พัฒนาการเด็ก 19 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 19 เดือน เกินขวบปีแรกมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมรับมือกับลูกน้อยในเรื่องอะไรบ้าง รวมถึงวิธีกระตุ้นพัฒนาการของเด็กที่พ่อแม่ควรรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการเด็ก 19 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 19 เดือน คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมว่าลูกรักมีพัฒนาการอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง แล้วอยากรู้ไหมว่าต้องเสริมพัฒนาการลูกอย่างไร ตามไปดูกันเลย

พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ของเด็กวัย 19 เดือน

  • ลูกสามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้ดีแล้ว เดินคล่อง ชอบปีนป่าย วิ่งเล่นอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย บางครั้งก็อาจจะมีหกล้มได้เป็นธรรมดา
  • คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกออกไปเล่นนอกบ้านบ้าง ให้ลูกได้วิ่งในพื้นที่กว้าง ๆ หาลูกบอลให้ลูกได้ออกแรงขว้าง เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหวให้ลูก
  • เด็กในวัยนี้จะใช้เวลานอนประมาณ 12 – 14 ชั่วโมง รวมเวลานอนกลางวันด้วย
  • เริ่มเดินท่าแปลก ๆ เช่น เดินถอยหลัง ก้าวเดินไปด้านข้าง หรือยืนขาเดียว

พัฒนาการเด็ก 19 เดือน

พัฒนาการเด็ก 19 เดือน ทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้

  • เด็กบางคนเริ่มที่จะเอารองเท้าส้นสูงของคุณแม่ หรือเอารองเท้าของคุณพ่อมาลองใส่เดินเล่นแล้ว
  • เรียนรู้การใช้สิ่งของต่าง ๆ อย่างเช่น ใช้ช้อนเพื่อทานข้าว แก้วเอาไว้สำหรับดื่มน้ำ หวีเอาไว้หวีผมตุ๊กตา
  • สามารถเข้าใจ และรู้จักคำศัพท์ที่ใช้เรียกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่คุณพ่อคุณแม่สอน อย่างเช่น หัว ไหล่ พุง เข่า
  • ชอบที่จะทำสิ่งต่าง ๆ เลียนแบบผู้ใหญ่
  • ซุกซน ชอบจับสิ่งของย้ายไปมา ใส่เข้า ดึงออก ลาก ผลัก ไส ดัน ขว้าง ปา สิ่งของรอบ ๆ ตัว

พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 19 เดือน

  • ด้วยความที่เด็กในวัยนี้ยังควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ไม่ดี จึงอาจมีอาการหงุดหงิด โมโห ไม่พอใจ อารมณ์เสียอยู่บ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจ ใช้ความอดทน และยอมยืดหยุ่นกับลูกบ้าง
  • หากลูกทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ควรใช้เหตุผลค่อย ๆ อธิบายให้ลูกเข้าใจ เพื่อไม่ให้ความมั่นใจของลูกถูกบั่นทอนลงเมื่อโดนตำหนิ

พัฒนาการเด็กวัย 19 เดือน

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็กวัย 19 เดือน

  • โดยทั่วไปแล้ว เด็กจะเริ่มพูดเมื่ออายุได้ประมาณ 8 – 24 เดือน ดังนั้นหากช่วงนี้ลูกยังพูดไม่ได้ก็ยังไม่ถือว่าพัฒนาการช้า แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีความกังวลว่าลูกจะผิดปกติก็สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากคุณหมอได้
  • เด็กบางคนยังพูดไม่เป็นภาษา พูดอืออา ในขณะที่อีกหลายคนสามารถพูดได้มากกว่าหนึ่งพยางค์ แต่ยังไม่รู้จักใช้คำเชื่อม เช่น นั่งตัก (นั่งบนตัก) เป็นต้น
  • ชี้และเรียกชื่อสิ่งของต่าง ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่เคยสอน เริ่มพูดตอบมากขึ้น และเริ่มทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้แล้ว

เคล็ดลับเลี้ยงลูกในวัย 19 เดือน

  • ลูกวัยนี้ชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ โดยเฉพาะการเลียนแบบการทำงานบ้าน เขาจะสนุกกับการเข้ามาเป็นผู้ช่วยของคุณแม่ในเวลาที่คุณแม่ทำงานบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการกวาดบ้าน ถูพื้น พับผ้า หรือเวลาทำกับข้าวก็จะคอยมาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งคุณแม่ไม่ควรดุหรือว่าลูกเข้ามายุ่ง แต่ควรใช้โอกาสนี้หัดให้เขาทำอะไรง่าย ๆ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น
  • ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่ชอบคำชื่นชม แต่เด็ก ๆ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อคุณแม่ให้ลูกทำอะไรแล้วลูกทำได้สำเร็จ คุณแม่ควรชม ปรบมือให้ หรือพูดขอบใจ เพื่อให้เด็กเกิดความพึงพอใจ เขาจะยิ้มอย่างร่าเริงเมื่อผู้ใหญ่ชม และนี่จะเป็นแรงเสริมชั้นดี ที่จะทำให้เขากระตือรือร้นที่จะทำตามคำบอกอื่น ๆ ต่อไป

*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการเด็ก 18 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 17 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พ่อลูกอ่อนพร้อมยัง ต้องรู้ไว้นะ เมื่อลูกเข้าสู่วัยเตาะแตะ พ่อต้องเจอกับอะไรบ้าง?

บทความโดย

P.Veerasedtakul