ผุดแนวทางดูแล แม่ท้องติดเชื้อซิกา ยันลูกหัวเล็กเป็นได้แค่บางราย

สธ.คลอดแนวทางดูแล แม่ท้องติดเชื้อซิกา ชี้ยุติตั้งครรภ์ต้องอิงเงื่อนไขแพทยสภา เพราะแม่ติดเชื้อไวรัสซิกาแล้วลูกหัวเล็ก ไม่ได้เป็นทุกคน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในวันนี้มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่สงสัยติดเชื้อไวรัสซิกา ร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ผู้แทนสูตินรีแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลต่างๆ และผู้เชี่ยวชาญกุมารแพทย์ เพื่อพิจารณาหาแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา โดยมีรศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ เป็นประธาน

 

หัวเล็กในเด็ก กลุ่มอาการใหม่ เจอในไทยก่อนประเทศอื่น

รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี เปิดเผยว่า ไทยตรวจพบเด็กหัวเล็กก่อนประเทศอื่นๆ ในเอเชีย จึงต้องดำเนินการหาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม จะเห็นได้ว่า ในเอเชียยังไม่มีการวางแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์กรณีดูแลหญิงตั้งครรภ์ และเด็กในครรภ์ที่เกี่ยวข้องกับซิกาโดยเฉพาะ และแม้ซิกาจะเป็นเชื้อเก่าเจอมา 60 ปีแล้ว แต่กลุ่มอาการหัวเล็กในเด็กเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งไทยตรวจพบซิกามาหลายปีแล้ว แต่เพิ่งเด็กศีรษะเล็กจากซิกา 2 ราย

 

พบแม่ท้องติดเชื้อ 39 ราย มี 16 รายแสดงอาการ

ทางสำนักระบาดวิทยา มีการเฝ้าระวังและตรวจเชื้อจนพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 39 ราย มี 16 รายแสดงอาการ ที่เหลืออีก 23 ราย ไม่แสดงอาการ แต่มี 9 รายคลอดทารกปกติ จึงไม่ใช่ว่าจะคลอดออกมาแล้วผิดปกติทุกคน แต่เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันจึงออกแนวปฏิบัติ ให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นไกด์ไลน์ในการวินิจฉัยหญิงตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เฝ้าระวังแม่ท้องติดไวรัสซิกา

ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ฯ เพิ่มเติมว่า การระบาดของซิกาอาจส่งผลต่อเด็กทารกให้พิการทางสมอง โดยพบว่า เด็กหัวเล็กกว่าปกติมีผลต่อการพัฒนา และมีหินปูนไปจับสมอง อาจจะพบด้วยกัน ซึ่งเกิดจากไวรัสไปทำลายปฏิกิริยาทางสมอง ทั้งนี้ ได้เพิ่มความรัดกุมด้วยการแบ่งหญิงตั้งครรภ์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่มีอาการจากการติดเชื้อไวรัสซิกา คือ มีไข้ มีผื่น ปวดข้อ ตาอักเสบ เมื่อมีอาการก็ต้องรีบตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ รวมทั้งต้องมีการทำอัลตราซาวด์ 18-20 สัปดาห์ และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดทุกเดือน หากพบความผิดปกติสมองเล็ก ซึ่งมีเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในแต่ละอายุครรภ์ จะส่งให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลต่อไป 2.กลุ่มที่ไม่มีอาการ จะทำอัลตราซาวด์ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกที่อายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ และทำครั้งที่ 2 ช่วงอายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์ เพื่อดูภาพว่ามีความผิดปกติของศีรษะอย่างไร และดูว่ามีหินปูนจับหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ยุติตั้งครรภ์ต้องดูข้อบังคับแพทยสภา

เพราะแม่ท้องที่ติดเชื้อ ไม่ใช่ว่าลูกทุกคนจะมีปัญหาหัวเล็ก ศ.นพ.ภิเศก ยืนยันว่า คนที่ติดเชื้อไวรัสทุกคน ไม่ได้แปลว่าทารกจะมีความผิดปกติ จึงต้องพิสูจน์ด้วยการอัลตราซาวด์ดูหัวเด็กอย่างต่อเนื่อง หากจะมีการยุติการตั้งครรภ์ต้องมีเกณฑ์ตามกฎหมาย เช่น ทารกพิการ มีผลต่อสุขภาพมารดา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านข่าวเพิ่มเติม คลอดแล้ว! แนวทางดูแล-ยุติตั้งครรภ์ ‘หญิงท้องติดเชื้อซิกา-เด็กหัวลีบ’ ครั้งแรกเอเชีย

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สธ.ยืนยันแล้ว เด็กหัวเล็ก 2 ราย เกิดจากแม่ท้องติดเชื้อซิกา

ผลวิจัยเผย ไวรัสซิกาทำลายสมองของแม่ได้เช่นกัน

บทความโดย

Tulya