ทำอย่างไรเมื่อเด็กใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่เป็นวัณโรค?

คุณแม่น้องบอย อายุ 1 ปี มาปรึกษาหมอเนื่องจากคุณตาซึ่งอาศัยอยู่บ้านเดียวกันเพิ่งตรวจพบเชื้อวัณโรคเมื่อสัปดาห์ก่อน คุณหมอโรคปอดให้ยารักษาวัณโรคแก่คุณตาทาน 6 เดือน และได้นัดน้องบอยมาทำการทดสอบการติดเชื้อวัณโรคและเอกซเรย์ปอด ผลปกติดีไม่มีการติดเชื้อ คุณหมอโรคปอดจึงสั่งยาต้านวัณโรคให้น้องทานก่อนนอนวันละครึ่งเม็ด แต่คุณแม่ไม่กล้าให้ทานยา หมอจึงได้ตอบคำถามและอธิบายคุณแม่ฟังดังนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะเหตุใดจึงต้องทานยาต้านวัณโรค?

เนื่องจากน้องดีมีประวัติสัมผัสกับเชื้อวัณโรคอย่างใกล้ชิดจากคุณตาที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน จึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อวัณโรคได้ โดยช่วงแรกอาจไม่แสดงอาการ ต้องสังเกตอาการไปนานถึง 3 เดือน จึงจะตรวจทราบได้ว่าติดเชื้อวัณโรคหรือไม่

หากไม่ได้ทานยาวัณโรคจะมีโอกาสเป็นโรคได้มากเท่าใดและรุนแรงหรือไม่?

จากการศึกษาในอดีตพบว่า เด็กเล็กที่สัมผัสกับเชื้อวัณโรคแล้วไม่ได้รับการรักษามีโอกาสเป็นวัณโรคได้สูงมาก โดยมีโอกาสถึง ร้อยละ 40-50 ในเด็กทารก แต่เด็กโตหรือวัยรุ่นจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นวัณโรคเพียงร้อยละ 10-15 ในระยะ 1-2 ปีแรกที่เพิ่งได้รับเชื้อ และในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี เมื่อเป็นวัณโรคจะมีโอกาสสูงที่จะเป็นวัณโรคแบบที่รุนแรง เช่น วัณโรคแบบแพร่กระจายทั่วร่างกาย และวัณโรคที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ในเวลาอันสั้น

หากมีเด็กอยู่ในบ้านที่มีผู้ใหญ่เป็นวัณโรคควรทำอย่างไร?

หากมีผู้ใหญ่ในบ้านเป็นวัณโรคปอดควรพาเด็กทุกคนในครอบครัวมาพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจร่างกาย เอกซเรย์ปอด และทดสอบวัณโรคที่ผิวหนังซึ่งเรียกว่าปฏิกิริยาทุเบอร์คุลิน หากพบว่าเป็นวัณโรคก็ควรให้การรักษาวัณโรค แต่หากผลตรวจปกติดี คุณหมอจะพิจารณาให้การรักษาตามอายุ คือ ถ้าอายุน้อยกว่า 5 ปี คุณหมอจะให้ยาที่ใช้รักษาวัณโรค คือ isoniazid เป็นเวลานาน 6-9 เดือน แต่หากเด็กอายุ 5-18 คุณหมออาจจะไม่ให้ยาที่ใช้รักษาวัณโรคหากผลการทดสอบวัณโรคที่ผิวหนังใหญ่น้อยกว่า 10 มม.และเด็กมีภาวะภูมิคุ้มกันปกติ

ยาที่ทานเพื่อป้องกันวัณโรคมีผลข้างเคียงหรือไม่?

ยา isoniazid ที่คุณหมอให้มาทานเพื่อป้องกันวัณโรค มีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ “ตับอักเสบ” ซึ่งจะตรวจพบว่าระดับเอนไซม์ของตับสูงขึ้น พบได้ 10-20% ของผู้ป่วยที่ได้รับยา ความเสี่ยงในการเกิดตับอักเสบจะเพิ่มขึ้นหากผู้ป่วยได้รับยา rifampicin ร่วมด้วย หรือมีโรคตับอยู่เดิม หรือดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์มาก ซึ่งระหว่างการทานยา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดังนั้นระหว่างที่ทานยาชนิดนี้หากคุณแม่สังเกตว่าน้องมีอาการตัวเหลืองและตาเหลืองอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ก็ควรรีบไปพบคุณหมอนะคะ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9 สิ่งควรทำ ถ้าไม่อยากให้ลูกเป็นเด็กขี้โรค

ลูก MQ ดีเริ่มที่คำพูดของพ่อแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา