หัวนมแตก 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 43 หัวนมแตกเกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ให้นมควรรู้ถึงวิธี ป้องกันหัวนมแตก เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด เรามาดูกันค่ะ ว่ามีวิธี ป้องกันหัวนมแตก แบบไหนบ้าง ที่คุณแม่จะไม่เจ็บ

 

ทำไมหัวนมถึงแตก 

หัวนมแตกเป็นปัญหาหนึ่ง ที่คุณแม่มือใหม่ต้องพบเจอในช่วงสัปดาห์แรก ของการให้นมเจ้าตัวน้อย สาเหตุส่วนใหญ่ที่หัวนมคุณแม่แตก เกิดจากท่าให้นมที่ไม่สะดวก การที่หัวนมของคุณแม่แตก ก็เป็นตัวบ่งบอกว่า ท่าให้นมเป็นท่าที่ผิดก็ได้ค่ะ หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ

 

หัวนมแตกเกิดจากอะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ท่าทางในการกินนมและการดูดนมที่ไม่ถูกต้อง คุณแม่มือใหม่บางรายที่ยังไม่ชำนาญในการให้นมลูกน้อยอาจจัดท่าให้นมที่ไม่เหมาะสม และทารกอาจดูดหัวนมแม่ผิดวิธี คือปากของทารกอยู่ตื้น ขอบปากไม่ถึงลานนม ซึ่งนอกจากจะทำให้เด็กดื่มนมได้ไม่เต็มที่ ยังส่งผลให้หัวนมแตกได้
  • การติดเชื้อรา หากทารกมีเชื้อราในช่องปาก การให้นมบุตรอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่หัวนม และกลายเป็นปัญหาหัวนมแตกได้ สังเกตว่าติดเชื้อหรือไม่จากอาการต่าง ๆ เช่น มีอาการคัน หรือเจ็บบริเวณหัวนม หัวนมมีลักษณะแดงและเงาผิดปกติ นอกจากนี้ อาจมีอาการเจ็บจี๊ด ๆ ขณะให้นมบุตรร่วมด้วย
  • การใส่อุปกรณ์ปั้มนม การใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อปั้มน้ำนม หากใส่ไม่ถูกวิธีจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หัวนมได้ โดยสาเหตุเกิดจากการเร่งความเร็วในการปั้มนมมากเกินไป ใช้ความแรงมากเกินไป หรือใช้หัวปั้มที่มีขนาดเล็กเกินไปจนทำให้หัวนมแตก
  • ภาวะผิวหนังอักเสบบริเวณหัวนม อาการอักเสบของผิวหนังบริเวณหัวนมอาจทำให้ผิวหนังตกสะเก็ด และเป็นผื่นแดง จนนำไปสู่อาการคันและเจ็บบริเวณหัวนม หากไม่ดูแลรักษาก็จะทำให้หัวนมแตกได้
  • ภาวะลิ้นติดของทารก (Ankyloglossia) เป็นภาวะความผิดปกติภายในช่องปากของทารกที่การเคลื่อนไหวของลิ้นถูกจำกัดเนื่องจากเนื้อเยื่อที่เชื่อมระหว่างลิ้นและพื้นล่างของปากมีขนาดสั้น หรือเกิดขึ้นล้ำมาทางด้านหน้าของปากมากเกินไป ทำให้เมื่อเด็กดูดนมแม่ลิ้นของทารกจะไม่สามารถขยับให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมได้ และทำให้เกิดเป็นแผลแตกที่หัวนมในที่สุด

 

อาการที่สังเกตได้ชัด

  • มีอาการเจ็บที่หัวนม เนื่องจากหัวนมแข็งและแตก
  • คุณแม่บางคนอาจมีอาการเลือดออกร่วมด้วยกับอาการเจ็บที่หัวนม

 

ป้องกันอย่างไรเมื่อหัวนมแตก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ถ้านมคัดตึงแข็งให้บีบออกก่อนเพื่อให้นิ่ม ก่อนที่ลูกจะดูดนม
  • อุ้มลูกกินนมให้ถูกวิธี และให้ลูกนอนดูดนมในท่าที่สบายที่สุด อาจใช้หมอนรองนอนสำหรับให้นมก็ได้ จะทำให้คุณแม่ไม่ปวดหลัง และลูกนอนดูดนมได้นานและสบายมากขึ้นค่ะ
  • ถ้าหัวนมคุณแม่เจ็บหรือ หัวนมแตกทั้ง 2 ข้าง ควรให้ลูกดูดข้างที่เจ็บน้อยกว่ากินพอลูกใกล้จะอิ่มค่อยให้ลูกดูดอีกข้างค่ะ
  • หลังจากให้นมลูกเสร็จ ควรใช้น้ำนมทาที่หัวนมคุณแม่แล้วรอจนกว่าจะแห้ง จะทำให้อาการหัวนมแตกดีขึ้นค่ะ
  • ถ้าเจ็บมากจนไม่สามารถให้ลูกดูดได้ คุณแม่ควรใช้มือปั้มนมไว้ให้ลูกกิน เหมือนตอนที่เวลาที่ลูกดูดแบบปกติค่ะ อย่าหยุดให้นมลูกเพราะน้ำนมของคุณแม่อาจจะแห้งไหลไม่ค่อยดีค่ะ
  • ถ้าเจ็บหัวนมมากจนมีเลือดไหลออกมา แก้ไขอย่างไรก็ไม่ดีขึ้นคุณแม่ต้องให้คุณหมอ หรือ พยาบาลที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้แนะนำวิธีที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ค่ะ
  • ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้หัวนมคุณแม่ และเมื่อจะให้นมลูกก็ควรเช็ดออกก่อนทุกครั้งและทาใหม่หลังจากที่คุณแม่ให้นมเสร็จ จะช่วยให้มีอาการเจ็บตึงลดน้อยลง

 

เจ็บหัวนมจะให้นมลูกอย่างไร

ป้องกันหัวนมแตก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการให้นมบุตรที่หน้าอกข้างที่มีอาการได้ ก่อนให้นมบุตรอาจประคบเย็นเพื่อให้รู้สึกชาและทำให้อาการเจ็บเวลาให้นมบุตรลดลง และหลังจากให้นมบุตรแล้วก็ใช้น้ำนม หรือครีมที่ผลิตจากไขมันขนแกะบริสุทธิ์ (Purified Lanolin) ทาบริเวณหัวนม โดยการทาด้วยน้ำนมหรือครีมชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องล้างออกก่อนให้นมลูกเพราะไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก และยังช่วยให้หายได้เร็วขึ้นอีกด้วย
  • สังเกตท่าทางในการดูดนมของทารก ควรให้เด็กดูดนมในลักษณะที่ปากของเด็กอมถึงบริเวณขอบลานนม และให้คางของเด็กแนบอยู่กับเต้านมส่วนล่าง ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถดูดนมได้ดีขึ้นและลดความเจ็บปวดลงได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม และไม่ควรเช็ดหรือขัดบริเวณหัวนมแรง ๆ ห้ามใช้โลชั่น แอลกอฮอล์ หรือน้ำหอมใกล้บริเวณหัวนม เพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้
  • ในกรณีที่มีแผลเปิดและต้องงดให้นมบุตรชั่วคราว ควรใช้ยาทาชนิดป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียทาหลังจากล้างทำความสะอาด จะช่วยให้หายได้เร็วขึ้น โดยแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาที่มีวางขายทั่วไปตามร้านขายยา หรือยาตามใบสั่งแพทย์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  • ในรายที่คุณแม่ยังต้องให้นมบุตร แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาที่ผลิตจากไขมันขนแกะบริสุทธิ์ (Purified Lanolin) ทาบริเวณหัวนมทุกครั้งหลังจากให้นมบุตรเสร็จเพื่อช่วยบรรเทาอาการ และป้องกันแผลตกสะเก็ด
  • ในกรณีที่ต้องปิดแผล ควรใช้ที่ปิดแผลที่ออกแบบเพื่อรักษาแผลบริเวณหัวนมโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้อาการเจ็บและแผลหายได้ในระยะเวลาอันสั้น วิธีใช้ ควรทำความสะอาดบริเวณแผลให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสด้วยมือและรีบปิดแผลเพื่อป้องกันเชื้อเข้าไปในแผล อีกทั้งยังควรเปลี่ยนที่ปิดแผลบ่อย ๆ
  • หากมีอาการปวด สามารถใช้ยาไอบูโพรเฟนหรือยาพาราเซตามอลในการบรรเทาอาการได้ โดยควรรับประทานก่อนให้นมบุตรอย่างน้อย 30 นาที จะช่วยลดอาการปวดและบวมขณะให้นมบุตรได้

 

วิธีการจับเต้านม

ท่าจับเต้านมที่ถูกต้องคือนิ้วของแม่จะต้องอยู่เหนือขอบนอกของลานนม เพื่อให้ลูกอมหัวนมได้ถึงลานนมหัวนมต้องพุ่งออกอยู่แนวตรง หรือเฉียงต่ำลงเล็กน้อย นิ้วหัวแม่มือไม่ควรกดให้หัวนมกระดกขึ้น เพราะจะทำให้หัวนมแตกได้ การจับเต้านมโดยใช้ใช้ 4 นิ้วพยุงเต้านมด้านล่าง นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน เรียกว่า “C” hold แม่จะใช้ท่า “C” hold เมื่ออุ้มลูกอยู่ในท่านอนตะแคงหันหน้าเข้าหาเต้านมแม่ ไม่ควรใช้วิธีการจับเต้านมโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางคีบ เรียกว่า Scissor hold หรือ “V” hold เพราะช่องว่างระหว่างนิ้วแคบ นิ้วจะขวางบริเวณลานนม ทำให้ทารกอมหัวนมได้ไม่ลึกพอ และนิ้วอาจจะไปกดบริเวณท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลไม่ดี จะใช้ท่า” V” hold ในกรณีที่คุณแม่มือใหญ่และเต้านมเล็ก แต่ต้องมั่นใจว่านิ้วทุกนิ้วของแม่อยู่นอกขอบลานนม มีอีกท่าหนึ่งคือ “U” hold มักใช้จับเต้านมเมื่อแม่อุ้มลูกให้นมในท่าฟุตบอล

 

วิธีการช่วยให้ลูกอมหัวนมแม่
  1. อุ้มลูกโดยประคองที่ต้นคอ และท้ายทอยให้หน้าเงยเล็กน้อย เพื่อให้คางของลูกชิดกับเต้านมด้านล่าง
  2. จับเต้านมโดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนเหนือขอบนอกของลานนม ส่วนนิ้วที่เหลือประคองเต้านมด้านล่าง ใช้หัวนมเขี่ยตรงกลางริมฝีปากทารกเบาๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิด รู๊ดติ้ง รีเฟล็กซ์ ลูกจะอ้าปาก
  3. เมื่อลูกอ้าปากกว้าง แม่เคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาหัวนมแม่อย่างรวดเร็วและนุ่มนวล ไม่ใช้วิธีโน้มตัวแม่ลงมาเพื่อเอาหัวนมเข้าปากลูก และไม่ควรดันศีรษะลูกเข้าหาเต้านมแม่อย่างแรง เพราะจะทำให้ลูกแอ่นหน้าหนีได้
  4. สอดหัวนมเข้าปากลูกให้ลึกถึงลานนม โดยให้ริมฝีปากล่างอมลานนมด้านล่างได้มากกว่าด้านบน เพื่อให้ลิ้นรองรับลานนมได้ลึกมากที่สุด จะได้รีดน้ำนมออกจากเต้านมแม่ได้

 

การอมหัวนมแม่ที่ถูกต้อง

  • เห็นลานนมเหนือริมฝีปากบนมากกว่าลานนมที่อยู่ใต้ริมฝีปากล่าง
  • ปากลูกจะอ้ากว้างแนบสนิทกับเต้านมแม่
  • ริมฝีปากล่างบานออก
  • คางลูกแนบชิดกับเต้านมแม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : (1),(2)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า คุณภาพแน่น ๆ ถูกใจแบบไหน โดนใจดีไซน์ไหน เลือกเลย!

อุ้มลูกให้ถูกท่า ทำอย่างไร / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 62

เอาลูกเข้าเต้าท่าไหน ไม่เจ็บหัวนม มีน้ำนมมาเยอะ

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow