100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล

theAsianparent พามาดู 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล แม่ท้องน้ำตาลเยอะน่ากลัวกว่าที่ทุกคนเยอะนะคะ เหตุผลว่าทำไมมาดูกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์นั้น แม่ท้องสามารถเป็นเบาหวานได้นะคะ และอันตรายด้วย โดยหากเป็นเบาหวานขึ้นมาก็จะมีผลกระทบทั้งตัวแต่แม่ท้อง และ ลูกในครรภ์ วันนี้ theAsianparent พามาศึกษา 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล อันตรายแค่ไหน ควรจะมีค่าน้ำตาลเท่าไหร่ มาดูกัน

ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล

ระดับน้ำตาลในแม่ท้องนั้น จะบอกได้เลยว่าคนท้องมีโอกาสเป็นเบาหวานหรือไม่ เพราะว่าปัญหาที่คนท้องส่วนใหญ่พบเจอก็คือเรื่องของเบาหวานนั่นเอง สาเหตุที่ทำให้คนท้องเป็นเบาหวานได้ง่ายก็มาจากฮอร์โมนในรก เพราะว่ารกจะคอยสร้างฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) ที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ก็ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนั่นเอง

เบาหวานขณะตั้งครรภ์

การเป็นเบาหวาขณะตั้งครรภ์ นั้นหมายถึงภาวะที่แม่ท้องมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ เพราะในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนบางชนิด ซึ่งส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับร่างกาย เช่น น้ำหนักเพิ่ม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลกจะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลิน ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน โดยแม่ท้องทุกคนจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้เล็กน้อย ในช่วงตั้งครรภ์ บางคนอาจจะสามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ แก้ไขปัญหาภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ แต่แม่ท้องบางงคนอาจจะไม่สามารถทำได้ เลยทำให้เกิดโรคเบาหวานได้นะคะ

โรคเบาหวานที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์

แม่ท้องต้องระวังน้ำตาล

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์คือ ความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจพบระดับตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่รกผลิตออกมามีผลต่อประสิทธิภาพของอินซูลิน หรือ (ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ของแม่ ปกติตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมาแต่ในกรณีนี้ตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลเลยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น โดยโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นในคนท้องมี  2 ประเภทด้วยกัน คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์: อาการนี้คุณแม่จะเป็นเบาหวานหลังจากที่ตัวเองตั้งครรภ์ และจะหายไปหลังจากที่ลูกเกิดค่ะ
  • โรคเบาหวานก่อนตั้งครรภ์: ซึ่งจะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ
    • เบาหวานประเภทที่ 1 เป็นเบาหวานประเภทที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูอินได้ ทำให้ต้องฉีดอินซูลินเพื่อใช้ในการผลิตน้ำตาลในเลือด
    • เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นเบาหวานประเภทที่ร่างกายไม่มีอินซูลินเพียงพอ หรือร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน

ลักษณะอาการของคนเป็นเบาหวาน

เวลาที่คนท้องเป็นโรคเบาหวานร่างกายจะแทบไม่แสดงอาการออกมาเลย เพราะบางครั้งก็มีอาการคล้ายกับคนท้องปกติ เช่น กินอาหารเก่ง หิวบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วคุณหมอจะทำการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเป็นประจำอยู่แล้วหากคุณแม่เข้ารับการตรวจครรภ์ตามปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • มีน้ำหนักตัวเกินขนาด
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
  • มีพ่อแม่ พี่น้อง เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มาก่อน
  • มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ซึ่งหมายถึงมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
  • เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome (PCOS))

คนท้องเป็นเบาหวานลูกในท้องอันตรายอย่างไร

แม่ท้องต้องระวังน้ำตาล

ในการตั้งครรภ์รกจะคอยให้สารอาหารและน้ำสำหรับลูกน้อยในท้องที่กำลังเติบโต รวมถึงผลิตฮอร์โมนบางชนิดที่ส่งป้องกันอินซูลินได้ โดยจะเริ่มผลิตเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 20-25 สัปดาห์ เมื่อรกผลิตฮอร์โมนพวกนี้มากขึ้น ตับอ่อนก็จะสร้างอินซูลินมากขึ้นทำให้เป็นเบาหวานได้ เมื่อคนท้องเป็นเบาหวานก็ก็จะทำให้ทารกน้อยในครรภ์มีความเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ ตามไปด้วย ทั้งในระหว่างที่อยู่ในท้องแม่และหลังจากคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะได้รับขณะอยู่ในท้อง ได้แก่

  • การพิการแต่กำเนิดและการแท้งบุตร (สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์)
  • น้ำตาลในเลือดสูง
  • ความดันต่ำ
  • ธาตุเหล็กต่ำ
  • ความดันโลหิตสูง
  • หัวใจขยายใหญ่
  • ระบบประสาทพัฒนาได้ไม่ดี
  • ปอดพัฒนาได้แย่
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์

ความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะได้รับหลังคลอด ได้แก่

  • ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • แคลเซียมในเลือดต่ำ
  • ธาตุเหล็กในเลือดต่ำ
  • เซลล์เม็ดเลือดแดงสูง เลือดมีความข้ร
  • หัวใจ หลอดเลือด สมอง และไขสันหลังบกพร่อง
  • คลอดก่อนกำหนด
  • หัวใจขยายใหญ่
  • ปัญหาการหายใจ
  • โรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน

บทความโดย

bossblink