พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงไตรมาสสุดท้าย

น้ำหนักของลูกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อวัยวะที่พัฒนาจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เจ้าหนูเตรียมตัวที่จะออกมาจากท้องของคุณแม่แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่มาถึงช่วงสุดท้ายก่อนที่ลูกจะคลอดออกมาแล้วนะคะ อีกไม่กี่อึดใจก็จะได้เห็นหน้าลูกน้อยที่แสดงกายกรรมอยู่ในท้องมาตลอด 40 สัปดาห์ อีกไม่นานเกินรอแล้วละค่ะ

สัปดาห์ที่ 28 : ลืมตาได้แล้ว

ในสัปดาห์นี้เปลือกตาลูกจะเปิดได้แล้ว รวมถึงขนตาที่กำลังจะสร้างขึ้นมา รอยยับบางๆ ตามผิวหนังชั้นนอกก็จะปรากฎให้เห็นบ้างแล้ว ณ ตอนนี้ลูกจะยาวประมาณ 10 นิ้ว หรือ 250 มิลลิเมตร หนัก 1000 กรัม หรือประมาณ 1 กิโลกรัมแล้วละค่ะ

หากคุณแม่คลอดลูกก่อนกำหนดในอาทิตย์นี้ ลูกจะมีเปอร์เซนต์รอดชีวิตถึง 90% โดยปราศจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางกาย ทางประสาท

สัปดาห์ที่ 29 : กระดูกพัฒนาเสร็จสิ้น

ในสัปดาห์นี้กระดูกทั่วทั้งร่างกายของลูกจะพัฒนาขั้นสุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังเป็นกระดูกที่มีความนิ่มและยืดหยุ่นได้ ไม่เหมือนกับกระดูกผู้ใหญ่อย่างเราค่ะ

สัปดาห์ที่ 30 : ดวงตาเปิดได้กว้างขึ้น          

เซลล์เม็ดเลือดแดงจะถูกสร้างขึ้นในไขกระดูก ผมลูกเริ่มยาวและเห็นได้ชัดขึ้น ดวงตาเปิดกว้างขึ้นเต็มที่ ตอนนี้ลูกจะมีตัวที่ยาวถึง 10 นิ้วครึ่ง และหนักประมาณ 1,300 กรัมค่ะ

สัปดาห์ที่ 31 : ระบบประสาทพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ระบบประสาทส่วนกลางพัฒนาจนถึงขั้นที่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายลูกได้ เพื่อปกป้องร่างกายไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป เมื่อเจอกับอุณหภูมิภายนอกน้ำคร่ำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 32 : ลูกเริ่มฝึกการหายใจ

แม้ว่าปอดจะยังพัฒนาไม่เสร็จสมบูรณ์ดี แต่ลูกก็เริ่มที่จะฝึกการหายใจแล้วในสัปดาห์นี้ ร่างกายของลูกจะเริ่มดูดซึมแร่ธาตุ วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น ธาตุเหล็กและแคลเซียมจากผนังลำไส้ ขนบริเวณผิวหนังส่วนต่างๆ จะเริ่มขึ้นมาปกคลุมร่างกายเพื่อปกป้องผิวที่บอบบางจากสิ่งต่างๆ ตอนนี้ลูกจะยาว 11 นิ้ว หรือประมาณ 280 มิลลิเมตร หนัก 1,700 กรัม หรือประมาณ 1.7 กิโลกรัมค่ะ

สัปดาห์ที่ 33 : ดวงตาจะมีปฏิกิริยาต่อแสง

รูม่านตาของลูกจะมีปฏิกิริยาเมื่อแสงเข้ามากระทบ เช่นขยายตัวออก และหดเข้ามา เป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น เพื่อปกป้องดวงตาของเราค่ะ

สัปดาห์ที่ 34 : เล็บยาวขึ้น

เล็บมือจะยาวเต็มที่จนถึงปลายนิ้ว ไขที่อยู่ตามตัวลูกจะขาวขึ้นและหนาขึ้น ช่วยให้คุณแม่คลอดลูกได้ง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ ตอนนี้ลูกยาวถึง 12 นิ้วแล้ว หรือประมาณ 300 มิลลิเมตรแล้วนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 35 : น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วมาก

ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ลูกจะน้ำหนักขึ้นได้เร็วมาก แขนขาจะมีไขมันเข้ามาเติมเต็มให้ดูมีเนื้อมีหนังมากขึ้นค่ะ

สัปดาห์ที่ 36 : ถุงน้ำคร่ำดูเหมือนจะเล็กลงหรือจริงๆ แล้วลูกตัวโตขึ้นเยอะ

พื้นที่แสดงกายกรรมผาดโผนในถุงน้ำคร่ำของลูกจะน้อยลง เนื่องจากน้ำหนักของลูกที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ไม่ต้องตกใจถ้าลูกจะมีการออกแรงที่เยอะกว่าปกติ นั่นเพราะเขาอยากจะออกมาพบหน้าคุณพ่อคุณแม่แล้วละค่ะ

หากคุณแม่มีการนับจำนวนที่ลูกดิ้นมาตลอด ให้สังเกตว่าหากลูกดิ้นน้อยลง ให้รีบไปพบคุณหมอที่ฝากครรภ์หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดค่ะ

สัปดาห์ที่ 37 : คุณแม่สามารถคลอดตอนไหนก็ได้

อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเริ่มที่จะทำงานได้ด้วยตัวเอง และลูกจะมีการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมความพร้อมในการคลอด อย่างหัวของลูกจะลงไปอยู่ที่กระดูกเชิงกรานของคุณแม่แล้วนะคะตอนนี้ แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น ให้รีบปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์เพื่อวางแผนการคลอดและแผนสำรองไว้ด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 38 : มีการพัฒนาของเซลล์ถุงลมในปอด

สมองของลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 400 กรัม และหลังจากที่คลอดแล้ว สมองจะเจริญเติบโตต่อเนื่องต่อไปอีกเรื่อยๆ เล็บเท้ายาวจนสุดปลายนิ้วแล้วละค่ะ รวมไปถึงมีการพัฒนาของเซลลุถุงลมในปอด และจะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 8 ปีเลยค่ะ

สัปดาห์ที่ 39 : รกมีสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้

เด็กผู้ชายจะยังอยู่ในขั้นตอนที่อัณฑะกำลังลงไปในถุงอัณฑะ สารภูมิต้านทานจะถูกสร้างขึ้นในรก เพื่อจัดการกับเชื้อโรคภายนอกหลังจากที่คลอดไปแล้ว คุณแม่ที่ให้นมลูกเองก็จะมีสารภูมิต้านทานนี้ก็จะมีอยู่ในน้ำนมของคุณแม่เช่นเดียวกันค่ะ

สัปดาห์ที่ 40 : วันสำคัญที่สุดในชีวิตของผู้หญิงที่กลายเป็นแม่อย่างสมบูรณ์

วันนี้ลูกจะมีลำตัวที่ยาว 18-20 นิ้ว หรือประมาณ 450-500 มิลลิเมตรค่ะ หนักโดยประมาณคือ 2,900 กรัม หรือเกือบ 3 กิโล เป็นน้ำหนักมาตรฐาน แต่หากลูกคุณแม่มีน้ำหนักที่น้อยหรือมากกว่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่แข็งแรงนะคะ

เมื่อมาถึงสัปดาห์ที่ 40 นี้ คุณแม่สามารถคลอดได้ทุกเมื่อแล้วนะคะ ดังนั้นเตรียมตัวจัดกระเป๋าเตรียมพร้อมไว้ให้ดีๆ เผื่อแผนการเดินทางไว้ด้วย เผื่อปวดท้องคลอดเวลาที่รถบนท้องถนนติดขัด แต่ถ้าเลย 40 สัปดาห์ไปแล้วยังไม่มีวี่แววที่ลูกจะคลอด ให้ปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์เพื่อเร่งคลอดหรือเปลี่ยนเป็นการฝากคลอดแทนนะคะ

ยินดีด้วยนะคะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เทวดานางฟ้าตัวน้อยๆ ได้จุติลงมาปั่นป่วนชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ให้มีสีสันอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อนแล้วนะคะ ถนอมช่วงเวลาแบบนี้ไว้ให้ดีค่ะ แม้ว่าเรื่องอดหลับอดนอนจะเป็นเรื่องปกติมาก แต่มันดำเนินต่อไปไม่นานเลยนะคะ

ต่อไปนี้คุณพ่อคุณแม่จะได้แสดงฝีมือการเลี้ยงลูกแบบจริงจังแล้วล่ะค่ะ

ที่มา mayoclinic

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงไตรมาสแรก

พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงไตรมาสที่ 2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา