ทารกแฝดคลอดก่อนกำหนดสุดเจ๋ง! ต่อสู้ชีวิตจนพ้นเงื้อมมือพญามัจจุราช!

แม้ว่าหมอจะบอกแล้วว่าโอกาสรอดมีแค่ 2 % แต่ทารกแฝดคลอดก่อนกำหนดคู่นี้ก็พิสูจน์แล้วว่า หมอคิดผิด! พร้อมวิธีการดูแลทารกแรกเกิดภายหลังจากที่หมออนุญาตให้กลับบ้าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พบกับเรื่องราวของทารกแฝดคลอดก่อนกำหนด ที่จะมาเป็นแรงผลักดันให้คุณแม่ที่กำลังประสบปัญหาเดียวกันนี้ลุกสู้! โดยเรื่องราวนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวของแรมเบิร์ด ที่เกือบสูญเสียทารกแฝดไปเพราะเกิดหัวใจของทารกเต้นอ่อนลงจนอาจทำให้เธอแท้งลูกได้!

ยังไม่ทันเข้าสัปดาห์ที่ 25 … เคธี่ ก็เกือบจะต้องสูญเสียลูกทารกแรกเกิดทั้งหญิงและชายไป! ซึ่งเคธี่เล่าว่า ในวันนั้นเธอรู้สึกเหมือนกับทารกในครรภ์นั้นเต้นน้อยลง จึงรีบไปหาหมอเพื่อทำการตรวจชีพจรของเด็ก แต่ภายหลังจากที่ตรวจนั้น คุณหมอก็รีบสั่งให้เคธี่เตรียมตัวเข้าห้องผ่าตัดโดยทันที เนื่องจากชีพจนของทารกนั้นอ่อนลงจนน่ากลัว ซึ่งหากขืนปล่อยไว้ โอกาสที่ทารกจะรอดนั้นมีโอกาสน้อยมาก!

ภายหลังที่ทารกแฝดคู่นี้ลืมตาดูโลก ก็ต้องถูกนำส่งตัวเข้า NICU เพื่อคอยสังเกตอาการใกล้ชิดอย่างทันที “ทั้งสองคนตัวเล็กมาก ฉันไม่เคยคิดมาก่อนหรอกว่า ฉันจะต้องมาเห็นลูกทั้งสองอยู่ในตู้ ที่มีสายต่าง ๆ ระโรงระยางเต็มไปหมด ซึ่งวันนั้น ฉันกับสามีก็เริ่มทำใจแล้ว เพราะหมอบอกว่า โอกาสที่ทั้งคู่จะรอดนั้นมีเพียง 2% เท่านั้นเอง”

และจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ด้วยความไม่ย่อท้อต่อชะตาชีวิต และการดูแลรักษาที่ถูกต้องและใกล้ชิดนั้นจากคุณแม่และทีมงานแพทย์ ทำให้ทารกแฝดคลอดก่อนกำหนดสองคู่นี้สามารถกลับมามีชีวิตรอดได้ในที่สุด และในวันนี้เราก็มีวิธีการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดภายหลังจากที่คุณหมออนุญาตให้นำทารกกลับบ้านแล้วมาฝากกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำแนะนำในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด มีดังนี้

  1. ควรจัดสถานที่ให้สภาพแวดล้อมสะอาด โปร่ง ไม่อับ มีอากาศถ่ายเทสะดวก พ้นจากเสียงรบกวนต่างๆ
  2. คุณแม่ควรให้นมลูกน้อยบ่อยๆ เนื่องจากทารกคลอดก่อนกำหนดมักมีอาการอยากนอนอยู่ตลอดเวลา ควรปลุกให้ลูกดูดนมอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารจากนมแม่ได้เต็มที่ เพื่อการพัฒนาร่างกายที่สมบูรณ์
  3. ระบบการย่อยและการดูดซึมของทารกยังมีน้อยมาก เมื่อรับนมแม่เสร็จ คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยไม่ให้ แหวะนม หรืออาเจียน โดยจัดท่าให้ลูกน้อยเรอออกได้โดยง่าย ซึ่งจะช่วยลดอาการท้องอืดได้ด้วย
  4. ดูแลลูกน้อยให้อบอุ่นอยู่เสมอ เนื่องจากเด็กจะมีภาวะตัวเย็นได้ง่าย ซึ่งจะมีผลทำให้ลูกไม่สบายบ่อย หากลูกมีอาการตัวร้อน มีน้ำมูก หรือมีเสมหะ คุณแม่ต้องรีบพาลูกน้อยไปโรงพยาบาลด่วน
  5. คุณแม่อาจจะกระตุ้นพัฒนาการของลูกโดยการเปิดเพลง บรรเลงเบาๆ หรือแขวนกรุ๊งกริ๊งไว้ให้ลูกน้อยมอง หรืออยากไขว่คว้า เนื่องจากทารกคลอดก่อนกำหนด จะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กที่คลอดตามกำหนดประมาณ 2-3 เดือน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย
  6. ไม่ควรนำทารกไปในที่ที่มีผู้คนแออัด อากาศถ่ายเทไม่ได้ ก่อนสัมผัสหรืออุ้มลูกน้อย คุณแม่ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง รวมทั้งรักษาความสะอาดของเสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ด้วย การรักษาความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะเชื้อโรคต่างๆ อาจแฝงมากับของเยี่ยมที่ญาติๆ นำมา คุณแม่ไม่ควรนำมาไว้ห้องเดียวกับที่ลูกอยู่
  7. หากลูกน้อยมีอาการถ่ายเหลว ถ่ายเป็นมูก หรือมีความผิดปกติทางด้านผิวหนัง อาจมีตุ่มพุพองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือผิวหนังแห้ง ลูกไม่ยอมดูดนม หรือน้ำ คุณแม่ควรพาไปโรงพยาบาลเพื่อให้คุณหมอตรวจวินิจฉัยอีกครั้ง
  8. เมื่อครบกำหนดตรวจสุขภาพของลูกน้อย คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอให้ตรงเวลา และสม่ำเสมอ เพื่อการติดตามที่ต่อเนื่องของคุณหมอ ซึ่งหากมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
  9. สำคัญมาก!!! คุณแม่ควรบอกกล่าวกับญาติๆ หรือคนอื่นๆ ที่จะเข้าเยี่ยมลูกน้อย หรืออยากมาอุ้มว่า ลูกของคุณแม่ไม่เหมือนเด็กที่คลอดตามกำหนด ซึ่งลูกของคุณแม่อาจได้รับเชื้อจากผู้ที่มาเยี่ยมได้ง่าย เนื่องจากยังไม่มีภูมิต้านทานที่ดี

ขอบคุณที่มา: The Sun

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

น้ำนมแม่ ยาที่ดีที่สุดสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด อันตรายต่อโอกาสรอดของลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth