สิ่งที่แม่มักบ่นเกี่ยวกับการบล็อกหลัง
บล็อคหลัง มีแบบไหนบ้าง แม่จะผ่าคลอดต้องรู้
“บล็อคหลัง” เพื่อผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติ อาจจะทำให้คุณแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์คลอดมาก่อนเกิดความกลัว และกังวลว่าอาจจะส่งผลข้างเคียงได้ ซึ่งการบล็อคหลังก็ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควรเช่นกัน Motherhood จึงนำเอาข้อมูลมาให้ทราบกันค่ะ
ทำไมต้องบล็อคหลัง ?
สำหรับคุณแม่ที่เตรียมตัวจะคลอดด้วยการผ่า การบล็อคหลังเพื่อผ่าคลอดนั้นมีความจำเป็น ซึ่งการบล็อกหลัง (Painless labor) นั้นเป็นการฉีดยาชาด้วยเข็มสำหรับบล็อกหลังโดยแทงเข้าไปบริเวณหลังส่วนล่างจนถึงช่องไขสันหลัง ทำให้เกิดการชาบริเวณช่วงล่างของร่างกาย เป็นการช่วยระงับความเจ็บปวดจากการเจ็บท้องคลอด แต่คุณแม่จะยังคงรู้สึกตัวระหว่างคลอดลูก สามารถพูดคุย โต้ตอบได้ และยาชานี้ไม่มีผลต่อลูก ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นทางสุขภาพไม่สามารถเบ่งคลอดเองตามธรรมชาติได้ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอด ซึ่งการผ่าคลอดนั้น หนึ่งในขั้นตอนที่ต้องมีก็คือการบล็อคหลัง โดยจะทำการฉีดยาชาตรงบริเวณรอบนอกของเส้นประสาทไขสันหลังตรงช่วงบั้นเอว
บล็อคหลังกันตอนไหน ?
การบล็อกหลังจะต้องทำโดยวิสัญญีแพทย์ ซึ่งการบล็อคหลังเพื่อระงับอาการเจ็บครรภ์ จะทำเมื่อเข้าสู่ช่วง Active phase ที่ปากมดลูกจะต้องเปิดอย่างน้อย 3-4 เซนติเมตรขึ้นไป และมดลูกบีบตัวด้วยความถี่สม่ำเสมอในทุก 3-4 นาที
การบล็อคหลังเพื่อคลอดธรรมชาติ
โดยทั่วไป การบล็อคหลังเพื่อคลอดธรรมชาตินั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ และมีข้อดีข้อเสียที่ต่างกันไป ดังนี้
1. วิธี Epidural
แพทย์จะทำการแทงเข็มซึ่งภายในมีหลอดที่นำยาขนาดเล็กเข้าไปในกระดูกสันหลังของคุณแม่ โดยให้หลอดนำยาค้างอยู่ข้างใน จากนั้นจะค่อย ๆ ปล่อยยาชาเข้าไปควบคุมชั้นผิวหนังของไขสันหลัง ทำให้คลายความเจ็บปวดลง
ข้อดี
- ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอดลูก
- สามารถขอให้แพทย์ใช้วิธีนี้ระหว่างการคลอดลูกได้
ข้อเสีย
- ความสามารถในการควบคุมอุ้งเชิงกรานของลดลง
- อาจต้องใช้คีมช่วยคลอด
- อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน คัน และสั่น
- อาจมีอาการปากมดลูกบวม
2. วิธี Spinal block
แพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไขสันหลัง โดยเจาะผ่านกระดูกไขสันหลังเข้าไปทันที ทำให้คุณแม่รู้สึกชาอย่างรวดเร็ว
ข้อดี
- รู้สึกชาอย่างรวดเร็ว (ประมาณ 1-2 นาที)
ข้อเสีย
- ฤทธิ์ของยาค่อนข้างสั้น
- อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และสั่น
- อาจเกิดอาการปากมดลูกบวม
- 3. แบบผสมแพทย์จะแทงเข็มขนาดใหญ่ ซึ่งข้างในมีเข็มขนาดเล็กเข้าไปที่กระดูกไขสันหลัง เข็มเล็กข้างในจะแทงลึกตรงเข้าไปที่แนวไขสันหลัง และส่งยาชาเข้าไปแบบ Spinal block เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉียบพลัน หากยาชาหมดฤทธิ์แล้วทารกยังไม่คลอดคุณหมอจะบล็อกหลังอีกครั้งโดยวิธี Epidural ซ้ำไปทางเข็มใหญ่ โดยจำเป็นต้องแทงเข็มซ้ำ
ข้อดี
Loading...You got lucky! We have no ad to show to you!- ลดความเจ็บปวดได้อย่างรวดเร็ว
- ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอดได้ยาวนาน
ข้อเสีย
- อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน คัน และสั่น
- อาจเกิดอาการปากมดลูกบวม
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังคลอด
- การบล็อกหลังจะต้องมีการแทงเข็มขนาดเล็กเพื่อฉีดยาชาเข้าไปที่บริเวณกระดูกสันหลังระดับเดียวกับบั้นเอว จึงอาจทำให้คุณแม่เจ็บบริเวณสันหลัง หรือเกิดความรู้สึกเสียวร้าวลงไปที่ขา
- ผลของยาชาอาจทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือด ทำให้คุณแม่บางรายมีความดันโลหิตลดลง เลือดจึงไปเลี้ยงที่มดลูกและรกน้อยลง อาจส่งผลให้ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนชั่วคราว ทารกอาจจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้
- คุณแม่บางคนหลังผ่าคลอดแล้ว อาจมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนขึ้นได้
- ไม่สามารถขยับหรือลุกขึ้นเดินได้ประมาณ 2-4 ชั่วโมงหลังจากผ่าคลอดแล้ว
- ไม่สามารถให้นมลูกได้ทันที เพราะคุณแม่บางคนหลังผ่าคลอดเสร็จ จะรู้สึกเพลียจนหลับไป
- ปัสสาวะไม่ออก เป็นผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นในช่วง 12 ชั่วโมงแรก ซึ่งมักจะได้รับการสวนสายปัสสาวะช่วย
- อาการปวดหลัง อาจพบได้ในช่วง 1-2 เดือนแรก หรือคุณแม่บางคนอาจได้รับผลข้างเคียงนี้นานเป็นเดือน
ในการคลอดนั้น โดยปกติแล้วแพทย์จะประเมินว่าสภาวะของคุณแม่เหมาะสมที่จะบล็อคหลังหรือดมยาสลบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติ โรคประจำตัว และความเร่งด่วนในการผ่าตัดคลอด แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมบล็อคหลังกันมากกว่า เนื่องจากความเสี่ยงต่ำกว่าการดมยาสลบ และในสมัยนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้การบล็อคหลังสำหรับการผ่าคลอดนั้นมีความปลอดภัย และไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยค่ะ
เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณแม่ส่วนใหญ่จะกังวลในเรื่องของการคลอดทั้งกลัวเจ็บ กลัวมีเหตุฉุกเฉิน กังวลว่า ลูกคลอดออกมาจะปลอดภัยหรือไม่ ลูกน้อยจะสมบูรณ์แข็งแรงดีหรือไม่ เพราะตลอดระยะเวลาเกือบ 9 เดือนที่คุณเฝ้าทะนุถนอมดูแลร่างกาย หาข้อมูลอย่างดิบดีก็เพื่อรอวันนี้เท่านั้น….วันที่คุณจะได้พบหน้าเจ้าตัวน้อยสักที
แต่ก่อนจะถึงวันนั้น เรื่องสำคัญอีกเรื่องที่คุณแม่ต้องตัดสินใจก็คือ การเลือกวิธีคลอด แม้ว่าจะพอทราบอยู่แล้วว่าวิธีคลอด มีอะไรบ้าง แต่ว่าที่คุณแม่หลายๆ ท่านอาจยังไม่รู้ว่าในกระบวนการคลอดด้วยวิธี ที่ต่างกันนั้นจะต้องพบเจออะไรบ้าง ดังนั้น เพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ Pregnancy Knowledge เลยนำเรื่องราวของวิธีการคลอดมาให้คุณแม่ได้ศึกษาเพื่อตัดสินใจเลือกว่า การคลอดแบบไหน จะเหมาะกับเราที่สุดค่ะ
วิธีคลอด…ใครเลือก
แม้ว่าส่วนใหญ่ว่าที่คุณแม่จะสามารถเลือกวิธีคลอดได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ด้วยค่ะ คุณแม่บางรายตั้งใจดิบดีว่าจะคลอดธรรมชาติ แต่เมื่อถึงเวลากลับไม่สามารถทำได้ ด้วยเหตุผลหลายประการเช่น ลูกไม่กลับหัว หรือลูกตัวใหญ่มาก ความตั้งใจที่จะคลอดธรรมชาติก็อาจต้องเปลี่ยนเป็ผ่าท้องคลอด หรือในกรณีที่คุณแม่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีโรคประจำตัว หรือตั้งครรภ์เมื่ออายุมากแล้ว แพทย์ก็มักจะแนะนำให้ผ่าท้องคลอด ซึ่งจะปลอดภัยมากกว่า
อย่างไรก็ตาม หากคุณมีวิธีการคลอดที่ต้องการอยู่ในใจ ก็ควรปรึกษาแพทย์ที่รับฝากครรภ์ ตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ เพื่อคุณหมอจะได้แนะนำว่า คุณสามารถเลือกวิธีคลอดที่ต้องการได้หรือไม่ และควรเตรียมตัวอย่างไรเพื่อให้พร้อมสำหรับการคลอด
คลอดธรรมชาติ…เจ็บมาก แต่หายเร็ว
การคลอดธรรมชาติ โดยไม่ใช้ยาใด ไม่ใช้การบล็อกหลัง ช่วยบรรเทาการปวดระหว่างคลอด เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด หากคุณแม่ต้องการจะให้ร่างกายตัวเองอยู่ในการควบคุม และออกจากช่วงพักฟื้นได้เร็ว แต่ทั้งนี้ก็เท่ากับว่าคุณต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความเจ็บปวดในการคลอด รวมทั้งต้องมีการเตรียมตัวคลอดมาอย่างดีด้วย ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ มีดังนี้
การคลอดธรรมชาติ ที่ไม่ได้ใช้ยาใดๆ ช่วยทำให้คุณแม่และลูก ไม่ต้องได้รับผลข้างเคียงใดๆ ภายหลังการคลอด คุณแม่ส่วนใหญ่ที่เลือกวิธีนี้ รู้สึกเข้มแข็ง และมีอำนาจระหว่างการคลอด และรู้สึกภูมิใจหลังการให้กำเนิดเจ้าตัวน้อยสำหรับคุณแม่บางราย การได้ควบคุม การคลอดด้วยตัวเอง เฝ้าดูจังหวะการหายใจ ทำให้รู้สึกว่าช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวดสั้นลงมีโอกาสที่จะต้องใช้วิธีการเร่งคลอดน้อยกว่า การคลอดธรรมชาติที่ใช้การบล็อกหลัง
อย่างไรก็ตาม การคลอดธรรมชาติ โดยไม่ใช้ยา ไม่ใชช้การบล็อกหลัง มีข้อเสียคือ คุณต้องทนกับความเจ็บปวดอย่างมาก ซึ่งหากคุณเตรียมตัวมาไม่ดี ไม่มีการฝึกหายใจ ก็อาจทำให้คุณต้องรอ ขอที่จะใช้ยาช่วยลดความเจ็บปวดในที่สุด ดังนั้นหากไม่มั่นใจจริงๆ แล้ว ลองมองหาทางเลือกอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจอีกครั้งก็ดีนะคะ
บล็อกหลัง…ยังนิยม
การคลอดด้วยการฉีดยาบล็อกสันหลังนั้นค่อนข้างได้รับความนิยม เพราะไม่เพียงคุณแม่จะสามารถคลอดธรรมชาติได้เองแล้ว ก็ยังไม่ต้องทนกับความเจ็บปวดมากมายนักอีกด้วย โดยการคลอดวิธีนี้ คุณแม่จะต้องนอนตะแคง ขดตัวบริเวณขอบเตียง เพื่อให้คุณหมอฉีดยาชาเข้าไปบริเวณไขสันหลัง ซึ่งการบล็อกหลังมี 3แบบคือ แบบ Epidural แบบSpinal Block และแบบผสม
การบล็อกหลังแบบ Epidural แพทย์จะทำการแทงเข็มที่มีหลอดนำยาขนาดเล็กเข้าไปในกระดูกสันหลังของคุณแม่ หลอดนำยาจะค้างอยู่ข้างใน และค่อยๆ ปล่อยยาชาออกมาอย่างต่อเนื่องไปที่ชิ้นผิวหนังของไขสันหลัง ทำให้ค่อยๆ หมดความรู้สึก ข้อดีของการบล็อกหลังแบบนี้คือคุณแม่ที่เลือกคลอดธรรมชาติ โดยไม่ใช้ยาชา แล้วทนความเจ็บปวดไม่ไหวสามารถขอให้แพทย์ใช้วิธีนี้ช่วงใดก็ได้ระหว่างการคลอด โดยหลังจากฉีดยาเข้าไขสันหลัง ประมาณ 5-10 นาที ร่างกายจากช่วงเอวลงไปจะค่อยๆ หมดความรู้สึก ทำให้คุณแม่ไม่รู้สึกเจ็บจากการรัดตัวของมดลูก ข้อเสียคือ ความสามารถในการควบคุมอุ้งเชิงกรานของคุณจะลดลง มีโอกาสให้ต้องใช้คีมช่วยคลอด และคุณแม่อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน คัน และสั่นตามร่างกาย ซึ่งจะหายไปเองเมื่อหมดฤทธิ์ยา แต่ถ้ายาหมดฤทธิ์แล้วอาการเหล่านี้ยังไม่หายไป คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ในทันที
การบล็อกหลังแบบ Spinal Block เป็นการฉีดยาเข้าไขสันหลังทันที โดยเจาะผ่านกระดูกไขสันหลังเข้าไป ทำให้ตัวยาออกฤทธิ์เร็วภายใน 1-2 นาที คุณแม่จะรู้สึกชาตั้งแต่ช่วงเอวลงไป ซึ่งวิธีนี้มักใช้ช่วงใกล้คลอดจริงๆ เพราะฤทธิ์ยาอยู่ได้เพียง 2-3 ชั่วโมง ข้อเสียวิธีนี้คือ ยาออกฤทธิ์ได้ไม่นาน และแพทย์จะไม่ฉีดยาให้ซ้ำเป็นครั้งที่สอง ดังนั้น หากยาหมดฤทธิ์แต่ทารกยังไม่ยอมคลอด ก็จะทำให้คุณแม่กลับมาเจ็บปวดอีก รวมทั้งอาจทำให้คุณแม่ปวดศีรษะซึ่งเป็นผลจากการแทงเข็มไปในแนวไขสันหลังระดับลึกได้
การบล็อกหลังแบบผสมระหว่าง Epidural และ Spinal Block โดยแพทย์จะแทงเข็มขนาดใหญ่ ซึ่งข้างในมีเข็มขนาดเล็กอยู่อีกอันหนึ่งเข้าไปที่กระดูกไขสันหลัง เข็มเล็กข้างในจะแทงลึกตรงเข้าไปที่แนวไขสันหลังคือ Spinal เพื่อให้ยาออกฤทธิ์แบบเฉียบพลันหากทารกยังไม่คลอดในช่วงที่ยาจากเข็มเล็กออกฤทธิ์ แพทย์ก็จะใช้ยาชาบล็อกหลังอีกครั้งในระดับ Epidural แทงเข็มใหญ่โดยไม่ต้องแทงเข็มซ้ำ ข้อดี คือ มั่นใจได้ว่าการบล็อกหลังจะป้องกันการเจ็บปวดจากการคลอดได้ แต่ก็มีข้อเสีย คืออาการข้างเคียง ทั้งปวดหัวคลื่นไส้ ตัวสั่น และอาการคัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
5 สิ่งที่แม่ต้องทำ เมื่อลูกมีไข้ by คุณหมอแป๊กกี้
สูตรน้ำแกงแม่หลังคลอด หลังคลอดกินซุป แกง อะไรได้บ้าง?
ท้องแรกเตรียมพร้อมก่อนคลอด อย่างไร
https://happymom.in.th/th/tips/natural-birth/การบล็อกหลัง-มีแบบไหนบ้าง-ข้อดีข้อเสีย/288