ทำฟันประกันสังคม ไม่ต้องสำรองจ่าย 2561 โดยนายแพทย์สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความสำเร็จของระบบทันตกรรมประกันสังคมแบบ “ไม่ต้องสำรองจ่าย” ว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มียอดผู้ประกันตนใช้บริการแล้วกว่า 1,311,927.00 ครั้ง สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนไปแล้ว 880,981,002.78 ล้านบาท
ปัจจุบันจึงได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ กรณีอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด ให้แก่ผู้ประกันตน เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 900 บาท/คน/ปี จากเดิม 600 บาท/คน/ปี และมีสถานพยาบาลเอกชน และคลินิกเข้าร่วมให้บริการจำนวน 1,352 แห่ง โดยจ่ายตามอัตราค่าบริการทางการแพทย์ตามที่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์กำหนด
โดยผู้ประกันตนสามารถสังเกตป้ายสติ๊กเกอร์ที่ระบุว่า “สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรมทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย” แต่อย่างใด
เงื่อนไขการใช้บริการทำฟัน
ผู้ที่ต้องการทำฟันกับสถานบริการต่างๆ ที่เข้าร่วมบริการ ต้องตรวจสอบอัตราค่าบริการของสถาบันทันตกรรมที่อ้างอิงกับกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
- การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง 900 บาท/ครั้ง/ปี
- กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
- 1-5 ซี่ เบิกได้ไม่เกินวงเงิน 1,300 บาท
- ตั้งแต่ 6 ซี่ ขึ้นไป เบิกได้ไม่เกินวงเงิน 1,500 บาท
- กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
- ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เบิกได้ไม่เกินวงเงิน 2,400 บาท
- ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เบิกได้ไม่เกินวงเงิน 4,400 บาท
วิธีขอรับการบริการ
- กรณีเข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่เข้าร่วมบริการ
- เช็คสถานพยาบาลที่เข้าร่วมบริการ
- สามารถเข้ารับบริการได้เลย โดยที่ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย
- กรณีที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่ไม่เข้าร่วมบริการ
- ขอใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์ จากสถานพยาบาลที่เข้าร่วมบริการ
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
- นำใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารของผู้ประกันตนหน้าแรก มายื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์
- กรณีขอรับเงินทางธนาคาร สามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) โดยให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 11 ธนาคาร ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)
**หมายเหตุ: ทันตกรรมผู้ประกันตนสามารถใช้บัตรประชาชนเป็นหลักฐานเข้ารับบริการกรณีทันตกรรมกับสถานพยาบาล โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงิน วงเงินไม่เกิน 900 บาทต่อคนต่อปี
ที่มา: moneyguru
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
เล็งเพิ่มเพดานเงินเดือนสมทบ กองทุนประกันสังคม วัดจากฐานเงินเดือน ยิ่งสูงยิ่งจ่ายเยอะ
33 คำถาม : เงินประกันสังคมกรณีคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรยื่นอย่างไรให้ได้เงิน
ประกันสังคม เพิ่มค่าฝากครรภ์ 1 พันบาท แม่ท้องต้องทำยังไง ใช้เอกสารอะไรบ้าง