ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก ลูกในท้องยังปกติอยู่ไหม จะเป็นอันตรายหรือเปล่า

ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก กังวลมากเลยไปอัลตร้าซาวด์แล้วไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้น แล้วแบบนี้ลูกยังอยู่ไหม ลูกยังปกติดีอยู่หรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยปกติแล้วคนท้องจะได้ยินเสียงทารกในครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 9 – 12 สัปดาห์ เร็วสุดที่สามารถได้ยินคือ 7-8 สัปดาห์ แต่ในบางครั้งคุณแม่ก็อาจต้องผิดหวัง  เพราะไม่สามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้นของลูกน้อยในท้องได้เช่นกัน แน่นอนว่าคุณแม่คงจะเกิดความกังวลร้อนใจมากเพราะกลัวว่าลูกจะเป็นอันตราย และ ก็อยากรู้ว่า ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก แบบนี้เป็นเพราะอะไรกันนะ ซึ่งสาเหตุก็มีดังต่อไปนี้

ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก

1.ตำแหน่งไม่ตรงกัน

เวลาที่คุณแม่ หรือคุณหมอต้องการฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ ก็มักจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Doppler เพราะง่ายต่อการใช้งาน แต่บางครั้งการใช้เครื่องมือประเภทนี้ อาจทำให้ไม่สามารถรับรู้ของหัวใจเต้นของทารกได้ เนื่องจากว่าเวลาที่ลูกน้อยอยู่ในท้องพวกเขาจะอยู่ในมดลูก เด็กอาจมีการพลิกตัวทำให้หาตำแหน่งของทารกไม่เจอ

2.คุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก

หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป โดยมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อาจจะทำให้ได้ยินเสียงลูกลำบากเพราะมีชั้นไขมันที่ค่อนข้างหนา ทำให้คุณแม่ไม่สามารถได้ยินเสียงลูกนั่นเอง หากอยากได้ยินเสียงหัวใจลูกอาจต้องใช้การอัลตร้าซาวด์แทนการใช้เครื่อง Doppler

ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก กังวลมากเลย ไปอัลตร้าซาวด์แล้ว ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้น แล้วแบบนี้ลูกยังอยู่ไหม ลูกยังปกติดีอยู่ หรือเปล่า

ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกในท้องอันตรายไหม

หากคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ยังไม่ถึง 12 สัปดาห์ใช้เครื่อง Doppler หาเสียงหัวใจเต้นของทารกแล้วไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกก็ยังไม่ต้องกังวล เพราะอาจจะจับยาก หรือยังเร็วเกินไป ยกเว้นแต่พออายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ขึ้นไปแล้วยังไม่ได้ยิน คุณหมอจะใช้วิธีอัลตร้าซาวด์ ที่ใช้ความถี่สูงกว่าแทน เพื่อสร้างภาพทารกออกมาทำให้คุณหมอสามารถวินิจฉัยได้ว่าทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโต และ มีพัฒนาการปกติ หรือไม่

ในกรณีที่คุณแม่ที่เคยได้ยินเสียงหัวใจลูกมาก่อน แต่อยู่ๆ ก็ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเลย สัญญาณนี้เริ่มไม่ดีแล้ว อาจหมายความว่าคุณแม่อาจแท้งลูกได้ หรือ การที่มีการตั้งครรภ์แต่ไม่เคยได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้นพร้อม ๆ กับระดับ HCG ลดลงเรื่อย ๆ

อัลตร้าซาวด์บอกได้ไหมว่าแท้งลูก

ในระหว่างที่อัลตร้าซาวด์คุณหมอสามารถระบุได้ว่าลูกในท้องยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ โดยใช้เกณฑ์เหล่านี้เป็นตัวกำหนด (อ้างอิงจากเกณฑ์ของสมาคมสูติศาสตร์ และ นรีเวชวิทยาของแคนาดา)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ไม่มีการเต้นของหัวใจในตัวอ่อนที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 มม.
  • ถุงตั้งครรภ์ มีขนาดใหญ่กว่า 8 มิลลิเมตร และไม่มีถุงไข่แดง
  • ถุงตั้งครรภ์ มีขนาดใหญ่กว่า 16 มิลลิเมตร และไม่มีตัวอ่อน

ทั้งนี้ คุณหมอจะวินิจฉัยว่าคุณแม่แท้ง หรือไม่จะขึ้นอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ รวมถึงเกณฑ์ที่ใช้ระบุว่าแท้ง หรือไม่อาจมีความแตกต่างกัน คุณแม่อาจต้องสอบถามแพทย์ประจำตัวเพิ่มเติม

โรคหัวใจในทารกแรกเกิด

ทำไม ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก กังวลมากเลย ไปอัลตร้าซาวด์แล้ว ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้น แล้วแบบนี้ลูกยังอยู่ไหม ลูกยังปกติดีอยู่ หรือเปล่า

หลายคนอาจสงสัย..ว่าเด็กแรกเกิดก็เป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ ?

โดยข้อเท็จจริงแล้ว เด็กทารกแรกเกิดทุก ๆ 100 คน จะมี 1 คน ที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด ซึ่งมีชนิดผนังกั้นระหว่างห้องหัวใจด้านบน หรือด้านล่างรั่ว หรือ ชนิดที่มีอาการเขียว ปากม่วงคล้ำ หายใจหอบ โดยรวมแล้ว เด็กกลุ่มนี้จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เกือบหนึ่งในสามหากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจเด็ก และได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจเสียชีวิตได้
อาการที่อาจสงสัยว่าเด็กเป็นโรคหัวใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เด็กดูดนมได้ช้า ดูดนมแล้วหอบเหนื่อยมาก ๆ
  •  หายใจหอบ เหนื่อยง่ายเวลาเล่น หรือออกกำลังกาย
  •  เลี้ยงไม่โต หรือเติบโตช้า ในเด็กเล็ก ๆ ก็จะพบพัฒนาการช้าทางด้านที่ต้องใช้กำลัง หรือกล้ามเนื้อ เช่น คว่ำ นั่ง ยืน เดิน ช้า แต่มักไม่มีผลต่อสติปัญญาชัดเจน
  •  มีอาการเขียวเวลาดูดนม รู้สึกเหนื่อยง่าย ทำให้กินได้น้อยกว่าปกติ

ถ้ามีอาการน่าสงสัย ควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และ วินิจฉัยเพิ่มเติม

หัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)

ในประเทศไทย นับจากอดีตจนถึงปัจจุบันพบอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ 8:1000 หมายถึง ทารกที่คลอดมีชีวิต 1000 ราย จะพบว่าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 8 ราย
สาเหตุ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. กรรมพันธุ์ พบเป็นสาเหตุได้ประมาณ ร้อยละ 5 เช่น เด็กที่เป็นโรคดาว์นซินโดรมอาจพบเป็นโรคหัวใจพิการได้ถึงร้อยละ 30
2. สิ่งแวดล้อม พบเป็นสาเหตุได้ร้อยละ 10 เช่น จากการที่มารดาได้รับยาระงับประสาท หรือมีการติดเชื้อหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์
3. อื่นๆ พบได้ร้อยละ 85 โดยที่ความพิการแต่กำเนิดของหัวใจพบมีหลายชนิด อาการแสดง และความรุนแรงของแต่ละโรคจะไม่เหมือนกัน บางชนิดอาจหายได้เอง บางชนิดต้องรับการแก้ไข โดยการผ่าตัดตั้งแต่เด็ก บางชนิดก็รอผ่าตัดแก้ไขตอนเด็กโตขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคหัวใจในเด็กที่พบบ่อย 5 อันดับแรก

1. ชนิดผนังกั้นห้องหัวใจส่วนล่างรั่ว (Ventricular Septal Defect : VSD) พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (ร้อยละ 20-30)
2. ชนิดเส้นเลือดแดง (Patent Ductus Arteriosus : PDA)
3. ชนิดผนังกั้นห้องหัวใจส่วนบนรั่ว (Atrial Septal Defect : ASD)
4. ชนิดลิ้นหัวใจ (Pulmonary Stenosis : PS)
5. ชนิดเขียวที่พบบ่อย คือ Tetralogy of Fallot (TOF) หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจ และ / หรือหลอดเลือดที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในไตรมาสแรก ของการตั้งครรภ์

ทำไม ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก กังวลมากเลย ไปอัลตร้าซาวด์แล้ว ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้น แล้วแบบนี้ลูกยังอยู่ไหม ลูกยังปกติดีอยู่ หรือเปล่า

เทคโนโลยี.. ตรวจหาโรคหัวใจในเด็ก

1. การวัดปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดจากผิวหนัง ด้วยเครื่อง Pulse Oxemeter ซึ่งเป็นการตรวจวัดที่มีความแม่นยำสูง ทารกไม่ต้องเจ็บตัวจากการถูกเจาะเลือด สามารถใช้ตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ในทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด
2. การเอกซ์เรย์ทรวงอก (Chest X-ray)เพื่อดูขนาดหัวใจและ ดูลักษณะของเส้นเลือดในปอด
3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อดูความผิดปกติของหัวใจ และดูว่ามีหัวใจห้องไหนโต หรือไม่
4. การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนเป็นภาพหัวใจ (Echocardiogram) เป็นการตรวจพิเศษดูภายในหัวใจ และหลอดเลือด โดยกุมารแพทย์ด้านโรคหัวใจเด็ก เป็นการใช้คลื่นเสียงเหมือนการทำ Ultrasound ซึ่งจะบอกรายละเอียดของความผิดปกติภายในหัวใจ และเส้นเลือดใหญ่บริเวณใกล้หัวใจได้ เป็นวิธีการตรวจที่ทำได้รวดเร็ว และแม่นยำ โดยไม่มีข้อเสีย หรือความเสี่ยงใด ๆ แต่ถ้าการตรวจในขั้นต้นไม่สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้ การตรวจด้วยการสวนหัวใจเป็นวิธีการที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับสุดท้าย และต้องทำรายที่จำเป็นเท่านั้น

การรักษา

ขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงของโรค เช่น ถ้าเป็น VSD ที่ขนาดเล็ก ๆ รอยรั่วก็อาจจะปิดได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น หรือ ถ้าเป็น TOF ก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เท่านั้น หรือในบางรายก็อาจใช้การรักษาด้วยการใช้ยาก็เพียงพอ

ที่มา: verywellfamily , https://www.synphaet.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ตารางระดับ hCG แม่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ควรมีค่าฮอร์โมน hCG เท่าไหร่ถึงถือว่าปกติ

เช็กลิสต์อาการอะไรบ้าง ที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์

สาเหตุของการแท้งลูก และ วิธีป้องกัน แม่จะป้องกันการแท้งบุตรได้อย่างไร

หัวใจของแม่และ ลูกเต้นพร้อมกันไหม จะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้นเมื่อไหร่?

อาการปวด ท้องขณะตั้งครรภ์ แบบไหนที่ต้องเจอ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 9

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri