วิธีทําให้จมูกโด่ง ดึงดั้งแล้วจมูกลูกจะโด่งไหม อีกหนึ่งความเชื่อที่นิยมกันมาถึงปัจจุบัน ที่เชื่อว่าจะช่วยทำให้ลูกดั้งโด่งจมูกสวยได้ตั้งแต่เล็ก ๆ
บีบจมูก ดึงดั้งแล้วจมูกลูกจะโด่งไหม
บีบจมูก ดึงดั้งแล้วจมูกลูกจะโด่งไหม เป็นคำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย เพราะจมูกของลูกถือเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่พ่อแม่ให้ความสนใจไม่น้อย ตั้งแต่เห็นเจ้าตัวน้อยครั้งแรก จมูกเล็ก ๆ แบน ๆ แบบไม่มีดั้งของลูก พ่อแม่ก็กังวลว่าโตขึ้นมาลูกจะเป็นเด็กไม่มีดั้ง ดังนั้นวิธีที่ผู้ใหญ่หลายคนนิยมมักใช้การบีบหรือคลึงบริเวณสันจมูกของลูก เพราะเชื่อกันว่าเด็กตัวเล็ก ๆ กระดูกจมูกยังอ่อน สามารถทำให้ดั้งของลูกโด่งขึ้นได้
แต่ในความจริงแล้วการบีบดั้งทารกนั้นไม่มีผลต่อการกระตุ้นดั้งเพื่อให้โด่งขึ้น เพราะการที่ลูกมีจมูกโด่งหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของพ่อแม่ ลักษณะการเจริญเติบโตของกระดูก เป็นไปตามยีนส์ที่กำหนดมาแต่เดิมอยู่แล้ว แต่การบีบดั้งของทารกที่บอบบาง โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนและปลายจมูก อาจทำให้จมูกลูกเกิดการอักเสบและบวมขึ้นมาได้
ทั้งนี้ พญ.รานี บรรดาประณีต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโสต ศอ นาสิก ได้กล่าวว่า “การบีบ คลึงจมูก เป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูกจมูกก็จริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด โดยทั่วไปกระดูกจมูกจะมี 2 ส่วนคือ สันจมูก (กระดูกแข็ง) ส่วนปลายจมูก หรือด้านข้างจมูกจะเป็นกระดูกอ่อน สำหรับส่วนหลังนี้ จะมีเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยงค่อนข้างมาก บ้านไหนที่บีบจมูกให้ลูก อาจทำให้กระดูกส่วนหลังเกิดการอักเสบ และบวมได้ ซึ่งเด็กบางคนอาจมีก้อนเนื้อ หรือมีความผิดปกติที่พ่อแม่ไม่ทราบมาก่อน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่หายใจทางปากไม่เป็น ถ้าจมูกบวม เด็กจะหายใจไม่สะดวก เกิดปัญหาตามมาได้”
แม้การบีบดั้งเพื่ออยากให้ลูกดั้งโด่งจะไม่ส่งผลอันตรายต่อลูกมากนัก แต่ก็มีข้อระมัดระวังอย่างที่กล่าวไว้ ซึ่งสำหรับเด็กแล้วเราควรปล่อยให้ลูกได้เติบโตตามธรรมชาติ และดูแลในส่วนที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยกันนะคะ.
