ฝึกลูกดูดนม ป้องกันการสำลัก ให้ลูกดูดนมอย่างไรถึงจะถูกวิธี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่มือใหม่ควร ฝึกลูกดูดนม เพื่อให้ไม่เกิดอาการเจ็บเต้า และป้องกันการสำลัก ให้ลูกดูดอย่างไรถึงถูกวิธี เรามาดูวิธีการ ฝึกลูกดูดนม กันค่ะ

 

 

การหลั่งน้ำนมเกิดขึ้นได้อย่างไร 

ระดับฮอร์โมนที่ช่วยสร้างน้ำนมจะมีปริมาณสูงมากจากการกระตุ้นเต้านม เช่นลูกดูดนมแม่ การบีบน้ำนมออกจากเต้าด้วยมือ หรือการใช้เครื่องปั๊มนม ซึ่งฮอร์โมนนี้จะถูกสร้างในช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน ดังนั้นการให้ลูกดูดนมเวลากลางคืน จะทำให้มีการสร้างน้ำนมได้มากเป็นพิเศษ ทำให้เร่งการสร้างน้ำนมได้ดี

หากให้ลูกดูดนมไม่บ่อยเต้านมจะสร้างน้ำนมได้น้อย แต่ถ้าลูกดูดนมบ่อยเต้านมก็จะสร้างน้ำนมได้มาก เพราะระดับของฮอร์โมนที่ช่วยสร้างน้ำนมจะมีมากสูงสุด ขณะลูกดูดนมจนถึงภายหลังลูกหยุดดูดนมประมาณ 30 นาที จากนั้นระดับฮอร์โมนจะค่อยๆ ลดต่ำลงจนคงที่โดยเฉลี่ยภายใน 3 ชั่วโมง การให้ลูกดูดนมบ่อยและสม่ำเสมอ จึงทำให้ระดับฮอร์โมนสูงตลอดเวลา มีผลทำให้เต้านมมีการสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

ส่วนการไหลของน้ำนมออกจากเต้านมนั้น ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นและการยับยั้งโดยประสาทสัมผัสทั้งห้า อาจกล่าวได้ว่า ผลกระทบที่ทำให้แม่ไม่สบายกายและไม่สบายใจ จะส่งผลต่อการไหลของน้ำนมออกจากเต้าได้ไม่ดีเท่าที่ควร มีผลทำให้ลูกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ดังนั้นขณะที่ลูกดูดนมแม่ควรผ่อนคลายให้มากที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ประโยชน์ของนมแม่ 

ฝึกลูกดูดนม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เป็นทุนสมองของลูก น้ำนมแม่มีคุณค่าทางอาหารต่อสมองลูกสำหรับ 6 เดือนแรกของลูก
  • ดีที่สุดสำหรับสุขภาพลูกช่วยลดความเสี่ยงโรคทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ หูอักเสบ ภูมิแพ้และเบาหวานในเด็ก
  • สะดวกพร้อมดื่มทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องอุ่น
  • ประหยัดไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลบ่อยๆ เพราะเด็กที่ดื่มนมแม่จะมีโอกาสป่วยน้อยกว่าและมีภูมิคุ้มกันต่อเนื่อง
  • นมแม่ทำให้เด็กฉลาดจากการวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่าเด็กที่ดื่มนมแม่มีไอคิวสูงกว่าเด็กอื่น 2 จุด
  • นมแม่ช่วยให้ลูกน้อยไม่อ้วนทารกที่ดื่มนมแม่จะมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนน้อยกว่า
  • นมแม่ช่วยลดน้ำหนักแม่คุณแม่ที่ให้ลูกดื่มนมแม่จะช่วยลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น เพราะต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 500 แคลอรี่ต่อวัน
  • คุณแม่มือใหม่ บีบ เก็บตุน น้ำนมแม่ได้ไม่ยากอย่างที่คิด ถึงแม้จะติดธุระหรืออกไปทำงานนอกบ้านนานๆ คุณแม่ก็สามารถให้นมลูกได้ด้วยวิธีการง่ายๆคือ การบีบ เก็บ ตุน น้ำนมเอาไว้ให้ลูกยามที่คุณแม่ไม่อยู่บ้าน

 

วิธีฝึกลูกดูดนม

ฝึกลูกดูดนม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • หลังคลอดให้ลูกดูดนมแม่เร็วที่สุด 

คุณแม่ควรเริ่มให้ลูกดูดนมแม่โดยเร็วที่สุดหลังคลอดทันทีหรือภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์แห่งความรัก ความผูกพัน และความอบอุ่นที่ลูกน้อยรับรู้ได้ทันที ลูกจะคุ้นเคยกับการดูดนมและแม่จะเข้าใจและเรียนรู้ความต้องการของลูก

 

  • รู้วิธีการให้นมที่ถูกต้อง 

คือ คุณแม่ต้องตะแคงตัวลูกเข้าหาตัวแม่แล้วอุ้มให้กระชับอก โดยให้ศีรษะและลำตัวลูกอยู่แนวเดียวกัน แล้วประคองศีรษะลูกให้อมหัวนมและลานนมให้ลึก เมื่อเหงือกลูกกดบนลานนมที่มีกระเปาะน้ำนมภายใน ลิ้นจะอยู่ใต้ลานนมและรีดน้ำนมออกมาโดยที่ริมฝีปากไม่เม้มเข้า ขณะดูดจะเป็นจังหวะและมีเสียงเบา ๆ ขณะกลืนน้ำนม

ส่วนการคงสภาพของการหลั่งน้ำนมแม้ว่าแม่กับลูกต้องแยกจากกันควรต้องให้คุณแม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการบีบน้ำนมและกระตุ้นให้เก็บน้ำนมในความถี่ที่เหมาะสมอย่างน้อย 8 ครั้งต่อวัน และมีปริมาณน้ำนมที่ชัดเจน โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกควรต้องได้ปริมาณน้ำนมมากกว่า 500 มิลลิลิตรต่อวัน นอกจากนี้ควรมีการบันทึกปริมาณน้ำนมในช่วง 14 วันแรก เพื่อประเมินความพอเพียงของน้ำนม

 

  • ทารกต้องกินนมแม่เท่านั้น

ทารกต้องได้รับแต่นมแม่เท่านั้นตลอด 6 เดือน ห้ามให้น้ำ อาหาร หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เนื่องจากสมองของเจ้าตัวเล็กเติบโตเร็วมากในขณะที่กระเพาะอาหารมีขนาดเล็ก หากให้น้ำหรืออาหารลูกจะดูดนมแม่น้อยลง การให้นมแม่อย่างเดียวถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักและมีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน

 

  • คุณแม่ควรอยู่กับลูก 24 ชั่วโมง 

หลังคลอดแม่กับลูกควรอยู่ด้วยกันตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยแม่ควรอุ้มทารกแนบอก เพราะลูกน้อยกำลังตื่นตัวกับสิ่งรอบข้าง หากทารกได้รับความอบอุ่นจะช่วยให้สามารถดูดนมแม่ได้ตั้งแต่ชั่วโมงแรก ๆ นอกจากทำให้คุ้นชินยังช่วยถนอมหัวนมคุณแม่ได้ด้วย ช่วยเสริมสร้างการให้นมแม่ในระยะยาว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ให้ลูกดูดนมได้บ่อยตามต้องการ

ลูกควรได้ดูดนมแม่บ่อยเท่าที่ต้องการ เพราะจะได้รับสารอาหารครบถ้วน มีความชำนาญในการดูดนม ป้องกันการคัดตึงของเต้านมแม่ และช่วยกระตุ้นให้ร่างกายแม่ผลิตปริมาณน้ำนมได้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้นด้วย หลังคลอดลูกควรอยู่ร่วมห้องเดียวกับแม่เพื่อให้ได้น้ำนมเพียงพอ โดยระยะการให้นมระหว่างมื้อไม่ควรเกิน 3 ชั่วโมง หากคุณแม่อ่อนเพลียสามารถนอนท่าตะแคงแล้วให้พยาบาลเอาลูกเข้าเต้าดูดนมแบบที่ถูกต้องเพื่อจะได้นอนหลับพักผ่อน

 

  • ไม่ควรใช้หัวนมยาง หรือ หัวนมปลอม 

การให้ลูกน้อยดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอมอาจทำให้เกิดความสับสนระหว่างการดูดนมแม่กับการดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอม เพราะวิธีการดูดมีความแตกต่างกัน การดูดนมแม่ลูกต้องใช้ลิ้นและขยับกรามเพื่อรีดน้ำนมจากกระเปาะน้ำนม แต่การดูดหัวนมยางลูกไม่ต้องออกแรงเพราะน้ำนมไหลผ่านหัวนมยางได้ทันที ส่งผลให้ลูกไม่คุ้นเคยกับการดูดนมแม่และปฏิเสธนมจากเต้าของแม่ได้ในที่สุด

 

  • เข้าอบรมการให้นมลูกอย่างถูกวิธี 

การให้นมแม่อย่างถูกวิธีมีความสำคัญมากเพราะฉะนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนคลอด เลือกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และอยู่ภายใต้การดูแลของคลินิกนมแม่ที่มีการสอนและจัดอบรมการให้นมแม่ที่ถูกต้อง ตั้งแต่การให้นม การบีบนม การปั๊มนม การเก็บนม พร้อมดูแลตั้งแต่ก่อนคลอดขณะคลอดและหลังคลอด โดยมีพยาบาลนมแม่ทำงานร่วมกับทีมสูติ-นรีแพทย์ กุมารเวชศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด (NICU) นักโภชนาการ นักกายภาพ ย่อมช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกน้อยได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ

 

  • วางแผนการให้นมลูก

เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงานควรวางแผนให้ดีในการให้นมลูก โดยองค์กรอนามัยโลกแนะนำให้ 6 เดือนแรกควรให้นมแม่อย่างเดียว ต่อมาควรให้นมแม่ร่วมกับอาการเสริมอีก 2 ปีหรือมากกว่า โดยคุณแม่ต้องมีความรู้เรื่องการปั๊มนมและเก็บนมอย่างถูกต้อง ในระหว่างวันทำงานช่วงพักสามารถปั๊มนมเก็บไว้ได้ โดยศึกษาวิธีการและเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ที่สำคัญควรให้ลูกดูดนมจากเต้าก่อนไปทำงาน หลังกลับจากที่ทำงาน ตอนกลางคืนและวันหยุดควรเอาลูกเข้าเต้าทุกครั้ง เพราะการที่ลูกดูดนมแม่จากเต้าช่วยสร้างน้ำนมได้มากกว่าการใช้เครื่องปั๊มนมลูกจะได้กินนมแม่ได้นานที่สุด

 

ท่าให้นมลูกที่ถูกวิธี

ฝึกลูกดูดนม

 

  • ท่านอนขวางบนตัก

ทำได้โดยนั่งลงบนเก้าอี้ที่มีเท้าแขนหรือเตียงที่มีหมอนหนุนหลัง วางเท้าบนม้านั่งเพื่อไม่ให้ตัวโน้มลงไปข้างหน้าตามแรงดูดนมของลูก จากนั้นอุ้มลูกน้อยวางบนตักและจับให้ลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวคุณแม่โดยประคองศีรษะเด็กไว้ในอ้อมแขนข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูด ใช้มือและแขนประคองตัวลูกไว้แล้วใช้มืออีกข้างประคองเต้านมให้ตรงกับปากของเด็ก แต่ท่านี้อาจไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด เพราะการอุ้มลูกในท่านี้อาจกดทับแผลผ่าคลอดทำให้รู้สึกเจ็บได้

 

  • ท่านอนขวางบนตักแบบประยุกต์

เหมาะสำหรับทารกที่มีปัญหาการเข้าเต้าซึ่งจะแตกต่างจากท่าให้นมลูกแบบนอนขวางบนตักที่การวางมือ โดยท่านี้จะใช้มือและแขนข้างตรงข้ามกับเต้านมที่ลูกดูดประคองตัวลูกไว้แล้วค่อย ๆ จับตัวลูกหันตะแคงเข้าหาตัวคุณแม่ จากนั้นจึงใช้มือประคองจับที่ต้นคอและท้ายทอยของลูกน้อย และใช้มืออีกข้างประคองเต้านมให้ปากของลูกอยู่ตรงกับหัวนมของคุณแม่พอดี

 

  • ท่าอุ้มลูกฟุตบอล

เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด คุณแม่ที่มีหน้าอกใหญ่หรือมีหัวนมแบน และทารกที่ตัวเล็กหรือมีปัญหาในการเข้าเต้า ซึ่งทำได้โดยอุ้มลูกไว้แนบลำตัวข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูด ให้จมูกของเด็กอยู่ในระดับเดียวกับหัวนม และให้ขาของเด็กชี้ไปทางด้านหลังของคุณแม่ คุณแม่อาจใช้หมอนรองแขนด้วยในขณะใช้มือและแขนประคองศีรษะและลำตัวของลูกน้อย

 

  • ท่านอนตะแคงข้าง

เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด คุณแม่ที่ประสบปัญหาการนั่งลำบากหลังคลอด และคุณแม่ที่ต้องการให้นมลูกในตอนกลางคืน ทำได้โดยนอนตะแคงแล้วใช้หมอนรองศีรษะ ไหล่ และใต้หัวเข่าเพื่อให้หลังและสะโพกตรงเป็นแนวเดียวกัน จากนั้นจับลูกน้อยให้นอนตะแคงหันหน้าเข้าหาคุณแม่ แล้วใช้มือด้านล่างประคองตัวและศีรษะของลูกให้ชิดกับลำตัวของคุณแม่ ซึ่งอาจใช้ผ้าหรือหมอนรองศีรษะเจ้าตัวเล็กเอาไว้และใช้มืออีกข้างประคองเต้านมเพื่อให้ลูกสามารถดูดนมแม่ได้ถนัดขึ้น

 

  • ท่าให้นมลูกแฝด

การให้นมลูกแฝดพร้อมกันถึง 2 คนอาจเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับคุณแม่และอาจทำให้เกิดความกังวลได้ไม่น้อย ดังนั้น คุณแม่อาจลองให้นมลูกทีละคนสลับกันไปโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เมื่อคล่องแล้วจึงให้นมลูกแฝดพร้อมกันด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

  • ท่าให้นมลูกแฝดแบบนอนขวางตัก

คล้ายกับการให้นมลูกแบบนอนขวางตัก โดยคุณแม่อาจใช้หมอนรองให้นมเพื่อรองลูกน้อยทั้ง 2 คน แล้วประคองลูกให้อยู่ในวงแขนแต่ละข้าง โดยให้ขาของลูกไขว้กันบนตักของคุณแม่
ท่าให้นมลูกแฝดแบบอุ้มลูกฟุตบอล ทำได้โดยใช้หมอนรองให้นมเพื่อรองเจ้าตัวเล็ก จากนั้นอุ้มลูกน้อยทั้ง 2 คนให้แนบลำตัวด้านข้างของคุณแม่ทั้ง 2 ข้าง หรืออาจประคองลูกคนหนึ่งด้วยท่าให้นมแบบนอนขวางตักแล้วประคองลูกอีกคนด้วยท่าให้นมแบบอุ้มลูกฟุตบอลก็ได้

ขณะให้นมลูก คุณแม่ควรปล่อยตัวตามสบายเพื่อช่วยเพิ่มน้ำนมและทำให้น้ำนมไหลออกมามากขึ้น รวมทั้งอาจใช้หมอนรองศีรษะ ต้นคอ แขน และขาเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อย หากคุณแม่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการให้นมลูก ควรขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น พยาบาลด้านแม่และเด็ก ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมบุตร หรือคลินิกนมแม่ที่น่าเชื่อถือและได้รับการรับรอง

 

ท่านวดกระตุ้นน้ำนม

  • ใช้นิ้วหัวแม่มือขวาวางลงขอบนอกของลานหัวนมด้านบน นิ้วชี้วางด้านตรงข้าม กดนิ้วเข้าหากันพร้อมกับคลึงไปมา อย่างนุ่มนวล
  • ใช้มือขวาประคองโอบด้านล่างของเต้าไว้ในอุ้งมือ ใช้นิ้วชี้ข้างซ้าย กดและหมุนวนไปโดยรอบลานหัวนม
  • ใช้นิ้วหัวแม่มือขวา วางลงขอบนอกของลานหัวนมด้านบน นิ้วชี้วางด้านตรงข้าม เป็นรูปตัว C ออกแรงกดนิ้วเข้าหากัน ในลักษณะบีบ-คลาย สลับกัน เป็นการบีบน้ำนมในขั้นตอนสุดท้าย
  • ใช้เฉพาะนิ้วชี้ ทั้งมือซ้ายและขวา วางนิ้วให้นาบลงที่ขอบลานหัวนมทั้งสองข้าง ปลายนิ้วชี้ลงพื้น ออกแรงกดข้างนิ้วทั้งสองเข้าหากันในลักษณะบีบ-คลาย สลับกัน

 

ที่มา :

https://www.pobpad.com/

https://www.bangkokhospital.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 13 อุ้มลูกอย่างไร

ทำอย่างไร เมื่อคัดเต้านม

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow