ท้องเสีย โรต้าไวรัส เป็นเหตุ! แม่ต้องกำจัดผ้าอ้อมให้ถูกวิธี ทำความสะอาดห้องน้ำให้เอี่ยม

ลูกติดไวรัสโรต้า แม่ต้องกำจัดผ้าอ้อมยังไง ล้างห้องน้ำแบบไหน ฆ่าเชื้อโรคไม่ให้ลูกเป็นอีก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องเสีย โรต้าไวรัส เป็นเหตุ!

ท้องเสีย โรต้าไวรัส เป็นเหตุ! คุณแม่โพสต์เล่า ลูกวัย 1 เดือนกว่า ติดเชื้อไวรัส โรต้า ซึ่งน้องอายุน้อยเกินกว่าจะหยอดวัคซีนโรต้า

ความผิดปกติที่แม่สังเกตได้คือ น้องฉี่น้อยลง อึมีกลิ่นเหม็นมาก เริ่มกินนมได้น้อยลง มีแหวะนมและร้องงอแง ตกบ่ายตัวร้อนไข้ขึ้นสูง ถ่ายเป็นมูก ถ่ายตลอด ถ่ายเหลวจนเป็นน้ำ แม่จึงตัดสินใจพาน้องไปส่งโรงพยาบาล ต้องแอดมิทนาน 3 วัน 2 คืน

จนกระทั่งน้องดีขึ้น คุณหมอเลยให้กลับบ้าน มาติดตามอาการต่อที่บ้านอีก 1 อาทิตย์ โดยคุณหมอบอกว่า น่าจะติดมาจากการสัมผัส เพราะก่อนหน้านี้ ประมาณ 3-4 วัน มีญาติมาเยี่ยมที่บ้าน นอกจากนี้ คุณหมอยังแนะนำให้ เวลาออกจากบ้าน ต้องหลีกเลี่ยงที่แออัด ผู้คนพลุกพล่าน

"หมอบอกยิ่งน้องยังไม่ได้รับวัคซีน ยิ่งต้องระวังค่ะ โรคนี้ไม่มียารักษาค่ะ ต้องรอให้เชื้อมันหมดไปเอง น้องก็ต้อง ให้น้ำเกลือกับกินเกลือแร่"

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอให้น้องแข็งแรงเร็ว ๆ นะคะ

 

โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า

ไวรัสโรต้า (Rotavirus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง ส่วนใหญ่มักหายเองได้ เด็กเล็กและผู้สูงอายุ อาจมีความรุนแรงของโรคมากกว่ากลุ่มอื่น

อาการท้องเสียจากโรต้าไวรัส

  • อาเจียน
  • มีไข้
  • ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ
  • หลังจากนั้นจะมีอาการท้องเดิน หรือท้องร่วงอย่างรุนแรง

4 สัญญาณเตือน ที่ควรรีบไปพบแพทย์

  1. มีอาการซึม ไม่มีแรง มือเท้าเย็น
  2. มีอาการอาเจียนมาก หรือถ่ายมากผิดปกติ
  3. มีปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลยเกิน 6 ชั่วโมง
  4. มีอาการปากแห้ง ตาโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา หรือเด็ก ๆ จะมีกระหม่อมบุ๋ม

วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า

  • ล้างมือบ่อย ๆ
  • หมั่นทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ของเด็ก
  • หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อ่านวิธีทำความสะอาดห้องน้ำ และการกำจัดผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูป หน้าถัดไป

ทิ้ง "ผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูป"

ผู้ป่วยอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (จากเชื้อไวรัสโรต้า) ให้ปลอดภัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปที่ใช้กับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโรต้า สามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้ เนื่องจากเชื้ออยู่ในอุจจาระได้นานถึง 1 สัปดาห์

  • แช่น้ำยาซักผ้าขาว

เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อ ใช้น้ำยาซักผ้าขาว โซเดียมไฮโปคลอไรต์ (Sodium Hypochlorite) ครึ่งฝาผสมในน้ำ 600 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 30 นาที

  • ผ้าอ้อมเปื้อนอึ ให้แยกใส่ถุงขยะ

หลังจากนั้น แยกใส่ถุงขยะ รัดปากถุงให้แน่น (ซ้อนถุง 2 ชั้นเพื่อกันถุงรั่ว/แตก) *น้ำจากการแช่ผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปควรทิ้งลงในโถส้วม เพื่อเข้าสู่ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลต่อไป*

  • ล้างมือให้สะอาด

ทุกคนในบ้านต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง ก่อนสัมผัสอาหาร หลังถ่ายอุจจาระ และหลังกำจัดขยะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หมายเหตุ

  1. กรณีไม่มีรถเก็บขยะ ให้ใช้วิธีฝังกลบใต้ดินลึกไม่น้อยกว่า 50 ซม. และห่างจากแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 700 ม.
  2. ไม่ทิ้งลงแหล่งน้ำ และที่สาธารณะทั่วไป เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม
  3. ควรใส่ถุงมือทุกครั้ง (ถ้ามี) เมื่อต้องสัมผัสผ้าอ้อมเด็กที่ผู้ป่วยใช้แล้วและต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง

 

 

การทำความสะอาดห้องน้ำที่บ้านผู้ป่วยติดเชื้อ (จากเชื้อไวรัสโรต้า)

เชื้อไวรัสโรต้า อยู่ในอุจจาระผู้ที่ติดเชื้อได้นานถึง 1 สัปดาห์

  1. ใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ (มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย) ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง
  2. จุดที่ต้องทำความสะอาดเป็นพิเศษ คือ ที่จับสายฉีดน้ำ พื้นห้องส้วม ที่รองนั่งส้วม ที่กดน้ำของโถส้วม ก๊อกน้ำ และกลอนประตู/ลูกบิดประตู
  3. ทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ (มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย) อย่างน้อย 3 วัน หลังผู้ป่วยหยุดถ่าย
  4. บุคคลในครอบครัวควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง เมื่อต้องประกอบกิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ ก่อนรับประทานอาหารหลังเข้าห้องน้ำ (โดยเฉพาะหลังถ่ายอุจจาระ) รวมถึงหลังทำความสะอาดห้องน้ำ

 

 

ที่มา : https://www.facebook.com/pg/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ต่อมอดีนอยด์โต-ทอนซิลโต ปิดระบบทางเดินหายใจ จนลูกต้องผ่าตัดด่วน

วัคซีนโรต้า วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

แม่เล่าทั้งน้ำตา ลูกตายเพราะอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ ต้องให้ตายอีกกี่คนถึงจะคิดได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya