โดยทั่วไปคุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ดูแลเรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยตลอดการตั้งครรภ์คุณแม่ควรมีน้ำหนักเพิ่มประมาณ10-15 กิโลกรัม ถ้ามีน้ำหนักตัวเพิ่มไม่ถึงเกณฑ์กำหนดอาจส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีน้ำหนักตัวแรกน้อย ตัวเล็กผิดปกติ ในขณะเดียวกัน ถ้าคุณแม่น้ำหนักเพิ่มเยอะเกินไป อาจทำให้เหนื่อยง่าย ปวดหลัง ทารกตัวใหญ่จนคลอดยากเป็นต้น
คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องระวังดูแลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ควรควบคุมน้ำหนักด้วยการงดอาหารอย่างเด็ดขาด เพราะทารกในครรภ์จะไม่ได้สารอาหารที่จำเป็นในการสร้างระบบและส่วนต่างๆ ของร่างกาย
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มอย่างสม่ำเสมอ ค่อยเป็นค่อยไปตลอดการตั้งครรภ์ โดยอัตราการเพิ่มของน้ำหนักตัว โดยเฉลี่ยน้ำหนักตัวของคุณแม่จะมีการเพิ่มขึ้นในช่วงระยะไตรมาสแรกประมาณ 1-2 กิโลกรัม และจะมีน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่สองจนถึงต้นไตรมาสที่สาม คือในอายุครรภ์ 3-8 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ย 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ส่วนในไตรมาสที่สามน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเพียง 2-3 กิโลกรัมเท่านั้น และเดือนที่เก้าหรือเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ น้ำหนักของคุณแม่อาจลดลงบ้างเล็กน้อยประมาณ 1/2 กิโลกรัม
ในกรณีที่คุณไม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเลยในระยะอายุ 2-4 เดือน หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในไตรมาสที่สอง หรือมีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในไตรมาสที่สาม คุณควรไปปรึกษาแพทย์ทันที
ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ต้องการสารอาหารที่มีคุณค่า คุณแม่ควรครบทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกหลักโภชนาการ และเลือกดื่มนมที่มีโฟเลทและแคลเซียม เพื่อสุขภาพที่ของลูกน้อยและคุณแม่ค่ะ