เนื่องจากไม่มีมาตรฐานน้ำหนักในการตั้งครรภ์ ทางผู้เชียงชาญจึงแนะนำให้คุณแม่ที่กำลังจะเตรียมตัวตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ หันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมงค่ะ
ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากคลินิกและโรงพยาบาลต่างๆ ได้ออกมาเตือนว่า การจัดการปัญหาโรคอ้วนของคุณแม่ ต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ และหลังการตั้งครรภ์ค่ะ เนื่องจากมีข้อมูลและหลักฐานมากมายที่บ่งบอกว่าแม่และลูกอาจจะเสี่ยงมีโรครุมเร้าได้
แม่เป็นโรคอ้วน ลูกก็เป็นโรคอ้วน
นอกเหนือจากน้ำหนักที่เกินมาเยอะแล้ว คุณแม่ยังมีความเสี่ยงที่จะแท้งลูก เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ คลอดธรรมชาตไม่ได้จำเป็นต้องผ่าคลอด และยังส่งผลถึงลูกโดยตรง ลูกอาจจะพิการตั้งแต่กำเนิด ลูกอาจจะมีภาวะอ้วนตั้งแต่แรกเกิดและมีภาวะอ้วนในระยะยาวต่อไปเรื่อยๆ
มาตรฐานน้ำหนักของแม่ท้องอยู่ตรงไหน ?
เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรไหน ที่เข้ามาดูแลควบคุมหรือแนะนำ เรื่องน้ำหนักของคุณแม่เวลาตั้งครรภ์ จึงทำให้ไม่มีมาตรฐาน ว่าแค่ไหนถึงเรียกว่าอ้วนเกินไปแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับทั้งแม่และลูกค่ะ
เมื่อคุณแม่อ้วน คุณแม่ก็มีความเสี่ยงสูง
ในปี 2008 ที่ผ่านมา ทีมวิจัยได้ลองยื่นมือเข้าช่วยเหลือคุณแม่ท้องที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ในการเพิ่มการเผาผลาญและลดน้ำหนักระหว่างที่ตั้งครรภ์ มีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานด้วย ในงานวิจัยนั้นบอกว่า 50-60 เปอร์เซนต์ของแม่ตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนนั้น จะน้ำหนักขึ้นอีกระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ และแม่ในกลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ ต้องผ่าคลอดเท่านั้น และหลังจากการคลอดลูกแล้ว คุณแม่ในกลุ่มเหล่านี้ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ ให้นมลูกก็ลำบากกว่าคุณแม่ที่น้ำหนักไม่เกิน และมีภาวะซึมเศร้า
ป้องกันดีกว่าตามแก้ไข
รู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกิน หรือ ว่าที่คุณแม่ที่กำลังเตรียมตัวตั้งครรภ์ ถ้าน้ำหนักตัวเกินค่า BMI อยู่มาก และอยากจะลดน้ำหนักก่อนการคลอดลูก ทางที่ดีที่สุดคือปรึกษาคุณหมอ ว่าแนวทางของตัวเองจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไรได้บ้างนะคะ ทั้งนี้ถ้าไม่แน่ใจเรื่องการรับประทานอาหาร จะพบนักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหาร ก็จะทำให้คุณแม่มีแนวทางที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นไปอีกค่ะ
และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การลดความเสี่ยงทุกอย่างที่อาจเกิดขึ้นกับลูก และยืดระยะเวลาในการอยู่กับลูกให้นานที่สุดยังไงละคะ
ที่มา sciencedaily