น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตลอด 9 เดือนขณะตั้งครรภ์

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งอาการการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่ท้อง ซึ่งน้ำหนักตัวของแม่ท้องจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตลอดทั้ง 3 ไตรมาส โดยเมื่อเริ่มเข้าไตรมาสที่สองน้ำหนักตัวของแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไปดูกันค่ะว่าน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ของแม่ท้องควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือนของแม่ท้อง ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10-15 กิโลกรัม  ซึ่งทั้ง 3 ไตรมาสของการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวของแม่ท้องจะเพิ่มขึ้น ดังนี้ :

  • ในช่วง 3 เดือนแรกอาจจะเพิ่มขึ้นแค่ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสแรกแม่ท้องส่วนใหญ่มักจะมีอาการแพ้ท้อง ทำให้ทานอาหารได้น้อยจึงส่งผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่มาก
  • ไตรมาสสองของการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวของแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4-5 กิโลกรัม
  • ไตรมาสสามของการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวของแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5-6 กิโลกรัม1

น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นของแม่ท้องมาจากอะไรบ้าง ?

  1. ตัวลูก 3,300 กรัม
  2. รก 680 กรัม
  3. น้ำคร่ำ 900 กรัม
  4. มดลูกที่ขยายขนาดขึ้น 900 กรัม
  5. เต้านมที่ขยายขนาดขึ้น 900 กรัม
  6. ไขมันและโปรตีนของตัวคุณแม่ 4,000 กรัม
  7. เลือดและน้ำในร่างกายที่เพิ่มขึ้น 1,800 กรัม2 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาตรเลือดในระหว่างตั้งครรภ์ มีความสำคัญ คือ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น เพื่อให้มีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น และเพื่อป้องกันการสูญเสียเลือดในระหว่างการคลอดด้วยค่ะ3 ดังนั้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์คุณแม่ควรต้องดูแลสุขภาพร่างกายด้วยการดื่มนมที่เสริมด้วยโฟเลทอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงการตั้งครรภ์ เพราะโฟเลทมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงและธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง4

การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวในระหว่งตั้งครรภ์มีผลมาจากการรับประทานของแม่ท้องเป็นหลัก ฉะนั้นเพื่อให้น้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์เป็นไปตามมาตรฐาน และลดภาวะเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น อย่าง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คุณแม่ท้องควรต้องใส่ใจดูแลเรื่องอาหารการกินให้มาก ควรทานอาหารที่ประโยชน์ครบ 5 หมู่ และลดอาหารประเภทหวาน มัน เค็มลง เพื่อจะได้ให้การตั้งครรภ์ตลอด 9 เดือนเป็นการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพค่ะ

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

References

1รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ยุคใหม่. หน้า 60.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ยุคใหม่. หน้า 60.

3ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทยาลัย. สูติศาสตร์. 2551. หน้า 11.

4ข้อความการกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหารที่มีในบัญชี Thai RDI

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team