ความเชื่อของคุณแม่หลังคลอด
เมื่อสังคมไทยเป็นสังคมเก่าแก่ ที่อยู่กับความเชื่อมานาน ความเชื่อบางอย่าง กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ความเชื่อบางอย่างยังเป็นข้อกังขา เมื่อมีวิทยาการใหม่ๆเข้ามา แน่นอนว่าภูมิปัญญาชาวบ้านที่สั่งสมกันมา ไม่ใช่สิ่งล้าหลัง หรือผิดเสมอไป บางอย่างเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่คาดไม่ถึงด้วยซ้ำไป แต่บางเรื่องก็มีข้อยกเว้นบ้าง ถ้าได้รับการพิสูจน์ ทดลอง หรือเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย
คุณแม่หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินเรื่องความเชื่อต่างๆ ที่เล่าต่อๆ กันมากมาย บางเรื่องก็น่าจะเป็นจริง บางเรื่องฟังดูน่าตกใจว่าจริงหรือนี่ บางเรื่องก็ชวนให้สงสัย จะมาคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับความเชื่อเหล่านี้กันค่ะ
บีบจมูกทารกเพื่อดั้งจมูกโด่ง
ความจริง : กระดูกตรงสันจมูกของลูกน้อยจะเป็นกระดูกอ่อน ๆ ทารกที่เกิดมาใหม่แทบจะทุกคนจมูกจะดูแบน ๆ แต่พอโตขึ้นแล้วถึงจะรู้ว่าจมูกโด่งหรือไม่โด่ง การบีบจมูก หรือ ดึงดั้งลูกน้อยบอกได้เลยค่ะว่าไม่มีผล คุณแม่ไม่จำเป็นต้องบีบ นวด คลึงใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการที่เด็กมีจมูกโด่งหรือไม่โด่งนั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ การไปบีบจมูกในขณะที่ยังเป็นทารกอยู่นั้นด้วยผิดที่บอบบางอาจทำให้จมูกเกิดการอักเสบได้
บทความที่เกี่ยวข้อง: ลูกดั้งไม่โด่ง ไม่มีดั้ง ดั้งแบน ดั้งแหมบ โตแล้วจะโด่งไหมนะ
การบีบจมูก ดึงดั้งเด็ก ส่งผลเสียอย่างไร?
1) อาจเกิดอาการบวมแดงบริเวณจมูกได้
แรงกดจากการดึงจมูก อาจทำให้เกิดรอยแดง บวม หรือแผลถลอกบริเวณจมูก โดยเฉพาะหากใช้แรงมาก หรือดึงบ่อยๆ
2) เด็กเกิดความเจ็บปวดและรำคาญได้
การดึงจมูกเด็ก แม้จะใช้แรงเพียงเล็กน้อย ก็อาจสร้างความเจ็บปวดและรำคาญให้กับเด็ก เด็กอาจร้องไห้ งอแง หรือต่อต้าน
3) เกิดแผลถลอกหรือผิวหนังอักเสบได้
หากดึงจมูกแรงๆ หรือใช้ไม้หนีบจมูก อาจทำให้เกิดรอยถลอก หรือผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อได้ง่าย
4) อันตรายต่อโพรงจมูก
การดึงจมูกอย่างรุนแรง อาจส่งผลกระทบต่อเยื่อบุโพรงจมูก กระดูกอ่อน หรือโครงสร้างภายในโพรงจมูก
บีบจมูก ดึงดั้งแล้วจมูกลูกจะโด่งไหม
“จมูกเด็กมักจะแบน และโตขึ้นมักจะโด่งขึ้นได้เองครับ แต่จะโด่งได้แค่ไหนขึ้นกับกรรมพันธุ์ด้วย พ่อแม่บางคนอาจใช้วิธีใช้มือบีบสันจมูกของลูก อย่าให้โด่ง แต่ส่วนตัวไม่ค่อยแนะนำ จะทำให้เด็กขาดหายใจ หายใจได้ไม่ถนัด”
ลูกคนโตน้ำหนักแรกเกิด 2 กิโลกรัมครึ่ง ปัจจุบันอายุ 1 ขวบ 10 เดือน หนัก 9 ก.ก. สูง 80 ซ.ม. อย่างนี้ถืออยู่ในเกณฑ์เด็กทั่วไปหรือไม่คะ
“น้ำหนักส่วนสูงพอใช้ได้ครับ แต่น้ำหนักแรกเกิดค่อนข้างน้อย ทำให้น้ำหนักในปัจจุบันค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเด็กอื่น ซึ่งปกติน้ำหนักเด็กจะเป็น 3 เท่าของแรกเกิดเมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ ถ้าน้ำหนักแรกเกิด 2.5 กิโลกรัม น้ำหนักตอน 1 ขวบ จะเป็น 7.5 กิโลกรัม ต่อจากนั้นเพิ่มปีละประมาณ 2 กิโลกรัม แต่มีเด็กบางคนที่น้ำหนักแรกเกิดน้อย แต่เนื่องจากได้อาหารดี เด็กก็โตทัดเทียมกับเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดมากได้ ขึ้นอยู่กับอาหารที่เด็กได้รับด้วยครับ”
