"บัตรทอง"เด็กไทย กับสิทธิประโยชน์ที่ผู้ปกครองควรรู้

ข่าวดีจ้า ข่าวดี สปสช เค้าจัดให้เด็กไทยสามารถใช้สิทธิประโยชน์ของบัตรทองได้แล้วนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะทราบและเคยมีโอกาสได้ใช้ “บัตรทอง” สำหรับเด็กกันบ้างแล้ว แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่ยังไม่เคย ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ เป็นประโยชน์มาฝากกันค่ะ

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับสิทธิการรักษาพยาบาลจากรัฐบาลสำหรับประชาชนคนไทยกันก่อนค่ะ สิทธิการรักษาพยาบาลนั้นสามารถแบ่งเป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ คือ

  1. สิทธิสวัสดการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
  2. สิทธิประกันสังคม
  3. สิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือที่รู้จักกันในนามของ “สิทธิ 30 บาท” หรือ “สิทธิบัตรทอง”

ล่าสุดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาต (สปสช.) ได้จัดชุดสิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยครอบคลุมการดูแลทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา ทารกแรกเกิด จนถึงเด็กปฐมวัย ทั้งด้านการรักษาโรคทั่วไป โรคเฉพาะทางค่าใช้จ่ายสูง และการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มวัยด้วยกัน ดังนี้

กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่ 0 – 5 ปี

สิทธิประโยชน์ที่ว่านี้จะรวมถึงทารกที่อยู่ในครรภ์ โดยจะได้รับการดูแลตั้งแต่มารดาเข้ารับการฝากครรภ์ในครั้งแรก และต่อเนื่องตามระบบฝากครรภ์คุณภาพจนถึงคลอด มีการประเมินความเสี่ยงของครรภ์ การให้วัคซีนและยาต่าง ๆ  และเมื่อคลอดทารกจะได้รับวิตามินและวัคซีนต่าง ๆ การคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ และการส่งเสริมให้กินนมแม่ จากนั้นจึงเน้นที่การตรวจพัฒนาต่าง ๆ ของเด็ก เพื่อให้เหมาะสมและเป็นไปตามวัย อาทิ การตรวจสุขภาพ การเฝ้าระวังและการป้องกันโรค การให้วัคซีน

กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 6-24 ปี

จะมุ่งเน้นไปในเรื่องของการดูแลสุขภาพอนามัยโรงเรียน เริ่มตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 หากเด็กไม่เคยรับวัคซีนมาก่อนจะได้รับในช่วงนี้ ส่วนเด็กที่ได้รับวัคซีนมาแล้วตามช่วงอายุจะได้รับการกระตุ้นเพิ่มเติม อาทิ วัคซีนป้องกันวัณโรค คอตีบ บาดทะยัก โรคโปลิโอ หัด หัดเยอรมัน และคางทูม วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก แต่ในกรณีพบว่าเด็กมีโลหิตจางจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคธาลัสซีเมีย หากเป็นชนิดรุนแรงจะได้รับการส่งต่อเพื่อรักษา นอกจากนี้ เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1-6 ทุกคนยังได้รับการคัดกรองและตรวจสุขภาพที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่แก้ไขให้เด็กเติบโตอย่างสมวัย ได้แก่ การประเมินภาวะโภชนาการ การคัดกรองเด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติ การตรวจสุขภาพช่องฟัน การเคลือบหลุมร่องฟัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

สำหรับเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการสมัคร มีดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และมีรูปถ่ายติดอยู่
  2. สำเนาสูติบัตร ในกรณีที่เด็กมีอายุต่ำกว่า 15 ปี
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
  4. กรณีที่พักอาศัยไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีถิ่นที่อยู่หรือที่เป็นการยืนยันว่าได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ผู้ขอลงทะเบียนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
  6. หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียน พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ พร้อมสำเนาบัตรผู้นำชุมชนของผู้รับรอง
  7. ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำหรือค่าไฟหรือค่าโทรศัพท์) หรือใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก หรือสัญญาค่าเช่าที่พัก ที่ระบุชื่อของผู้ขอลงทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดิม(กรณีที่ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ)
  8. หนังสือมอบอำนาจกรณีไม่สามารถยื่นคำร้องขอลงทะเบียนด้วยตนเองพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถใช้สิทธิบัตรทองกันได้นะคะ เพราะทาง สปสช. ก็ได้มีข้อยกเว้นการใช้สิทธิ์บัตรทองดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม
  2. ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
  3. ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. เบอร์ 1330 (ได้ตลอด 24 ชั่วโมง)

ที่มา: สปสช. และ Health & Trend

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ก่อนใช้ควรเช็ก 14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง

11 กรณี ที่พ่อแม่ใช้สิทธิประกันสังคมควรรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth