ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง 10 เรื่องที่การนอนของเบบี๋ในครรภ์ที่แม่ท้องต้องรู้

ต้องอ่านเรื่องนี้ เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่หากคุณเข้าใจกลไกธรรมชาติของการนอนเด็กตั้งแต่อยู่ในท้อง คุณจะเข้าใจและแก้ปัญหาการนอนของทารกได้อย่างมีหลักการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง อยากเข้าใจเหตุผลที่ลูกน้อยไม่ยอมนอน นอนกลางวันสลับกับกลางคืน หรือเหมือนง่วงแต่ไม่ยอมหลับ ต้องอ่านเรื่องนี้ เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่หากคุณเข้าใจกลไกธรรมชาติของการนอนเด็กตั้งแต่อยู่ในท้อง คุณจะเข้าใจ และแก้ปัญหาการนอนของทารกได้อย่างมีหลักการ

 

ทารกในครรภ์นอนหลับยังไง ทารกในครรภ์หลับตอนไหน 


10 เรื่องที่การนอนของเบบี๋ในครรภ์ที่แม่ท้องต้องรู้

  • สภาวะแวดล้อมในครรภ์แม่ เหมาะกับการนอนของทารกอย่างยิ่ง เพราะในท้องของแม่ทั้งมืด อบอุ่น เงียบ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเวลาที่คุณแม่ท้องเดินไปมาก็เหมือนเป็นการไกวเปลให้ลูกหลับ
  •  ทารกในครรภ์แม่จะนอนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน
  • ลูกของคุณจะได้ยินเสียงหัวใจ เสียงท้องร้อง และเสียงพูดของคุณแม่ ที่จะทำให้รู้สึกอุ่นใจ นอกจากนั้นทารกน้อยในครรภ์ยังไม่รู้สึกหิวเลย เพราะมีสายสะดือเชื่อมต่ออาหาร ซึ่งเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ทารกน้อยนอนหลับได้อย่างสบายใจ
  • การตื่นของทารกในครรภ์เกิดขึ้นไม่เป็นเวลา และลูกจะตื่นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
  • ช่วงที่ลูกหลับในท้องแม่ อาจมีการขยับตัว ถีบคุณแม่บ้าง เพราะลูกในท้องมักเป็นเด็กนอนดิ้น
  • เมื่อตั้งครรภ์ถึง 7 เดือน เบบี๋ในท้องจะเริ่มมีความฝันแล้วนะ เพราะตัวอ่อนในครรภ์นี้มีการสร้างสมองเพียงพอให้เกิดการหลับแบบ REM (rapid eye movement) เด็กเริ่มมีกระแสประสาทที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการมองเห็น และการได้ยิน
  • เมื่อตั้งครรภ์ครบ 8 เดือน ทารกก็จะเริ่มนอนหลับแบบ non-REM หรือแบบหลับสนิทได้แล้วด้วย
  • เด็กยิ่งเล็กยิ่งฝันเยอะ ส่วนคำถามที่ว่าลูกน้อยฝันเรื่องอะไร เราคงไม่มีวันรู้
  • ถ้าทำการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ บางที คุณแม่อาจจะได้เห็นลูกนอนแล้วยิ้มด้วย นี่เป็นเพราะว่าช่วงที่ลูกหลับแบบ REM กล้ามเนื้อบริเวณหน้าเกิดการกระตุก หรือมีการดึงนั่นเอง
  • เบบี๋ในท้องชอบนอนกลางวัน และตื่นตอนกลางคืน เพราะช่วงกลางคืนที่คุณแม่นอนหลับจะมีพื้นที่ให้ลูกน้อยได้ขยับตัวเยอะกว่าเดิม แถมช่วงกลางวันที่คุณแม่เดินเยอะยิ่งทำให้เบบี๋รู้สึกกำลังนอนโยกเยก ทำให้น่าหลับ

แม่ท้องนอนไม่หลับ ทำไงดี

  • ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ที่ไม่มีคาเฟอีนผสมอยู่ เช่น นมอุ่น ๆ ก่อนที่จะเข้านอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของการตั้งครรภ์ด้วย การดื่มน้ำก่อนนอนในระยะไตรมาสแรก  และไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้คุณแม่ต้องลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึกได้ คุณแม่ควรสังเกตตัวเอง และปรับใช้วิธีนี้อย่างเหมาะสม
  • อาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เส้นเลือดขยายตัว และไหลเวียนได้ดี ทำให้จากที่แม่ท้องนอนไม่หลับ เป็นแม่ท้องหลับง่ายขึ้นทีเดียว
  • เข้านอนให้เป็นเวลา และตื่นนอนให้เป็นเวลา ทำเช่นนี้ทุกวัน ร่างกายจะปรับตัว เหมือนตั้งนาฬิกาเอาไว้เลยทีเดียว เมื่อถึงเวลานอนคุณแม่จะง่วงนอนขึ้นมาทันทีเลย
  • ควรปรับสิ่งแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม กำจัดสิ่งรบกวนการนอนให้มากที่สุด ห้องที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับพักผ่อนคือ ห้องที่เงียบ เย็น และมืด หากมีเสียงรบกวนอาจ ทำให้แม่ท้องนอนไม่หลับ หรือหลับยากได้
  • เมื่อท้องแก่ใกล้คลอด ท่านอนราบ อาจทำให้หายใจไม่สะดวก เพราะมดลูกที่ขยายตัวขึ้นดันกระบังลมให้สูงขึ้น และปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ หากรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออกเมื่อนอน อาจใช้หมอนหลายใบหนุนศีรษะให้สูงเพื่อที่จะได้หายใจสะดวกขึ้น

คุณแม่ตั้งครรภ์นอนตะแคงซ้ายดีที่สุด ?

บทความ : คนท้องต้องรู้! นอนตะแคง ดีต่อลูกในท้อง แม่ท้องนอนตะแคงด้านไหนดี?

คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ว่าท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์คือ นอนตะแคงซ้าย เนื่องจากการนอนตะแคงซ้ายดีต่อระบบไหลเวียนเลือด เพิ่มประสิทธิภาพในการได้รับออกซิเจนและสารอาหาร เพื่อเอาไปเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์ รวมไปถึงสนับสนุนการทำงานของไต ช่วยลดความดันตับ และลดอาการบวม เพราะ การนอนตะแคงซ้ายช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตทำงานได้ดีมดลูกกดทับหลอดเลือดในช่องท้องน้อยกว่าการนอนในท่าอื่นๆ เมื่อการไหลเวียนเลือดดี ก็สามารถส่งอาหารได้ยังทารกได้ดีตามไปด้วย นอกจากนี้ การที่ระบบไหลเวียนเลือดดียังช่วยให้ไตขับน้ำปัสสาวะได้ดี ช่วยลดอาการบวมในแม่ท้องได้อีกด้วย

ท่านอนตะแคงที่แนะนำคือ คือ ท่านอนตะแคงงอเข่าทั้งสองข้าง โดยคุณแม่อาจใช้หมอนรองระหว่างขาทั้งสองข้างก็จะช่วยให้รู้สึกสบายมากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หมอน และที่นอนมีส่วนช่วยให้นอนหลับสบาย

การนอนตะแคงซ้าย บางครั้งอาจจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนมีอาการปวดหลังและสะโพก ไม่สบายเนื้อสบายตัว นอนหลับยาก ดังนั้นหมอนและที่นอนมีส่วนช่วยให้คุณแม่หลับสบายขึ้นได้นะ ที่นอนที่ความนุ่มพอเหมาะกับคุณแม่ ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป จะช่วยจัดแนวกระดูกสันหลัง และบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ รวมไปถึงการใช้หมอนก็ช่วยได้เช่นกัน

การใช้หมอนหรือหมอนข้าง รองช่วงตัว เพื่อยกร่างกายส่วนบน สามารถช่วยลดอาการเสียดท้องได้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ปวดขา การใช้หมอนรองใต้ขาก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด และลดบวมได้อีกด้วย หรือถ้าหากคุณแม่คนไหนมีอาการปวดหลัง การใช้หมอนรองช่วงหลัง ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เช่นเดียวกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ท้องนอนท่าไหนดีกับลูกในท้อง ?

  • นอนตะแคงขวาก็ได้ ตะแคงซ้ายก็ดี

การนอนตะแคงซ้าย เป็นท่าที่แนะนำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าห้ามนอนตะแคงขวาซะเดียวเลย หลายคนชอบเข้าใจผิดว่าการนอนตะแคงขวาจะไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ แต่คุณหมอไม่ได้ห้ามนอนตะแคงขวาหรอกนะ เพียงแค่การนอนตะแคงซ้ายจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีกว่าเท่านั้นเอง ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์นอนตะแคงซ้ายนาน ๆ แล้วเมื่อย อาจจะพลิกตัวไปนอนตะแคงขวาบ้างก็ได้ค่ะ

  • นอนคว่ำ

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนอาจกังวลว่าการนอนคว่ำจะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์หรือไม่ จริง ๆ แล้วในช่วงไตรมาสแรก การนอนคว่ำเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง เพียงแต่เป็นท่านอนที่ไม่นิยม เพราะคุณแม่บางคนนอนไม่ถนัด รวมไปถึงเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น การนอนคว่ำดูจะเป็นไปได้ยากสักนิดนึง

อย่างไรก็ตาม การนอนคว่ำไม่ได้เป็นอันตรายต่อลูก หรือเป็นการนอนทับลูกแต่อย่างใด ดังนั้นหากคุณแม่คนไหนรู้สึกสบายเวลานอนคว่ำ ก็สามารถนอนได้ และอาจหาหมอนรองช่วงหน้าอกหรือท้อง เพื่อช่วยให้นอนสบายขึ้นด้วยก็ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • นอนหงาย

ในช่วงไตรมาสที่สาม การนอนหงายเป็นท่าที่ไม่แนะนำเท่าไหร่ เพราะการนอนหงายส่งผลในเรื่องแรงดันในหลอดเลือด ระบบไหลเวียนเลือด ทำให้สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงมดลูกได้ยาก รวมไปถึงกระทบเรื่องปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปยังทารกในครรภ์ด้วย

เวลานอนหงาย คุณแม่ตั้งครรภ์อาจเวียนหัว คลื่นไส้ ความดันโลหิตต่ำ และอาจหายใจลำบากได้ แถมงานวิจัยในปี 2019 ยังบอกอีกว่า การนอนหงายจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการตายคลอด ดั้งนั้นการนอนหงาย จึงเป็นท่านอนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง

อ้างอิง

www.healthline.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คลิปลูกดิ้นในครรภ์แม่ ทั้งถีบ ทั้งเตะ ทั้งโก่งตัว ที่แม่ท้องปูดเป็นอย่างนี้นี่เอง

เตือนแม่ท้องนอนตะแคงขวาอันตราย!!

นิทานธรรมะ เล่าให้ลูกฟังก่อนนอน : ความเพียร ความพยายาม

บทความโดย

Weerati