พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร

ดวงตาของทารกใช้เวลานานกว่าหกเดือนในการพัฒนาอย่างพิถีพิถันภายในมดลูก ก่อนที่ดวงตาของลูกน้อยจะมีความพร้อมสำหรับการประมวลผลข้อมูลภาพจากโลกภายนอก อยากรู้ไหมว่า ดวงตาของทารกมีพัฒนาการอย่างไร และคุณแม่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการมองเห็นของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์

ดวงตาของทารก มีพัฒนาการอย่างไรตั้งแต่อยู่ในครรภ์

ดวงตาถูกควบคุมโดยสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อผ่านเซลล์ประสาท เมื่อทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้น ส่วนแรกของระบบการมองเห็นที่เริ่มพัฒนาคือ เส้นประสาทตา เส้นประสาทตานับล้านเส้นจะส่งผ่านข้อมูลจากตาไปยังสมอง และจากสมองไปยังตา

ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ เซลล์จากเนื้อเยื่อสมองที่กำลังพัฒนาจะมารวมตัวกัน เพื่อเริ่มพัฒนาเป็นเส้นประสาทตา 2 เส้น โดยอยู่คนละข้างของศีรษะ ในช่วงเวลาประมาณเดียวกัน เซลล์ชั้นนอกของทารกในครรภ์เริ่มต้นการพัฒนาเป็นเลนส์ตา ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยของคุณโฟกัสสายตาไปยังวัตถุทั้งใกล้และไกล

หนึ่งเดือนต่อมา (ประมาณสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์) ตาจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นและจอประสาทตา (ชั้นของเซลล์ที่ด้านหลังของดวงตา ทำหน้าที่รับและประมวลผลแสง) ได้เริ่มพัฒนาขึ้น

สัปดาห์ที่ 16 เซลล์เหล่านั้นได้เริ่มที่จะรับแสงได้แล้ว แม้ว่าลูกน้อยยังไม่สามารถเปิดเปลือกตาได้ แต่ดวงตาของลูกน้อยก็สามารถเคลื่อนไหวไปทางด้านข้างได้เล็กน้อย เพื่อตอบสนองต่อแสง

เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 26 ในตอนท้ายของไตรมาสที่สอง ตาลูกน้อยกำลังจะพัฒนาเต็มที่แล้ว ลูกน้อยไม่เพียงสามารถรับรู้แสงได้ แต่สามารถเปิดเปลือกตาได้แล้ว ลูกน้อยจะเริ่มลืมตาและกะพริบตาในยามตื่น

ภายในท้องแม่ไม่มีอะไรให้ดูมากนัก แต่ลูกน้อยจะสัมผัสถึงความเคลื่อนไหวของแสงภายนอกร่างกายคุณแม่ ลองส่องไฟฉายไปที่ท้อง เขาจะตอบสนองด้วยการเตะกลับมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านเคล็ดลับช่วยให้ลูกสายตาดีตั้งแต่ในครรภ์ คลิกหน้าต่อไป

นักวิจัยแนะเคล็ดลับช่วยให้ลูกมีพัฒนาการสายตาดีตั้งแต่ในครรภ์

ในอดีตที่ผ่านมานักวิจัยคิดว่าการกินอาหารที่สมดุลระหว่างการตั้งครรภ์ก็เพียงพอต่อพัฒนาการสายตาทารกในครรภ์แล้ว อันที่จริง การศึกษาจำนวนหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่า สารอาหารบางชนิดมีความจำเป็นต่อการพัฒนาของดวงตา โดยเฉพาะวิตามินเอ (ที่พบในผักใบเขียว ผลไม้บางชนิด และผลิตภัณฑ์นม) การกินอาหารที่หลากหลาย และกินวิตามินอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณได้รับสารอาหารเหล่านี้อย่างเพียงพอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์พบอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ นั่นคือ แสงแดด แม้ว่าจะภายในมดลูกจะมืด แต่อนุภาพแสงบางส่วนยังคงทะลุผ่านผิวหนังได้ หากคุณแม่ยืนอยู่กลางแดด จากการทดลองในสัตว์ พบว่า เมื่อแม่หนูที่ตั้งท้องอยู่แต่ในความมืด ลูกๆ ของมันมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาการมองเห็นหลังคลอด ในทำนองเดียวกัน ข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่า คุณแม่ที่อาศัยอยู่ที่ละติจูดเหนือและตั้งครรภ์ในช่วงเดือนที่มืดที่สุดของปี ทารกมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของดวงตาเพิ่มขึ้น

คุณแม่จึงควรออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อรับแสงแดดเป็นประจำระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ต้องมั่นใจว่า ได้ทาครีมกันแดดก่อนออกกลางแจ้ง 15 นาที และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง และควรหลีกเลี่ยงแสงแดดระหว่า 10 โมงเช้าถึงบ่าย 2 ซึ่งเป็นช่วงที่แดดแรงที่สุด

ดวงตาทารกไม่ได้พัฒนาเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่เกิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย การมองเห็นของลูกยังคงต้องพัฒนาต่อไปหลังคลอด ลูกน้อยจำเป็นต้องปรับตัวกับแสงที่สว่างขึ้นและโลกที่วุ่นวายมากขึ้นภายนอกครรภ์ของแม่ ดังนั้น หากลูกน้อยของคุณเกิดมาตาเหล่ หรือดูเหมือนไม่สามารถโฟกัสใบหน้าได้ในตอนแรก คุณแม่ไม่ต้องกังวล หาก 3 เดือนไปแล้วยังไม่หายจึงควรพบคุณหมอค่ะ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ไฟฉายส่องท้องกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็น

แม่จ๋ารู้ไหม!!!ลูบท้องกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์