นมแช่แข็ง 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 46 ใส่กระเป๋าเก็บความเย็นแช่ซ้ำได้ไหม

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ที่สต็อกน้ำนมอาจสงสัย นมแช่แข็ง ที่เอาไว้ในกระเป๋าเก็บความเย็นนั้น เอามาแช่แข็งซ้ำได้หรือไม่ เรามาดูวิธีการใช่ที่ถูกต้องของ นมแช่แข็ง กันเลยค่ะ

 

เก็บน้ำนมได้นานเท่าไร?

น้ำนมแม่สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นในที่เย็น ด้วยหลักการเดียวกับการถนอมอาหารทั่วไปโดยลดการอุณหภูมิลงค่ะ

  • ในกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งอยู่ตลอด เก็บได้ 1 วัน
  • ตู้เย็นใต้ช่องแช่แข็ง 2-3 วัน
  • ช่องแข็งของตู้เย็นประตูเดียว 2 สัปดาห์
  • ช่องแข็งของตู้เย็น 2 ประตู 3 เดือน
  • ตู้แช่แข็ง ที่อุณหภูมิต่ำกว่า -19 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 6-12 เดือน

โดยหลักแล้ว ของสดใหม่คุณภาพย่อมดีที่สุด นั่นคือการดูดจากเต้าแม่โดยตรง ในกรณีที่มีความจำเป็น ไม่สามารถให้ดูดจากเต้าได้ นมที่คุณแม่บีบหรือปั๊มเก็บไว้ในตู้เย็น คุณภาพอาจลดไปบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังมีสิ่งที่ดีๆ รวมทั้งภูมิคุ้มกันจำนวนมากอยู่ ดังนั้นคุณค่าของนมแม่แช่แข็งก็ยังดีกว่านมผงมากนักค่ะ

ภาชนะที่เก็บอาจเป็นถุงเก็บน้ำนม หรือขวดแก้วที่ผ่านการทำลายเชื้อด้วยความร้อนแล้ว ควรเก็บน้ำนมในปริมาณที่พอกินในแต่ละมื้อ เวลาเก็บ ถ้าภาชนะที่ใส่เป็นขวด ให้เหลือที่ว่างในขวดไว้ประมาณ ¼ – ½ นิ้ว ปิดฝาขวดให้สนิท แต่ไม่ต้องแน่นมากเกินไป แต่ถ้าเป็นถุงเก็บน้ำนม ให้รูดซิปปิดให้สนิทโดยเหลือที่เผื่ออากาศในถุง เพราะน้ำนมที่แช่แข็งจะเกิดการขยายตัว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระยะเวลาในการเก็บ

หากจะเก็บไม่เกิน 2-3 วันให้แช่ตู้เย็น (บริเวณที่เย็นที่สุด คือใต้ช่องแช่แข็ง) ถ้าเก็บนานกว่านั้นให้แช่แข็งไว้ โดยระยะเวลาในการเก็บขึ้นกับอุณหภูมิ บริเวณที่เก็บ (เก็บส่วนที่ลึกจะอุณหภูมิจะคงที่มากกว่าเก็บไว้บริเวณประตู ) จำนวนของที่ร่วมแช่ในตู้ ความถี่ในการเปิดปิดประตูตู้เย็น

  • ตู้เย็นใต้ช่องแช่แข็ง 2-3 วัน- ช่องแข็งตู้เย็นประตูเดียว 2-3 สัปดาห์
  • ช่องแข็งตู้เย็น 2 ประตู 3-6 เดือน
  • ตู้แช่แข็ง หรือช่องแข็งตู้เย็น 2 ประตูขนาดใหญ่ ( ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -19 องศาเซลเซียส ) 6-12 เดือน
  • นมที่ละลายหลังแช่แข็งแต่ยังไม่ได้อุ่นหรือใช้ เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน และไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก
  • นมที่ละลายนอกตู้เย็น เก็บได้ชั่วเวลากิน 1 มื้อ และถ้ากินแล้วเหลือ ให้เททิ้ง

 

ความแตกต่างของก้อนให้ความเย็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ถุงพลาสติกใส่น้ำ (น้ำแข็งแหนม) 100 มล. 4,6,8 ก้อน ในกระติก รักษาความเย็นได้ 12,15 และ 17 ชั่วโมง แต่ถ้าในกระเป๋าพลาสติกรักษาความเย็นได้ 8,10 และ 11 ชั่วโมงตามลำดับ
  • ฟองน้ำใส่น้ำ 100 มล 4,6,8 ก้อน ในกระติก รักษาความเย็นได้ 11,14 และ 16 ชั่วโมง แต่ถ้าในกระเป๋าพลาสติกรักษาความเย็นได้ 11,14 และ 16 ชั่วโมง
  • icebrick 1และ 2 ก้อนในกระติกน้ำแข็ง รักษาความเย็นได้ 4 และ 17 ชั่วโมง
  • coldhotpack 1 และ 2 ก้อน ในกระติกน้ำแข็ง กระเป๋าพลาสติก รักษาความเย็นได้ที่ 2 ชั่วโมง

 

นำนมแม่แช่แข็งมาใส่กระเป๋าเก็บความเย็นเอาไปแช่แข็งซ้ำได้อีกหรือไม่

ไม่แนะนำให้คุณแม่นำมาแช่แข็งซ้ำนะคะ เนื่องจากอุณหภูมิของตู้เย็นที่แช่แข็งกับอุณหภูมิของกระเป๋าเก็บความเย็นแตกต่างกันค่ะ เนื่องจากน้ำนมที่ละลายหลังแช่แข็งแล้ว ไม่ควรนำไปแช่แข็งอีก เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบต่างๆ ทำให้คุณภาพเสียไป หากน้ำนมละลายแล้วให้คุณแม่นำไปแช่ช่องธรรมดา สามารถเก็บได้นาน 24 ชั่วโมงค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ข้อแนะนำในการเก็บรักษาน้ำนมแม่ในตู้เย็น

นมแช่แข็ง

  • ภาชนะทุกชนิดที่นำมาใช้ควรผ่านการฆ่าเชื้อทุกครั้ง แนะนำให้ใช้ถุงเก็บนมโดยเฉพาะ เพราะนอกจากจะทำให้นมแข็งเร็วแล้ว การละลายยังทำได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วย แต่สำหรับภาชนะที่เป็นแก้วนั้น เราไม่แนะนำนะคะ เพราะเซลล์เม็ดเลือดขาวในน้ำนมแม่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการติดเชื้อ อาจจะติดอยู่กับแก้วที่ใช้เป็นภาชนะได้
  • ติดฉลากที่ข้างถุงเก็บน้ำนมแม่ทุกครั้ง โดยกำกับด้วยว่า นมปั๊มวันที่เท่าไหร่ เวลาอะไร เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาใช้ และคุณแม่จะได้รู้ว่าถุงไหนปั๊มก่อน และถุงไหนปั๊มทีหลัง เพื่อให้การเก็บรักษานมเป็นไปตามระบบนั่นเอง
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการปั๊มน้ำนม อุปกรณ์ทุกอย่างที่นำมาใช้ต้องสะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันแบคทีเรียที่อาจจะปนเปื้อนในน้ำนมแม่ได้
  • หากคุณแม่ต้องการแช่แข็งน้ำนมที่ปั๊ม ควรทำทันทีหลังจากที่ปั๊มเสร็จ และไม่ควรปั๊มจนเต็มถุง ควรเหลือที่ว่างเอาไว้ด้วย เพราะเมื่อแช่แข็งแล้ว น้ำนมจะขยายตัวขึ้น อาจทำให้หกเลอะเทอะได้

 

ข้อแนะนำในการนำน้ำนมที่แช่ตู้เย็นมาใช้

  • น้ำนมแม่ที่แช่แข็งไว้ หากต้องการนำมาใช้ให้ทำการละลายด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติประมาณ 12 ช.ม. หลังจากนั้นจึงนำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนนำมาให้ลูกกิน ไม่ควรนำไปอุ่นด้วยการนำเข้าไมโครเวฟ หรือละลายในน้ำร้อนจัด เพราะจะเป็นการทำลายเซลล์ที่มีชีวิตที่อยู่ในน้ำนมแม่
  • ไม่ควรปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติ แล้วเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น
  • น้ำนมแม่ที่แช่แข็งไว้เมื่อละลายแล้ว ยังสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 24 ช.ม.
  • ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่
  • ถ้าต้องการใช้นมภายใน 8 วันหลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็งให้แช่ตู้เย็นช่องปกติ ถ้าต้องการแช่แข็ง ให้แช่แข็งภายใน 24-48 ช.ม. หลังจากปั๊มออกมา (ยิ่งแช่แข็งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น)
  • น้ำนมแม่ที่ละลายแล้ว หากลืมวางไว้ที่อุณหภูมิห้องนานเกิน 1 ชั่วโมง ให้ทิ้งไป ไม่ควรเก็บไว้กินต่อ
  • น้ำนมแม่ที่ละลายแล้วหากมีกลิ่นหืนยังถือว่าปกติอยู่ ยังไม่เสีย แต่ถ้าหากมีกลิ่นรุนแรง มีรสเปรี้ยว แสดงว่าน้ำนมนั้นเสียแล้ว ไม่ควรนำมาใช้อีก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : (parentsone),(bloggang)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

วิธีเก็บน้ำนม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 45 เก็บอย่างไรให้มีคุณภาพอยู่ตลอดเวลา ?

นมผง ได้ประโยชน์น้อยกว่านมพร้อมดื่มจริงหรือ? คุณแม่ควรเลือกซื้อนมผงอย่างไร

น้ำนมแม่มีกลิ่นหืน ให้ลูกกินต่อได้ไหม แล้วต้องเก็บอย่างไรไม่ให้เหม็นหืน

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow