ท้องผูกขณะตั้งครรภ์ ไม่ใช่เรื่องขี้ๆ เรื่องทรมานของคนท้องตลอด 9 เดือน

จริงแล้ว ๆ อาการ ท้องผูกขณะตั้งครรภ์ ถือเป็นหนี่งในอาการที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ท้องได้แทบทุกคนเลยนะคะ ไม่ผูกมากก็น้อย ซึ่งเป็นเรื่องทรมานของคุณแม่ในช่วงตลอดการตั้งครรภ์ได้ทีเดียว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการ ท้องผูกขณะตั้งครรภ์ นี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์เลยนะคะ นั่นหมายความว่าในระยะเวลา 9 เดือนนั้นบางเดือนคุณแม่ต้องเจอกับอาการท้องผูกที่ทำให้อัดอัดไม่สบายตัว

ท้องผูกขณะตั้งครรภ์ เรื่องทรมานของคนท้องตลอด 9 เดือน

ช่วงไตรมาสแรก เดือนที่ 1-3

ในช่วงที่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ที่มักจะประสบปัญหากับอาการแพ้ท้อง จนทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อยล้าง่าย รวมถึงอาการท้องผูก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น มีส่วนทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ผ่อนคลาย กลไกดังกล่าวไปส่งผลกระทบต่อการบีบตัวของสำไส้ลดลง ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ช้าลง รวมถึงขนาดของมดลูกขยาย-หดรัดตัว และกดทับลำไส้ การเคลื่อนไหวของลำไส้จึงช้าลงเช่นกัน ทำให้ระบบการขับถ่ายเริ่มเปลี่ยนไปด้วย เช่น ขับถ่ายน้อยลง หรืออุจจาระมีลักษณะแข็ง เป็นต้น


ช่วงไตรมาสที่สอง เดือนที่ 4-6

ช่วงนี้มดลูกเริ่มขยายใหญ่มากขึ้น คุณแม่สามารถสังเกตเห็นหน้าท้องตัวเองที่เริ่มขยายจนเห็นได้ชัดมากกว่าในช่วง 3 เดือนแรก บางคนผิวเริ่มอาจแตกลายและมีอาการคัน อาการท้องผูกในช่วงนี้หากคุณแม่ปล่อยไว้ ไม่ดูแลสุขภาพ จะทำให้มีโอกาสเกิดภาวะริดสีดวงทวารเป็นไปได้ง่ายมาก

ช่วงไตรมาสที่สาม เดือนที่ 7-9

อาการท้องผูกที่อาจเกิดขึ้นในช่วงใกล้คลอดนี้ เนื่องจากการขยายตัวของเส้นเลือดบริเวณทวารหนักไปกดทับมดลูกบนเส้นเลือดในช่องท้อง ขัดขวางการไหลเวียนของเส้นเลือดบริเวณทวารหนัก ทำให้เส้นเลือดโป่งพองออก ในระยะนี้แม่บางรายอาจมีอาการริดสีดวงขณะตั้งครรภ์ได้ ซึ่งบางคนที่ไม่มีอาการมากนัก อาจมีอาการคันที่ก้นเล็กน้อย แต่ถ้าหากมีอาการมากจะพบว่ามีก้อนปูดออกมา และมีอาการปวดร่วมด้วยตรงบริเวณก้น ระบมจนทำให้ไม่สามารถนั่งเก้าอี้ได้ เวลาที่ถ่ายอุจจาระครูดกับติ่งริดสีดวงอาจทำให้มีเลือดติดออกมาด้วย ดังนั้นแม้จะรู้สึกท้องผูกในช่วงนี้ คุณแม่อย่าพยายามที่จะใช้แรงเบ่งมากไปนะคะ เพราะจะทำให้เส้นเลือดบริเวณนี้ยิ่งโป่งพองมากขึ้น อาจทำให้มีเลือดออกได้

เรื่องขี้ ๆ ผูกได้ก็แก้ได้ อ่านต่อหน้าถัดไปนะคะ >>

นอกจากอาการท้องผูกที่เกิดขึ้นจากระบบร่างกายตอนท้องแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้อีก เช่น การไม่ได้ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ไม่มีกากใย ได้รับธาตุเหล็กหรือแคลเซียมจากกอาหารไม่เพียงพอ หรือดื่มน้ำน้อยไป เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบการขับถ่ายทำงานได้ไม่ค่อยเต็มที่ จึงทำให้แม่ท้องเกิดอาการท้องผูกได้ง่าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องขี้ ๆ ผูกได้ก็แก้ได้

  • คุณแม่ควรกินอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักสดและผลไม้ ที่มีกากใยให้มากขึ้นซึ่งช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้เป็นอย่างดี อาหารประเภทธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ถั่ว มีส่วนช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายของคุณแม่ได้
  • รับประทานให้พออิ่ม ไม่กินมากเกินไปจนจุกแน่นท้อง เพื่อให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ทัน ไม่เกิดอาการอึดอัดจากการที่อาหารไม่ย่อย
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่เร่งรีบกินเพราะจะทำให้เกิดลมในกระเพาะ
  • ออกกำลังกายเบา ๆ อย่างน้อย 10-30 นาทีในทุกวันอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ การเล่นโยคะ เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้ดีขึ้น
  • ดื่มน้ำให้มาก อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว น้ำจะช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ง่าย หรือดื่มน้ำผลไม้ต่าง ๆ เสริมด้วย เช่น น้ำลูกพรุน ที่ช่วยในเรื่องของการท้องผูกได้
  • การได้พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ไม่เครียด ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาเรื่องท้องผูกลงได้

อย่างไรก็ตามหากคุณแม่สังเกตอาการท้องผูกที่รุนแรง ขับถ่ายบ่อยกว่าปกติ มีมูกเลือดปนหรือถ่ายเหลว ควรไปโรงพยาบาลเพื่อให้คุณหมอได้ตรวจดูอาการนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : www.bloggang.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

แม่หลังคลอดท้องผูก ต้องแก้ปัญหาให้ถูกจุดยังไง!

หาสาเหตุท้องผูกของลูกให้เจอ จะได้ไม่ต้องพึ่งพา ยาสวนทวาร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R