นมแม่ไม่ได้ช่วยป้องกัน โรคอ้วนในเด็ก

งานวิจัยล่าสุดเผยนมแม่ไม่ได้ช่วยยับยั้งโรคอ้วนในเด็ก ซึ่งขัดกับความเชื่อก่อนหน้าเกี่ยวกับความความมหัศจรรย์ของนมแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การให้นมแม่ไม่ได้ช่วยลดการเกิดโรคอ้วนในเด็ก

ด็อกเตอร์ริชาร์ด มาร์ติน อาจารย์ด้านระบาดวิทยาคลินิก แห่งมหาวิทยาลัยบริสตอล ประเทศอังกฤษ และหัวหน้ากลุ่มวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า “มีข้อมูลมากมายที่บ่งชี้ว่านมแม่มีประโยชน์ต่อเด็ก แต่ความเชื่อที่ว่านมแม่สามารถช่วยลดโอกาสที่เด็กจะเป็นโรคอ้วนนั้นไม่น่าจะเป็นได้”

ด็อกเตอร์มาร์ติน ได้ทำการศึกษาร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยแม็คกิลในมอนทรีอัล จากกลุ่มแม่ตัวอย่าง 15,000 คนในประเทศเบลารุส ซึ่งทีมวิจัยจงใจเลือกที่นี่ตั้งแต่เริ่มทำการศึกษาในปี 1996 เพราะเป็นประเทศที่ผู้หญิงไม่นิยมให้นมลูกในขณะนั้น

รายงานล่าสุด ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเดอะ เจอร์นอล ออฟ ดิ อเมริกัน เมดิคอล แอสโซซิเอชั่น เผยข้อมูลที่เก็บจากกลุ่มเด็กตัวอย่างอายุ 11 ปีครึ่ง นักวิจัยพบว่าเด็กที่ดื่มนมแม่และไม่ได้ดื่มนมแม่ ไม่ได้มีน้ำหนักตัวและไขมันในร่างกายต่างกัน เด็กประมาณ 15% ของทั้งสองกลุ่มมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และ 5% เข้าข่ายเป็นโรคอ้วน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อเปรียบเทียบดัชนีมวลกาย ความหนาของผิวหนัง และรอบเอวของเด็กทั้งสองกลุ่ม “เราไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ” ด็อกเตอร์มาร์ตินกล่าว

ผลการศึกษานี้ขัดแย้งกับงานวิจัยก่อนหน้าที่ระบุว่านมแม่สามารถลดอัตราการเกิด โรคอ้วนในเด็ก ได้ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการกินนมแม่จะช่วยลดภาวะอ้วนในเด็กได้เพราะเด็กจะหยุดกินเมื่ออิ่ม ตรงข้ามกับการกินนมชง ซึ่งเด็กต้องดื่มให้หมดขวดแม้จะรู้สึกอิ่มแล้วก็ตาม อาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อน้ำหนักของเด็กเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น แม่ให้นมลูกมากน้อยตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและนิสัยการกินของลูก จึงเป็นไปได้ว่าเด็กบางคนที่กินนมแม่อาจมีน้ำหนักตัวมากอยู่แล้ว แม่จึงให้นมลูกน้อยลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับงานวิจัยล่าสุด ด็อกเตอร์มาร์ตินพยายามจะลดความคลาดเคลื่อนของผลโดยการสุ่มตัวอย่างจากเด็กที่กินนมแม่และเด็กที่กินนมขวดอยู่แล้ว แทนที่จะกำหนดเองว่าให้เด็กกลุ่มไหนกินอะไร นี่จะทำให้ทีมวิจัยสามารถควบคุมปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการศึกษา เช่น ประเภทของอาหาร หรือระดับการศึกษา ได้

แม้ผลการวิจัยจะชี้ว่านมแม่ไม่ได้ช่วยลดการระบาดของ โรคอ้วนในเด็ก แต่ไม่ได้แปลว่าจะเราจะแนะนำให้งดนมแม่ องค์การอนามัยโลกยังคงแนะนำให้ทารกดื่มนมแม่ในช่วงหกเดือนแรก และให้ต่อเนื่องได้ไปจนถึงอายุ 2 ขวบ

ที่มา: ไทม์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team