แล้วการนอนหลับมีผลกับความฉลาดของลูกอย่างไร?
ลูกน้อยแรกเกิดใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ แม้ว่าจะมีเวลาตื่นที่มีอยู่จำกัดในการสํารวจ สิ่งแวดล้อมของลูกก็ตาม ในช่วงไม่กี่เดือนแรกของชีวิตเป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม การนอนหลับของลูกน้อยแรกเกิดแตกต่าง ไปจากการนอนหลับของผู้ใหญ่ การนอนหลับของลูกน้อยแรกเกิดอาจส่งเสริม การเรียนรู้ การนอนหลับมีส่วนช่วยในการเรียนรู้ของทารกแรกเกิดในหลายวิธี อย่างแรกคือการนอน หลับส่งเสริม การเติบโตที่สมบูรณ์ของระบบประสาทเพื่อเตรียมความพร้อมแก่ลูกน้อยแรกเกิด เพื่อ การประมวลผล และการสำรวจสภาพแวดล้อมในรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ประการที่สองคือ การ นอนหลับมีบทบาทในการรวบรวมหน่วยความจำของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ลูกน้อยตื่น และท้ายสุด มีหลักฐานที่เกิดขึ้นที่แสดงให้เห็นว่าลูกน้อยแรกเเกิดประมวลผลสิ่งกระตุ้นประสาทสัมผัส และเรียนรู้ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของพวกเขาแม้ในขณะหลับ ในขณะที่ลูกน้อยแรกเกิด มีการปรับเปลี่ยนการควบคุม จากรีเฟลซ์เป็นการควบคุมโดยสมองส่วนคอร์เท็กซ์ ทําให้มีการเรียนรู้ที่ จะตอบสนองความท้าทายทางสรีรภาพในขณะนอนหลับ ซึ่งอาจจะเป็นการปรับตัวที่สำคัญต่อการอยู่ รอดของลูกน้อย
สมองของลูกมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืนนี่ เป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ที่คุณพ่อ คุณแม่จะตระหนักถึงความสําคัญของการนอนหลับ เนื่องจากสมองของลูกนั้นจะมีการพัฒนาในขณะที่ ลูกหลับและมีการเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งการนอนหลับนอกจากเป็นการพักผ่อน แล้วยังส่งเสริมให้สมองมีการเรียนรู้ ทำให้ตัวเซลล์ประสาทเจริญเติบโตเต็มที่ เพื่อเตรียมพร้อมเรียนรู้ ในขณะตื่น และขณะหลับลูกน้อยจะเอาประสบการณ์ที่ได้ในขณะตื่นมาประมวลเป็นความจำ
สมองของลูกสามารถมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้หากสมองได้รับการส่งเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ และยังมี ปัจจัยอื่นที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ควรคัดสรรโภชนาการที่ส่งเสริมให้สมองของลูกมีการพัฒนาอย่าง เต็มที่ และหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย เพื่อให้ลูกน้อยได้ เติบโตอย่างเต็มที่ก็คือนมแม่เพราะในนมแม่มีสารอาหารเพียบพร้อม โดยเฉพาะโปรตีนคุณภาพที่ช่วย เสริมการสร้างสมองให้เรียนรู้และพัฒนาตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนที่อยู่ในนมแม่ และมีสารอาหารมากมายรวมทั้งแอลฟา-แล็คตัลบูมิน (Alpha-Lactabumin) ที่เป็นโปรตีนคุณภาพ ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาร่างกายและเสริมสร้างการทำงานของสมอง ลูกน้อยจึงควรได้รับสาร อาหารนี้ รวมทั้งสารอาหารอื่นๆเช่น ดีเอชเอ (DHA) เอเอ (AA) โคลีน (Choline) ไอโอดีน (Iodine) ลูทิน (Lutein) เหล็ก (Iron) ในชีวิตประจำวันเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการพัฒนาของสมอง
แอลฟา-แล็คตัลบูมินจะอุดมไปด้วยซีสเตอิน (Cysteine) กรดอะมิโน สําคัญที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ซึ่งซีสเตอินเป็นสารตั้งต้นของสารทอรีน (Taurine) ที่มีความ สําคัญต่อพัฒนาการของสมองและระบบประสาทส่วนกลาง
แอลฟา-แล็คตัลบูมิน เป็นโปรตีนซึ่งให้กรดอะมิโนจําเป็นรวมทั้งทริปโตเฟน ซี่งเป็น สารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีผล ในการควบคุมความอยากอาหาร อารมณ์ พฤติกรรมความคิดและการนอนหลับ
คุณพ่อคุณแม่คงจะตระหนักมากขึ้นกว่าแต่ก่อนแล้วว่าการนอนหลับมีความสําคัญในการพัฒนาสมองในวัยเด็กอย่างไร การนอนหลับอย่างเพียงพอของลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะสมองของลูกจะมีการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน และการนอนหลับช่วยในการพัฒนาสมองของลูกได้
แหล่งอ้างอิง:
[1] Amanda R. Tarullo, Peter D. Balsam, and William P. Fifer. Sleep and Infant Learning. National Institute of health. Infant Child Dev. 2011 January 1; 20(1): 35–46. doi:10.1002/icd.685.
[2] Heine WE, Klein PD, Reeds PJ. The importance of Alpha-Lactalbumin in infant nutrition. J.Nutr. 1991;121:277-283
[3] Stuman JA. Taurine in development. J Nutr. 1988;118;1169-1176.
[4] Heine WE. The significance of tryptophan in infant nutrition. In: Huether G, Kochen W, Simat TJ, Steinhart H, eds. Tryptophan, Serotonin, and Melatonim: Basic Aspects and Applications. New York, NY: Kluwer Academic/Plenum Publishers; 1999:705-710. Advances in Experimental Medicine and Biology; vol 467.
[5] Yongman MW, Zeisel SH, Roberts C, Assessing effects of serotonin precursors on newborn behavior. J Psychiatr Res. 1982-1983;17(2):123-133.