเลียนแบบคำพูดของคนใกล้ชิด
- รู้จักการบ๊ายบาย
- มีการออกเสียงเรียกพ่อแม่
- สามารถเล่นของเล่นที่ซับซ้อนขึ้นได้ เช่น การเล่นถ้วย หรือโบว์ลิ่ง
- ลูกจะมองเห็นสีต่างๆ ได้ชัดเจน
- อยากรู้อยากเห็น อยากรู้ว่าสิ่งต่างๆ มีการทำงานอย่างไร
- มีความรู้สึกกังวล
- เริ่มมีบุคลิกของตนเอง
- เข้าใจกับความหมายของคำมากขึ้น เช่น คำว่าลาก่อน
- เข้าใจคำร้องและทำนองเพลง แถมยังรักเสียงดนตรีด้วยนะ
พัฒนาการเด็กวัย 11 เดือน
- พยายามยึดเกาะเฟอร์นิเจอร์เพื่อช่วยในการลุกยืน
- รู้จักลุกขึ้นยืนหรือนั่งลงโดยที่ไม่มีคนคอยช่วยเหลือ
- สามารถเดินโดยใช้การยึดเกาะเฟอร์นิเจอร์ได้
- หยิบอาหารหรือช้อนส้อมได้ด้วยตัวเอง
- มองเห็นสีได้ชัดเจน
- อยากรู้อยากเห็น อยากรู้ว่าสิ่งต่างๆ มีการทำงานอย่างไร
- เวลาที่รู้สึกกังวลจะแสดงอาการออกมา
- เริ่มมีบุคลิกของตนเอง
- เข้าใจกับความหมายของคำมากขึ้น เช่น คำว่าลาก่อน
- ชอบดนตรี เสียงเพลง และชอบเต้น
- เริ่มที่จะเลียนแบบเสียงสัตว์
- เริ่มที่จะเข้าใจและพูดขอร้องได้
พัฒนาการเด็กวัย 12 เดือน
- ลูกน้อยเริ่มยืนได้มั่นคงขึ้น โดยใช้การยึดเกาะเฟอร์นิเจอร์
- อยากรู้อยากเห็น ชอบหยิบโน่นจับนี่ ค้นหาสิ่งของต่างๆ
- หยิบอาหารหรือช้อนส้อมได้ด้วยตัวเอง
- ลูกจะชอบใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง ช่วงนี้จึงรู้ว่าได้ว่าลูกถนัดข้างไหนมากกว่ากัน
- เป็นวัยที่เด็กเรียนรู้และจดจำ จึงเหมาะกับการเริ่มสอนลูกเรียนรู้เรื่องรูปร่าง และสี
- เข้าใจกับความหมายของคำมากขึ้น เช่น การโบกมือบ๊ายบาย และการส่งจุ๊บ
- ลูกน้อยจะขี้อายเวลาเจอคนแปลกหน้า
- ทารกจะเริ่มหวงของของตัวเอง
- พ่อแม่สามารถเริ่มให้ลูกกินนมกล่องได้แล้ว
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
วิธีฝึกลูกพลิกคว่ำ (Tummy Time) กระตุ้นพัฒนาการที่ดีของทารก
ตารางพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-6 ปี พฤติกรรมและพัฒนาการทารก ตั้งแต่แรกเกิด! ทำอะไรได้มากขึ้นแล้วนะแม่
กิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก – 3 ขวบ จากฮาวาร์ด พ่อแม่ควรเล่นกับลูกอย่างไร