ปกติจมูกของเด็กจะโด่งขึ้นเองไหมคะเมื่อเขาโตขึ้น คือลูกค่อนข้างสันจมูกเล็กค่ะ พ่อแม่ก็สันจมูกเล็กเหมือนกัน แต่อยากให้เขาจมูกโด่ง จะมีวิธีไหมคะ
“จมูกเด็กมักจะแบน และโตขึ้นมักตะโด่งขึ้นได้เองครับ แต่จะโด่งได้แค่ไหนขึ้นกับกรรมพันธุ์ด้วย ซึ่งตอนเด็กๆ จะดูเหมือนดั้งจมูกแบนเป็นธรรมดา แต่โตขึ้นก็จะค่อยๆ โด่งขึ้นเอง รอดูสักระยะไปก่อนก็ได้ครับ ถ้าเขายังเล็กอยู่ พ่อแม่บางคนอาจใช้วิธีใช้มือบีบสันจมูกของลูก อย่าให้โด่ง แต่ส่วนตัวไม่ค่อยแนะนำ จะทำให้เด็กขาดหายใจ หายใจได้ไม่ถนัด”
สังเกตว่าลูกจะมีอาการนอนกรนนิดๆ ค่ะ ไม่ถึงกับดังหรือยาว แต่ก็เป็นบ่อยครั้ง อยากทราบว่าการที่ลูกนอนกรนจะเป็นอันตรายต่อเขาหรือไม่ และเราจะสังเกตได้อย่างไรคะ ว่าเขานอนกรนปกติหรือผิดปกติ
“การนอนกรนในเด็ก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งในเด็กบางรายที่มีอาการรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และเสียชีวิตได้ โดยเด็กที่นอนกรนเป็นประจำ ควรได้รับการซักประวัติหาปัจจัยเสี่ยงและอาการของภาวะการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน และการตรวจรักษาเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ OSA หรือ obstructive sleep apnea ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน มักเกิดเวลานอนหลับ มีผลทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนและคุณภาพของการนอนหลับเสียไป ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา
…แนวทางการตรวจวินิจฉัยในเด็กที่นอนกรน ก็ต้องแยกโรคว่าเป็นภาวะที่เด็กนอนกรนแต่ไม่มีความผิดปกติอื่น หรือเป็นภาวะ OSA ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา โดยแพทย์จะถามประวัติการนอนกรน การนอนหลับ พัฒนาการ การเรียน และโรคประจำตัวของเด็ก และทำการตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทางเดินหายใจ ตรวจดูภาวะภูมิแพ้จมูก การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้นอนกรนได้ เช่น ไซนัสอักเสบ ทอนซินอักเสบ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก
…สำหรับการตรวจ ก็มีตั้งแต่ เอ็กซเรย์ดูขนาดของต่อมอะดีนอยด์และทอนซิน ที่อาจมีผลต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนได้ และในบางรายจำเป็นต้องรับตัวไว้ในโรงพยาบาลเพื่อตรวจการนอนหลับต่อเนื่องในเวลากลางคืนโดยตรวจดูระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด ค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออก ด้วยการตรวจ pulse oximetry ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น จากการตรวจดังกล่าว แพทย์จะสามารถให้การวินิจฉัยโรค และเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ ซึ่งมีทั้งการใช้ยา หรือโดยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษา จะเห็นผลโดยการนอนกรนเบาลงหรือหายไป และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
…การตรวจที่ดีที่สุดก็คือ การตรวจ polysomnography ซึ่งเป็นการตรวจโดยละเอียดขณะนอนหลับ เช่นการตรวจคลื่นสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ การไหลของอากาศ การเคลื่อน ไหวของทรวงอก และค่าอ๊อกซิเจน เป็นต้น หลังจากการตรวจดังกล่าว จึงสามารถให้การวินิจฉัยภาวะ OSA และประเมินความรุนแรงของโรคได้ เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วยได้
…แนวทางเลือกในการรักษา อย่างแรกก็คือ การรักษาโดยการใช้ยา เช่น การใช้ยาพ่นจมูกเพื่อรักษาอาการภูมิแพ้จมูก และทำให้ขนาดของต่อมอะดีนอยด์เล็กลง
หรือการใช้ยาปฏิชีวนะในรายที่พบมีการติดเชื้อ ในรายที่มีอาการรุนแรง ก็อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิน ในเด็กที่มีขนาดของต่อมดังกล่าวโต และมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ รวมทั้งให้การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การลดน้ำหนักในเด็กอ้วน การใช้เครื่องช่วงหายใจแรงดันบวกขณะนอนหลับในผู้ป่วยเด็กบางราย ซึ่งแพทย์จะทำการพิจารณาเลือกการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายครับ”
สังเกตลูกมีผื่นลักษณะคล้ายเม็ดดำๆ เล็กๆ ขึ้นตามตัวและแขนขาค่ะ และมีอาการคันด้วย จะเกาตลอด ต้องคอยทายาก้คัน ก็เป็นๆ หายๆ เป็นพักๆ ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร พอจะแนะนำได้ไหมคะ จะได้คอยป้องกันให้ลูก
“แสดงว่าเด็กมีอาการแพ้บางสิ่งบางอย่างครับ อาจจะแพ้แมลงก็เป็นได้ ดังนั้นต้องให้เขาหลีกเลี่ยงอย่าให้ยุงหรือแมลงกัดครับ โดยให้ใส่กางเกงขายาวอยู่ในห้องที่มีมุ้งลวด หรือถ้าถูกแมลงกัดก็ให้ทายาแก้แพ้แก้ค้น อย่าให้เด็กเกาเพราะอาจติดเชื้อเป็นแผลได้ ส่วนแก้มแดงเป็นวงๆ อาจเป็นกลากน้ำนม ซึ่งเป็นการแพ้ชนิดหนึ่ง หรือเป็นกลากเกลื้อนก็ได้ ควรให้แพทย์ตรวจดูครับ”
เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ลูกมักจะอ้อกเอานมที่ให้ทานเข้าไปออกมาเสมอ แต่ไม่มาก ไม่รู้ทำไม ควรต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้างคะ เพราะหลังทานก็พยายามให้เขาเรอออกตลอด งงๆ เหมือนกันค่ะ
“หูรดที่ต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาจทำงานไม่ดีก็ได้ครับ ทำให้น้ำนมไหลย้อนออกมาได้ง่าย และเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมจะทำให้มีการเคลื่อนไหวของเด็ก ทำให้อาหารไหลย้อนออกมาได้ อย่างไรก็ดี การสำลักก็มีอันตรายต่อเด็ก ถ้าเกิดนมสำลักเข้าปอด ดังนั้นควรจับหน้าเด็กให้ตะแคงหรือจับให้หัวสูง เพื่อให้นมไหลออกจากปาก จะได้ไม่ไหลย้อนลงสู่หลอดลมครับ
…อย่างไรก็ดี ถ้าเด็กอาเจียนพุ่งบ่อยๆ ต้องพาไปให้แพทย์ตรวจ อาจแก้ไขโดยการให้เด็กนอนหัวสูงหลังกินนมใหม่ๆ หรือนอนตะแคงขวา จะได้ไม่ทับกระเพาะ ถ้าเด็กนอนหงายแล้วอาเจียน อาจสำลักนมเข้าปอด ซึ่งจะเป็นอันตรายได้ ทางที่ดีให้นอนตะแคงขวาจะดีกว่า นมจะได้ไหลออกจากปากได้สะดวกหน่อย
ที่มาจาก : https://motherandchild.in.th/content/view/762/113/
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th, Parents one
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
จมูกลูกไม่ได้กลิ่น เกิดจากอะไร?
ทารกเป็นหวัด ลูกยังเล็กมากจะเป็นอะไรไหม ทำอย่างไรไม่ให้ทารกเป็นหวัด