พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 9 เดือน เรียนรู้ถึงขั้นไหนแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เริ่มเติบโตอย่างเต็มที่ สำหรับ เด็กวัย 9 เดือน มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด เด็กวัย 9 เดือน จะมีการเรียนรู้ถึงขั้นไหน มีวิธีสังเกตและกระตุ้นอย่างไรบ้าง

 

เด็ก 9 เดือน 

ช่วงนี้ลูกจะเคลื่อนไหวไว และคล่องแคล่ว ทั้งการคลาน การยืน รวมถึงการเดินรอบ ๆ และจะมีความอยากรู้อยากเห็นเป็นพิเศษ คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการใช้ของเล่นที่มีสีสด ๆ กระตุ้นด้วยดนตรีหรือร้องเพลง

 

เมื่อลูกเบื่อต้องเปลี่ยนกิจกรรมทันที 

ด้วยวัยนี้จะมีการอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา เพราะเขาพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่ตลอด และหากลูกเริ่มรู้สึกเบื่อกับกิจกรรมที่ทำอยู่ หรือด้วยสภาพแวดล้อม คุณแม่ควรหากิจกรรมใหม่ให้ลูกทันที หรืออาจพาลูกไปเดินเล่นนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ดูแลรักษาฟันเจ้าตัวน้อย 

ฟันซี่แรกของเจ้าตัวน้อยอาจงอกขึ้นมา ฟันของทารกแต่ละคนนั้นขึ้นในช่วงที่แตกต่างกัน และคุณพ่อคุณแม่ก็จำเป็นต้องหมั่นสังเกตอาการของเขาไว้ให้ดี ทุกครั้งที่ไปพบหมอฟันเพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก คุณพ่อคุณแม่ควรพาเจ้าตัวน้อยไปด้วย เพื่อคุณจะได้เป็นตัวอย่างให้เขาเห็นว่าการรักษาสุขภาพช่องปาก/ฟันที่ถูกต้องนั้นทำอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กล้ามเนื้อของลูกน้อย 

ในช่วงวัยนี้คุณแม่อาจต้องเลือกซื้อเสื้อผ้าไซส์ 1 โดยเฉพาะหากลูกมีขนาดรูปร่างใหญ่ ทารกวัยนี้โตขึ้นภายในชั่วช้ามคืนขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตและกักเก็บพลังงานร่างกายไว้คุณพ่อคุณแม่ไม่มีอะไรต้องห่วง หากเจ้าตัวเล็กของคุณยังมีความสุข ร่าเริง และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ดูแลสุขภาพตัวเองด้วย เดือนนี้ยังไม่ต้องฉีดวัคซีนให้เจ้าตัวเล็ก

กล้ามเนื้อมัดเล็ก : เด็กในช่วงวัยนี้จะใช้นิ้วมือได้ เช่น การชี้ การหยิบของ คุณแม่สามารถกระตุ้นด้วยการให้ลูกหยิบอาหารชิ้นเล็ก ๆ เข้าปากเอง  แต่ไม่ควรเป็นอาหารชนิดแข็ง

กล้ามเนื้อมัดใหญ่ : ลูกสามารถลุกนั่งจากที่นอน คลาน เหนี่ยวตัวยืน เกาะยืน คุณแม่สามารถกระตุ้นได้โดยการให้ลูกได้นั่งเล่น คลาน เกาะ ด้วยตัวเอง โดยคุณแม่คอยดูอยู่ใกล้ ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ด้านร่างกายที่สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ 

  • คลานได้คล่องขึ้น
  • เด็กบางคนลุกขึ้นยืนโดยที่ไม่ต้องจับ ยืนได้สักพักแล้วก็จะรู้จักงอเข่านั่งเอง
  • ชอบตบมือ หรือเอาของเล่นมากระทบกัน
  • สามารถต่อบล็อกได้ 2 ชั้น

 

