ผ่าคลอดไม่มีน้ำนม แก้ด้วยวิธีนี้ ปัญหาแม่ไม่มีน้ำนมให้ลูกทำไงดี?
ปัญหาน้ำนมเป็นปัญหาใหญ่ของคุณแม่หลาย ๆ คนเป็นอย่างมาก เพราะเจ้าน้ำนมของแม่นั้น มีความสำคัญกับลูกน้อยของเราเสมอ เพราะด้วยสารอาหารในนมแม่ จะเสริมสร้างสิ่งต่าง ๆ ให้ลูกแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งการให้นมจากเต้ายังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกอีกด้วย วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำการแก้ปัญหาเมื่อ ผ่าคลอดไม่มีน้ำนม มาฝากคุณแม่ ๆ กันค่ะ
การผ่าคลอดนั้นทำให้เหล่าคุณแม่ไม่มีน้ำนมจริงหรือไม่?
ผ่าคลอดทำให้ไม่มีนำ้นม ไม่เป็นความจริง เพราะมนุษย์แม่ทุกคนถูกสร้างให้มีน้ำนมสำหรับลูกน้อยอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอาจจะมีบางกรณีที่ทำให้ไม่สามารถให้นมลูกได้ ตัวอย่างเช่น คุณแม่ที่มีปัญหาหัวนมบอดขั้นรุนแรงและส่งผลให้ไม่สามารถให้นมลูกได้ แต่วิธีการคลอดนั้นไม่ได้ส่งผลต่อการให้นมแต่อย่างใด
แล้วทำไมการผ่าคลอด น้ำนมถึงมีน้อย?
ที่จริงแล้ว การที่คุณแม่ผ่าคลอดมีน้ำนมให้ลูกน้อยนั้นเกิดจากการที่ช่วงที่คุณแม่ทำการผ่าตัดนั้น มีการอดน้ำ อดอาหารเพื่อเข้ารับการผ่าคลอด ทำให้ร่างกายไม่มีสารอาหารเพียงพอที่จะนำไปผลิตนม แต่ในส่วนของคุณแม่ที่คลอดธรรมชาตินั้นไม่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนที่จะคลอด ทำให้ร่างกายสามารถสร้างน้ำนมจากสารอาหารนั้น ๆ และทำให้คุณแม่ที่คลอดธรรมชาติมีน้ำนมเยอะกว่านั่นเอง
วิธีแก้ปัญหา ผ่าคลอดไม่มีน้ำนม
1. เริ่มให้ลูกดูดเร็ว : หากเป็นไปได้ควรให้ลูกเริ่มดูดนมเร็ว หรือภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด โดยข้อดีของการให้ลูกดูดนมแม่เร็วที่สุดนั้นก็เพื่อ กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนโปรแลกติน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ทำให้น้ำนมของคุณแม่มาเร็ว และ กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมหลั่งออกจากท่อน้ำนม กระตุ้นให้มดลูกหดตัวทำให้ลดการตกเลือด อีกทั้งยังช่วยขับน้ำคาวปลา และทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วอีกด้วย
2.ให้ลูกดูดบ่อย : คุณแม่ควรให้ลูกได้ดูดนมบ่อย ๆ ในช่วงแรก หรือประมาณวันละ 8 ครั้งขึ้นไป แต่ในช่วง 1 – 2 วันแรกนั้นลูกอาจจะยังง่วงอยู่ หากว่าลูกหลับและปลุกไม่ค่อยตื่นก็อาจจะต้องรอสักครึ่งชั่วโมงแล้วค่อยปลุกใหม่อีกครั้ง ยิ่งลูกตื่นตัวดีก็จะยิ่งทำให้เขาดูดนมได้ดี นอกจากนั้นในช่วงที่ลูกไม่ได้ดูดนม คุณแม่ควรบีบน้ำนมออกบ่อยๆเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมด้วยนะครับ
3.ให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี : คุณแม่ควรให้ลูกอบงับลานนมให้ลึกพอ และควรให้ลูกดูดจนเกลี้ยงเต้า หากคุณแม่ไม่มั่นใจว่าจัดท่าให้นมลูกได้ถูกต้องหรือไม่ ให้สังเกตง่าย ๆ ดังนี้
- ลูกอมงับลานนมด้านล่างได้มากกว่าด้านบน ซึ่งจะสังเกตได้ว่ายังมองเห็นลานนมด้านบน ในขณะที่ลานนมด้านล่างถูกปากลูกอมจนมิดหรือเกือบมิด
- ปากลูกอ้ากว้างแนบสนิทกับเต้านมแม่
- ริมฝีปากล่างบานออกเหมือนปากปลา
อาหารเพิ่มน้ำนมเมื่อ ผ่าคลอดไม่มีน้ำนม
- มะรุมบำรุงน้ำนม – ใบและดอกของมะรุม มีวิตามินซีสูง วิตามินเอสูง โพแทสเซียมสูง โปรตีนสูง ที่ช่วยในการขับน้ำนม
- ตำลึงบำรุงน้ำนม – มีเส้นใยอาหารในปริมาณมากช่วยบำรุงนํ้านมคุณแม่สุด ๆ ในผักตำลึงที่มีโปรตีน มีวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี แคลเซียม และเหล็ก ยังช่วยบำรุงเลือด กระดูก สายตา ผม และประสาท
- หัวปลีบำรุงน้ำนม – มีธาตุเหล็กมาก ช่วยกระตุ้นน้ำนมได้ดี และ ยังมีแคลเซียมสูง มีโปรตีน ฟอสฟอรัสส และสารอื่น ๆ เช่น วิตามินอี เบตาแคโรทีน ที่ยังช่วยป้องกันโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้ บำรุงเลือด
- ใบกะเพราบำรุงน้ำนม – มีแคลเซียม ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูง ความร้อนจากใบกะเพราช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมให้กับคุณแม่หลังคลอดได้
- มะละกอบำรุงน้ำนม – มะละกอเป็นผลไม้ที่มีธาตุเหล็ก และแคลเซียมสูง ช่วยขับน้ำนม บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและสายตา
- ขิงบำรุงน้ำนม – ขิง มีคุณค่าทางอาหารที่อุดมไปด้วย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 คาร์โบไฮเดรต มีสรรพคุณคือช่วยขับลม แก้อาเจียน ช่วยย่อยไขมัน เพิ่มการไหลเวียนเลือดได้เป็นอย่างดีและทำให้น้ำนมแม่ไหลดี
- กุยช่ายบำรุงน้ำนม – ทั้งใบและต้นสดของกุยช่าย มีคุณค่าทางสารอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต แบต้าแคโรทีน และวิตามินซี สรรพคุณของใบกุยช่าย คือจะช่วยเพิ่มน้ำนม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม
- อินทผลัมบำรุงน้ำนม – ช่วยเพิ่มสารอาหารสำคัญในน้ำนมแม่ เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะมีวิตามินมากมาย
Source : 1
ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่สายโซเชียล ชอบเล่น Facebook หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
มาร่วม join กรุ๊ป เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ ใน คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club) กันได้นะคะ
เคลียร์ทุกข้อสงสัย เจาะลึกทุกประเด็นของคุณแม่ผ่าคลอด
ค้นหาคำตอบกันได้ที่ “คลับแม่ผ่าคลอด” คลิก!! https://bit.ly/32T4NsU
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
9 ผลไม้แม่ลูกอ่อน ผลไม้เรียกน้ำนม ผลไม้บำรุงน้ำนม ของกินสำหรับแม่ลูกอ่อน
น้ำนมแม่ที่ปั๊มมาแล้วเก็บได้กี่ ชม เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ให้นมต้องรู้
Over Feeding กินนมเยอะเกินไป นำ้นมเยอะเกินไป น้ำนมน้อยเกินไป แบบไหนอันตราย?