ทารกสะอึกทำไงดี คุณแม่ต้องแก้ไข ปล่อยไว้ไม่ดีแน่

ทารกสะอึกทำไงดี การสะอึกเป็นเรื่องปกติของทารก สาเหตุที่เจ้าหนูสะอึกเป็นเพราะกล้ามเนื้อกระบังลมทำงานไม่สัมพันธ์กับการหายใจเข้าออก อาการทารกสะอึกมักจะเกิดหลังจากที่ลูกกินนมอิ่ม เมื่อทารกอิ่มกระเพาะอาหารเกิดการขยายตัวเพราะมีนมเข้าไปอยู่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกสะอึกทำไงดี  การสะอึกเป็นเรื่องปกติของทารก  สาเหตุที่เจ้าหนูสะอึก เป็นเพราะกล้ามเนื้อกระบังลมทำงานไม่สัมพันธ์กับการหายใจเข้าออก อาการทารกสะอึก มักจะเกิดหลังจากที่ลูกกินนมอิ่ม  เมื่อทารกอิ่ม กระเพาะอาหารเกิดการขยายตัว เพราะมีนมเข้าไปอยู่  ทำให้เกิดแรงดันไปที่กล้ามเนื้อกระบังลมตรงบริเวณรอยต่อระหว่างช่องปอดกับช่องท้อง  ทำให้กระบังลมหดตัวอย่างรวดเร็ว  ขณะหายใจออกจึงทำให้ทารกเกิดอาการสะอึกนั่นเอง

ทารกสะอึกทำไงดี ? อันตรายหรือไม่ ??

คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ  อาการทารกสะอึก ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ  เหมือนกับที่ผู้ใหญ่อย่างเราสะอึกเช่นกัน  อาการสะอึกของทารกจะเริ่มดีขึ้น หรือเกิดไม่บ่อยนัก ตอนอายุประมาณ 4 – 5 เดือน เพราะกระบังลมทำงานได้ดีขึ้นตามวัย แต่ถ้าทารกสะอึกต่อเนื่องเป็นเวลานาน แถมยังมีอาการอาเจียนร่วมด้วย  แบบนี้ไม่ดีแน่ต้องพบคุณหมอแล้วค่ะ ในกรณีที่เป็นทารกแรกเกิดสะอึกเป็นเวลานาน คุณหมอจะรักษาตามอาการ  โดยการซักถามประวัติของทารก สำหรับยาที่จัดให้รับประทานนั้น เป็นยาคลายเครียด เพื่อให้ยาเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหาร  หรือยาขับลม  ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคุณหมอค่ะ

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ทารกสะอึก

ไม่มีเหตุผลที่แน่ชัด ถึงสาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดการสะอึก แต่เนื่องจากการกินอิ่มของลูกน้อย จะส่งผลกับการขยาย และหดตัวของกระบังลม อาการสะอึก จึงอาจเกิดจาก

  • กินมากไป
  • กินเร็วไป
  • ท้องอืด หรือมีลมในท้องมาก

แต่ก็ไม่ใช่ว่าการกระทำเหล่านี้ จะเป็นสาเหตุของอาการสะอึกเสมอไป

ป้องกันไม่ให้ทารกสะอึก

หลาย ๆ ครั้ง ที่อาการสะอึกเกิดขึ้นอย่างไม่ทราบสาเหตุ แต่วิธีการเหล่านี้ อาจจะช่วยป้องกันได้

  • ป้อนนมให้ ก่อนที่ลูกจะหิวเกินไป
  • ค่อย ๆ ให้ลูกทานนมทีละน้อย อย่าป้อนทีเดียว ทีละมาก ๆ เพราะอาจจะทำให้ลูกทานเร็วเกินไป หรือมากเกินไปได้
  • หลังจากให้นมแล้ว ควรจับให้ลูกนั่งสักครึ่งชั่วโมงก่อน
  • จับขวดนมให้อยู่ในลักษณะที่ไม่มีอากาศเข้า
  • การป้อนนมจากอก ระวังอากาศเข้าระหว่างที่ลูกดูดนมจากอก

วิธีการปัญหาทารกสะอึก

  • อุ้มเรอ หลังจากที่ทารกอิ่มนมแล้ว คุณแม่ควรจับลูกอุ้มเรอทุกครั้ง  วิธีการอุ้มเรอ

- อุ้มลูกให้นั่งตรง ๆ พิงอกคุณโดยใช้หัวไหล่ และคางของคุณช่วยรับน้ำหนักลูกไว้ ใช้มือหนึ่งประคองคอของลูก และอีกมือตบหลังลูกเบา ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

- ให้ลูกนั่งตรงๆ บนตักคุณ และใช้มือหนึ่งประคองส่วนอกของลูกไว้ เอนตัวลูกไปข้างหน้าเล็กน้อย และตบหลังลูกเบาๆ คุณอาจลูบหลังลูก               เป็นวงกลม เพื่อกระตุ้นให้เรอด้วยก็ได้ค่ะ

- วางลูกคว่ำลงบนตักของคุณ ใช้มือหนึ่งประคองใต้อกลูก ขณะที่อีกมือลูบหลังเป็นวงกลม หรือตบเบา ๆ

-  ถ้าลูกเรอไม่ออก ลองงอขาลูกขึ้นไปที่หน้าอก วิธีนี้อาจช่วยขับลมออกมาได้ค่ะ

ยังไงก็ตาม ก็ยังมีสิ่งที่ไม่ควรทำ หากลูกมีอาการสะอึก คุณแม่ต้องระวังนะคะ

สิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อลูกสะอึก

เมื่อลูกสะอึก คุณแม่อาจจะตกใจ รวมทั้งในอินเตอร์เน็ต ก็ยังมีบทความมากมายที่แนะนำมากมาย ที่แนะนำขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยหายจากอาการสะอึก ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน แต่สิ่งที่สำคัญคือ อาการทารกสะอึกนั้น ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่เราคุ้นเคยกันมาแต่ไหนแต่ไร แต่ไม่มีการยืนยันทางวิทยาศาสตร์อย่างแน่ชัด ว่าจะช่วยแก้ไขอาการสะอึกได้ อย่างการ ทำให้ตกใจ ดื่มน้ำมาก ๆ หรือแม้แต่การดึงลิ้น ซึ่งตรงนี้ คุณแม่จะต้องหลีกเลี่ยง เพราะจะเป็นผลร้ายต่อลูกน้อย อีกทั้งยังไม่ได้ทำให้อาการสะอึกหายไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตราบใดที่เจ้าหนูน้อยไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมกับการสะอึก เช่น อาเจียน หรือสะอึกมากผิดปกติ ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตในทารกวัยไม่ถึง 1 ขวบ เมื่อลูกอายุ 1 ขวบ อาการสะอึกก็จะหายไป ทั้งนี้ หากอาการของลูก ดูจะรบกวนการเติบโตของเจ้าหนูน้อยเป็นอย่างมาก มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย รีบปรึกษาคุณหมอจะดีกว่านะคะ ลูกจะได้หายดี และจะได้ไม่มีอะไรมารบกวนเจ้าหนูน้อยได้อีก

คลิป: เทคนิคอุ้มเรอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และเด็ก โภชนาการแม่ และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

อ้างอิง: https://www.healthline.com

https://www.medicalnewstoday.com/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อ่านหน่อยแม่ 14 อาการปกติของเด็กแรกเกิด ที่พ่อแม่ชอบคิดไปเองว่าผิดปกติ

ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กเล็ก ที่พบบ่อยมากที่สุด มีอะไรบ้าง

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Weerati