วิธีกระตุ้นการเคลื่อนไหว หรือประสาทสัมผัส 

เด็กวัย 9 เดือน

สามารถกระตุ้นเส้นประสาทที่ฝ่าเท้าของลูกได้อีก  โดยการนำวัตถุที่มีพื้นผิวลักษณะต่างๆ กัน เช่น ก้อนหิน ฟองน้ำ สก็อตไบรท์ ที่สะอาดมาถูที่เท้าทีละข้างของลูก ระหว่างนั้น คุณแม่ก็อย่าลืมชวนลูกคุยไปด้วยนะคะ เช่น  “นี่ฟองน้ำนะจ๊ะลูกเป็นไง นุ่มมั้ย หนูรู้สึกอย่างไรบ้างจ๊ะ”  “อันนี้สก็อตไบรท์นะจ๊ะ หนูชอบไหม จั๊กจี๋หรือเปล่า”

 

การสื่อสาร หรือด้านภาษา 

จะพยายามเลียนเสียงที่ได้ยิน จะเริ่มพูดคำง่าย ๆ เช่น บา มา ดา และจะมีการแสดงท่าทางพร้อมกับเสียง เช่น เมื่อนำของเล่นออกไปจากลูก ลูกจะแสดงอาการร้องไห้ คุณแม่ควรฝึกให้เขาเข้าใจในความหมายของคำ เช่น การขอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ด้านการสื่อสารที่สามารถสังเกตได้ 

  • ลูกอาจพูดคำ 1-2 พยางค์ซ้ำๆ กันได้
  • พูดคำที่มีความหมาย เช่น มะมา ปะปา ได้บ้างแล้ว
  • รับรู้น้ำเสียงว่าแบบไหนคือ แม่กำลังดุ แบบไหนแม่กำลังชม
  • เด็กบางคนอาจฟังเข้าใจในสิ่งที่คนพูดด้วยและสามารถพูดตอบกลับได้ เช่น ไม่ และสามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น มาหาแม่ที หยิบลูกบอลให้หน่อย

 

วิธีกระตุ้นด้านการสื่อสาร 

เด็กวัย 9 เดือน

  • อ่านหนังสือให้ลูกฟัง – อ่านหนังสือ หรือเล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน วันละ 5-10 นาที โดยเฉพาะก่อนนอนหรือหลังมื้อกินนม
  • ชวนลูกชมนกชมไม้ – อุ้มลูกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะใกล้บ้าน หรือสวนในบ้านของเราเอง ชี้ชวนให้ดูสิ่งต่างๆ ที่เห็น บอกเขาว่าสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร เช่น “ดูสิใบไม้สีเขียว” “ก้อนหินลื่นจัง” “ดอกไม้สีเหลือง” ฯลฯ พร้อมให้ลูกได้สัมผัส ได้จับสิ่งต่างที่พูดถึงด้วย เพราะการได้สัมผัสประกอบการเรียนรู้จะทำให้ลูกจดจำได้ดีกว่า
  • ฝึกลูกพูดกัน  –   สอนลูกให้พูดคำง่ายๆ  เช่น ปา-ปา มา-มา   จากนั้นสังเกตและฟังเสียงที่ลูกพูดออกมาว่าใกล้เคียงกับเสียงของคุณแม่มากน้อยแค่ไหน

 

ด้านการมองเห็น 

เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นมาก คุณแม่สามารถกระตุ้นการมองเห็นด้วยการให้มองของเล่นสีสด ๆ หรืออาจจะใช้โมบายแขวนก็ได้ และสีของผนังห้อง รวมไปถึงการจัดมุมเรียนรู้ที่มีหลากสี ก็จะสามารถกระตุ้นการมองเห็นได้เป็นอย่างดีค่ะ

 

theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

ที่มา : (1),(2)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

รวม 7 อาหารเด็ก 1 ขวบ อาหารญี่ปุ่น เพิ่มพัฒนาการ อาหารอร่อยที่ลูกชอบ!

อยากรู้ว่าลูกฉลาดแค่ไหน แม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหัวไว ส่อแววอัจฉริยะ เทคนิคการเลี้ยงลูกให้ฉลาด

เข้าใจช่วงรับรู้ไวและส่งเสริม ให้ลูกมี พัฒนาการด้านภาษา ที่ดีได้อย่างไร

 

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow