ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนในเด็ก อันตรายไหม?

ลูกน้อยของคุณเกิดมาพร้อมกับปานสีเขียวบนร่างกายหรือเปล่าครับ มาทำความรู้จักกับ ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนกันครับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนในเด็ก

ส่วนใหญ่แล้วเด็กเกิดใหม่มักจะเกิดมาพร้อมกับปานแต่กำเนิดชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล เพราะปานบางชนิดก็ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก แต่ปานบางชนิดก็อาจจะต้องเฝ้าระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับวันนี้เรามาทำความรู้จักกับปานชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนกันครับ

ปานมองโกเลียน หรือปานเขียวคืออะไร

ปานมองโกเลียน หรือปานเขียวนั้น เป็นปานแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นราบสีเขียว ฟ้าเทา หรือ ฟ้าเข้ม ปรากฎได้บ่อยที่บริเวณก้น สะโพก และอาจปรากฎได้ตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา หรือลำตัว โดยอาจมีขนาดใหญ่หรืออาจจะมีขนาดเล็กเพียงไม่กี่เซนติเมตร ซึ่งปานเขียวนี้อาจปรากฎมาตั้งแต่เด็กแรกเกิด หรืออาจจะปรากฎขึ้นหลังจากที่เด็กคลอดได้ไม่นานก็ได้

ปานแต่กำเนิดชนิดนี้พบได้บ่อย โดยมีอัตราส่วนมากถึง 3 ใน 4 ของเด็กชาวเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา แต่มักจะไม่ค่อยปรากฎในเด็กชาวยุโรป

ปานเขียวหรือปานมองโกเลียนนั้นพบได้ทั้งในทารกเพศชายและเพศหญิง แต่ทารกเพศชายนั้นจะมีโอกาสในการเกิดปานเขียวมากกว่าในทารกเพศหญิง อย่างไรก็ตามเหตุผลของการเกิดปานเขียวหรือปานมองโกเลียนนั้นยังเป็นที่ปรากฎแน่ชัดนัด

อะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิดปานเขียว หรือปานมองโกเลียน

ตามข้อมูลจาก medical expert มีรายงานว่า เซลล์ในร่างกายที่มีชื่อว่า dermal melanocyte จะเคลื่อนไปยังผิวหนังชั้นแรกระหว่างสัปดาห์ที่ 11 – 14 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งปกติแล้วเซลล์ผิวหนังนี้จะหายไปเมื่อถึงประมาณสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์โดยคุณหมอเชื่อว่า ปานเขียวหรือปานมองโกเลียนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการที่เซลล์ตัวนี้ไม่เคลื่อนตัวไปยังผิวหนังชั้นบนและยังคงปรากฎอยู่นั่นเอง และจากการที่เซลล์ตัวนี้อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนัง จึงทำให้ผิวบริเวณนั้นมีสีเขียว หรือสีฟ้าเทา

ความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับปานเขียว หรือปานมองโกเลียนในเด็ก

ที่ประเทศเกาหลีนั้นมีความเชื่อกันมาตั้งแต่โบราณว่า ปานเขียวหรือปานมองโกเลียนนั้นเกิดมาจากการที่หมอผีตีก้นเด็กในท้องเพื่อให้เด็กออกมาจากท้องแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในขณะที่ประเทศจีนมีความเชื่อว่าปานที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการที่พระเจ้าให้พรเด็กโดยการตี สำหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่

ส่วนในประเทศญี่ปุ่นนั้นมีความเชื่อที่เล่าต่อกันมาว่าปานเขียวนั้นเกิดจากการที่พ่อและแม่ของเด็กนั้น มีเพศสัมพันธ์กันในระหว่างตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตามความเชื่อดังกล่างก็เป็นเพียงแค่เรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณเท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปานเขียวหรือปานมองโกเลียน อันตรายไหม?

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะตกใจเมื่อได้เห็นปานเขียว หรือปานมองโกเลียนเกิดขึ้นบนตัวลูกเป็นครั้งแรก และอาจจะคิดว่าเป็นรอยฟกช้ำและกลัวว่าลูกน้อยจะเป็นอันตรายแต่จริง ๆ แล้วปานชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือสุขภาพของลูกน้อยแต่อย่างใด

โดยปานชนิดนี้จะค่อย ๆ จางหายไปเมื่อลูกน้อยโตขึ้น และจะหายไปเองเมื่ออายุราว ๆ 5 ขวบ เด็กบางคนก็จางเร็ว บางคนก็จางช้า คุณพ่อคุณแม่ไม้ต้องเป็นกังวลไปนะครับ เพราะเมื่อถึงเวลา ปานเขียวหรือปานมองโกเลียนนั้นก็จะจางหายไปเอง

อย่างไรก็ตาม ปานมองโกเลียน หรือปานเขียวนั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ เช่นโรคเอ็มพีเอสได้ แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดน้อยมาก หรือในอัตราส่วนที่น้อยกว่า 1 ใน 100,000 ของเด็กเกิดใหม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยหากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าปานของลูกน้อยมีการเปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนรูปร่าง ก็ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทันท่วงทีนะครับ


ที่มา theindusparent

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

วิธีป้องกันหน้าอกหย่อนคล้อย หลังลูกน้อยหย่านม

ฟันและเหงือกแข็งแรงทั้งแม่และลูก ด้วยอาหารบ้านๆ 5 อย่าง

ทำอย่างไรไม่ให้ลูกน้อยหัวแบน เรามีวิธีง่ายๆมาบอก

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับปานเขียวในทารก ได้ที่นี่!

ปานเขียว ปานมองโกเลียนในทารก แบบนี้อันครายไหมคะ

บทความโดย

P.Veerasedtakul