กระทรวงศึกษาธิการ ไฟเขียวให้ โรงเรียนกลับมา เปิดภาคเรียน ได้ตามปกติ ในวันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ ยกเว้นที่สมุทรสาคร ที่ยังไม่สามารถ เปิดภาคเรียน ได้จึงให้ปิดต่อไปก่อน ส่วนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้จำกัดจำนวนนักเรียนไม่เกิน 25 คนต่อชั้นเรียน หรือสลับวันเรียน
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ที่ผ่านมมา นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามในประกาศ ของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเปิดการเรียนการสอน ของสถานศึกษาในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้สถานศึกษาทุกแห่ง ทั้งของรัฐ และเอกชน เปิดการเรียนการสอนตามปกติ ในวันที่ 1 ก.พ. 64 ยกเว้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ที่ยังต้องปิดเรียนไปก่อน
โดยโรงเรียนที่จะเปิดการเรียนการสอน จะต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับสถานศึกษา ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข และมาตรการของหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานผู้กำกับดูแลอย่างเคร่งครัด
สำหรับโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม และปทุมธานี) ให้สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ โดยแต่ละห้องเรียน ต้องมีนักเรียนไม่เกิน 25 คน กรณีห้องเรียนไม่เพียงพอ ให้จัดการเรียนการสอน ด้วยวิธีการสลับวันเรียน ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรค ของกระทรวงสาธารณสุข และมาตรการของหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ระบุว่า ได้มีการพิจารณาอนุมัติออกมาจากทางคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ของ ศบค. แล้วว่า การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการนั้น ให้ดำเนินการใน 3 แนวทาง แบ่งแยกตามพื้นที่ โดยทุกแนวทาง ต้องปฏิบัติตามมาตรการการรักษาความปลอดภัย ตามหลักของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด สำหรับ 3 แนวทางนั้นก็คือ
1. ให้สถานศึกษาทุกแห่ง ทั้งของรัฐ และเอกชน ทั้งในระบบ และนอกระบบ ซึ่งอยู่ในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ สามารถเปิดการเรียนการสอนตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป โดยต้องดำเนินการตามาตรการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบากของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COWD-19) สำหรับสถานศึกษา ตามแนวทางของกระกรวงสาธารณสุขและมาตรการของหน่วยงานต้นสังคัดหรือหน่วยงานผู้กำกับดูแลอย่างเคร่งครัด
2. ให้ปิดการเรียนการสอนในจังหวัดสมุทรสาคร ต่อไป เนื่องจาก เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวดที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิต – 19 (ศบค.) กำหนด และสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COMID-19) ยังมีจำนวนมาก ทั้งนี้ ในระหว่างที่สถานศึกษา ต้องปิดเรียนให้ส่วนราชการต้นสังกัด กำหนดแนวทางจัดการเรียการสอน ตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ เช่น การสื่อสารแบบทางไกล หรือด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่สามารถจัดการเรียนการสอนโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ สถานศึกษา อาจจัดการเรียนการสอน โดยใบสั่งงาน หรือมอบหมายงานตามความเหมาะ
3. ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ( จ.นนทบุรี จ.สมุทรปราการ จ.นครปฐม และ จ.ปทุมธานี) ให้สถานศึกษาเปิดการเรียนการสอนได้ แต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรคจองกณะทรวงสาธารณสุขและมาตรการของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานผู้กำกับดูแลอย่างเคร่งครัด โดยแต่ละห้องเรียนให้มีนักเรียนได้ไม่เกิน 25 คน กรณีห้องเรียนไม่เพียงพอให้จัดการเรียนการสอนด้วยการสบับวันเรียน
นอกจากนี้ โรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ จะต้องดำเนินมาตรการป้องกัน การแพร่ระบาดตามหลักของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ รักษาระยะห่าง งดกิจกรรมที่ต้องรวมตัวกันจำนวนมาก หรือในที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำความสะอาดพื้นที่ของโรงเรียนบ่อย ๆ เพราะการดูแลในโรงเรียน จะเป็นการชะลอการติดเชื้อในเด็ก และเยาวชน ซึ่งถือเป็นการควบคุมการระบาดในชุมชน นอกโรงเรียนได้ด้วย
นายณัฏฐพล กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุม สช.วันเดียวกัน ได้พิจารณาถึงข้อร้องเรียนของผู้ปกครองถึงการคืนเงินบางส่วนที่ได้ชำระค่าบำรุงการศึกษา หรือค่าเทอมไปแล้ว แต่เนื่องจากมีการปิดโรงเรียนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์แทน โดยที่ประชุมเห็นชอบให้โรงเรียนเอกชนทั่วประเทศไปจัดทำรายละเอียดว่าสามารถให้ส่วนลดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางการศึกษาอะไรบ้าง และให้นำส่งข้อมูลให้ทาง สช.ทราบ
“ ที่ผ่านมา โรงเรียนเอกชน ไม่สามารถคำนวณได้ว่า จะชดเชย หรือให้ส่วนลด เพื่อชดเชยภาระของผู้ปกครองอย่างไร เพราะไม่ทราบว่า จะมีการหยุดเรียนกี่วัน แต่วันนี้ สามารถคำนวณได้แล้วว่า ไม่ได้เปิดเรียน ให้บริการการเรียนการสอนกี่วัน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ที่จะนำมาคำนวณ เช่น ค่าอาหาร ค่ารถรับส่ง ค่าทัศนศึกษา เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรงเรียน มีแนวทางของตนเอง ในการนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณา และชี้แจงต่อผู้ปกครอง ”
นายณัฏฐพล กล่าวและว่า ตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และเลขาธิการ สช. พร้อมรับเรื่องร้องเรียนใด ๆ ที่เกิดขึ้น หากมีปัญหาเกี่ยวกับการคืนค่าบริการ ที่ไม่เกิดขึ้นจริง” รมว.ศธ. กล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในส่วนของรัฐบาล กำลังพิจารณาหาแนวทางสนับสนุนค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม หรือ ดีอี จะพิจารณา และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อการขออนุมัติต่อไป
ที่มา : www.thairath.co.th
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
พ่อแม่พร้อมไหม โรงเรียนเปิด 1 ก.ค. หวั่นใจ ควรให้ลูกไปเรียนดีหรือเปล่า
การจัดการทดสอบ O-NET ชั้น ป.6 ม.3 และ V-NET ปวช.3 ปีการศึกษา 2563
7 โรงเรียนมัธยมที่ดีที่สุดในภาคใต้ อันดับโรงเรียนมัธยม ภาคใต้