ลูกน้อยวัยขวบครึ่ง คุณแม่คงพอจะเห็นแววกันแล้วว่าบุคลิกของเขาเป็นอย่างไร พฤติกรรมเด็ก จะเริ่มมีเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น เด็กบางคนอาจจะมีพฤติกรรมเป็นเด็กที่ค่อนข้างเงียบ หรือซุกซน เด็กแต่ละคน จะความสนใจที่แตกต่างกัน รูปแบบการเรียนรู้ก็ไม่เหมือนกัน บุคลิกภาพก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรเปรียบเทียบลูกเรากับลูกคนอื่น…มาดู พฤติกรรมเด็ก แต่ละด้านของลูกน้อยเดือนนี้กันค่ะ
ทารก และเด็กเล็ก (0 -12 เดือน)
เด็กในช่วงวัยนี้ มือ และเท้า จะเป็นอาหารอันโอชะทีเดียวค่ะ เพราะทุกอย่างจะถูกนำเข้าปากอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยระมัดระวัง และทำความสะอาดมือ และเท้าของลูกน้อย อย่างสม่ำเสมอนะคะ
เด็กเล็กจะรู้จักที่จะร้องไห้ เมื่อเขาต้องการอะไรบ้างอย่าง เช่น หิว หงุดหงิด ไม่สบายตัว เพราะในวัยนี้ยังไม่สามารถพูดสื่อสารได้ ดังนั้นการร้องไห้ จึงเป็นวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับเด็ก
ในช่วงวัยนี้ ผู้ปกครองควรระมัดระวัง ไม่ให้คนแปลกหน้าเข้าใกล้มากนัก เพราะจะทำให้เด็ก เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจกับสิ่งรอบด้านได้เช่นกัน
เด็กทารก มักจะจ้องมองใบหน้า ดังนั้นการมองสบตา กับลูกน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่นะคะ เมื่อเด็กเริ่มตั้งไข่ได้ เด็กจะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมจากทำเพียงแค่จ้องหน้า จ้องตา เด็กจะเริ่มเพ่งมองหนังสือ หรือกระจกเงา อย่างตั้งใจ และเกิดการพินิจพิเคราะห์ตามวัย
พฤติกรรมของลูกน้อย วัย 1 ปี 1 เดือน
ลูกน้อยในวัยนี้เริ่มมีพฤติกรรม และพัฒนาการ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตุเห็นได้บ้างแล้ว เช่น ด้านการเรียนรู้ การเคลื่อนไหว การสื่อสาร ด้านอารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งพัฒนาการเด็กวัย 1 ขวบ 1 เดือนโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอะไรอีกบ้าง และคุณพ่อคุณแม่รับมือได้อย่างไร ตามไปดูกันได้เลย
พัฒนาการเด็กด้านการเรียนรู้
พัฒนาการเด็กวัย 1 ขวบ 1 เดือน นี้มีความสนใจใคร่รู้เป็นทุนเดิม มาเดือนนี้เขายังคงสวมบทนักสำรวจตัวน้อยอย่างแข็งขัน อะไรที่อยู่ในขอบข่ายสายตาของเขาเป็นต้องรื้อ ค้น คว้ามาจับ สัมผัส ชิม กัด เขย่า ดม เรียกว่าทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งครบทุกประสาทสัมผัส
- เริ่มพัฒนาการเดินโดยส่วนใหญ่พัฒนาการเด็กวัยนี้จะเปลี่ยนจากคลานมาเป็นเดินกันแล้ว แต่ก็ยังมีเด็กส่วนหนึ่งที่อาจจะยังไม่สนใจอยากเดิน เพราะคลานเร็วทันใจกว่า ซึ่งคุณแม่ต้องพยายามสร้างแรงจูงใจในการเดินให้ลูกด้วย
- พัฒนาการด้านมือ และตา พัฒนาการเด็กในช่วงนี้มีการทำงานประสานกันระหว่างมือและตาเป็นไปด้วยดี สังเกตได้จากการที่ลูกสามารถต่อบล็อกไม้ซ้อนกันได้ถึงสองชั้น หยิบของเล่นชิ้นเล็ก ๆ ใส่เข้าหยิบออกจากกล่องได้ อย่างไรก็ตามทักษะเหล่านี้จะยิ่งดีขึ้นถ้าได้รับโอกาสฝึกฝนบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นของเล่นเสริมพัฒนาการประเภทหยอดรูปทรงลงช่อง หรือจะเป็นภาชนะ เช่น ช้อน ชาม แก้วที่ไม่แตก หม้อ ถังใบเล็ก ๆ กระดาษกับสีเทียนแท่งโต เป็นอุปกรณ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี ที่คุณแม่สามารถจัดหามาให้ลูกเล่นได้
พัฒนาการเด็ก ด้านการสื่อสาร
- เข้าใจคำพูดมากขึ้น ลูกวัยนี้เข้าใจและรับรู้คำ และความหมายของคำมากขึ้น เพียงแต่ยังไม่สามารถพูด หรือแสดงออกมาได้ทั้งหมด โดยพัฒนาการส่วนใหญ่เด็กจะสื่อสารหรือแสดงออกผ่านสีหน้า ท่าทาง สุ้มเสียง มากกว่า เช่น พยักหน้า หัวเราะ ยิ้ม มากกว่าคำพูด
- สื่อสารด้วยคำพูดง่าย ๆ คำที่เรามักได้ยินลูกพูดบ่อย ๆ เช่น หม่ำ ๆ น้ำ ไป ๆ มา ๆ ไม่ ๆ ซึ่งเป็นคำที่ลูกเข้าใจความหมาย และพอจะสื่อสารเป็นภาษาได้บ้างแล้วพัฒนาการเด็ก ด้านอารมณ์และความรู้สึก
- มีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น มีวิธีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงเอะอะ เรียกร้องความสนใจ หรือโยนสิ่งของซ้ำ ๆ เพื่อให้มีคนมาเก็บให้ หรือใช้นิ้วชี้ไปยังสิ่งของที่ต้องการให้คุณแม่หยิบให้
- ยังมีอาการกลัวคนแปลกหน้าอยู่ เมื่อพบก็จะกอดแม่แน่นแต่ก็ยังมีแอบชำเลืองมองด้วยหางตาในลักษณะระวังตัวอยู่ ต่อเมื่อเริ่มรู้สึกปลอดโปร่งใจมากขึ้นจึงค่อยคลายมือที่กอดมาเป็นเกาะเกี่ยว หรืออยู่ใกล้ ๆ แทน กระทั่งแน่ใจว่าแม่ไม่ไปไหน และคนแปลกหน้านั้นไม่เป็นภัยกับตน ลูกอาจจะยอมผูกมิตรกับคนแปลกหน้าได้
- ลูกยังกลัวต่อวัตถุสิ่งของ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น กลัวเสียงเอะอะโวยวาย กลัวการอาบน้ำ กลัวความมืด กลัวสัตว์ เป็นต้น ความกลัวเป็นผลจากความสามารถในการจินตนาการของลูก ที่คุณแม่ต้องค่อย ๆ ปลอบประโลมใจ และค่อย ๆ คลายความรู้สึกกลัวนั้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อดทน และใจเย็น
- การเล่นกับเด็กด้วยกัน จะเป็นลักษณะเล่นอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กันมากกว่าเล่นด้วยกัน เรียกว่า แอบสังเกตกันและกัน และดูเหมือนว่า ของเล่นของคนอื่นจะน่าเล่นกว่าของตัวเอง จนบางครั้งอดใจไม่ไหวคว้าของเล่นเพื่อนมาเป็นของตัวเอง ซึ่งคุณแม่ต้องคอยดูให้ดี ๆ ด้วยเหมือนกัน
- เลียนแบบพี่ถ้ามีพี่ จะชอบเลียนแบบพี่ และป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ ๆ และพยายามเล่นตามอย่าง ซึ่งคุณแม่ต้องคอยดูเรื่องความปลอดภัยด้วยเช่นกันช่วงวัยนี้ ลูกมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ บ่อย ถ้าถูกขัดใจจะโมโหและร้องไห้
- ลูกแสดงความเป็นตัวเองมากขึ้น พัฒนาการเด็กในวัยนี้จะแสดงความเป็นตัวเองมากขึ้นกว่าเดิมด้วยการปฏิเสธด้วยการส่ายหัว ไม่เอาท่าเดียว ฉะนั้นหากจะห้ามปรามให้คุณแม่เลือกห้ามเฉพาะที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับเขา ด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น แต่ถ้าบางอย่างดูแล้วว่าไม่เป็นไรอาจปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระ และเรียนรู้ด้วยตัวเองดีกว่า
ที่มา : meadjohnsonni.com , enfababy.com , heysigmund.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :