ทารกป่วยโรคไอกรน สูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 1 ปี ติดเชื้อจากคนในครอบครัว

พ่อแม่อย่าประมาท! ทารก เด็กเล็ก ป่วยโรคไอกรนสูงขึ้น สาเหตุจากการติดเชื้อจากคนในครอบครัว ไม่แสดงอาการไม่ใช่ว่าไม่ได้เป็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกป่วยโรคไอกรน สูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง

กรมควบคุมโรคเตือน ทารกป่วยโรคไอกรน สูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง แนวโน้มเด็กป่วยโรคไอกรน ส่วนใหญ่ติดเชื้อจากคนในครอบครัวที่ไม่แสดงอาการ

กรมควบคุมโรค ออกประกาศพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 29 เม.ย.- 5 พ.ค. 2561 ระบุว่า จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไอกรนในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 26 เม.ย. 2561 มีรายงานโรคไอกรน 19 เหตุการณ์ พบผู้ป่วย 27 ราย เสียชีวิต 1 ราย

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 1 ปี (ร้อยละ 59.26)
  • รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 1 – 3 เดือน (ร้อยละ 40.74)

 

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2556 – 2560) มีรายงานผู้ป่วย 16 – 77 ราย เสียชีวิตปีละ 0 – 3 ราย ซึ่งจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 และสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงาน 4 เหตุการณ์ จากจังหวัดสงขลา ภูเก็ต นครพนม และ นครศรีธรรมราช ทั้งนี้ การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์ คาดการณ์ว่า ในปีนี้จะมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคไอกรนเพิ่มสูงขึ้น

 

รู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นไอกรน

หากพบเด็กแรกเกิดมีอาการไอแห้งเป็นชุด ๆ ไอมาก หายใจไม่ทัน ให้รีบพาไปแพทย์ทันที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันทารกจากโรคไอกรน

จากข้อมูลการสอบสวนโรค พบว่าเด็กที่ป่วยด้วยโรคไอกรนส่วนใหญ่ติดเชื้อจากสมาชิกในครอบครัวที่ไม่แสดงอาการป่วย ดังนั้น ผู้ที่มีอาการไอ จาม ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กแรกเกิด หรือไม่ควรพาเด็กเล็กไปในสถานที่ชุมนุมชนหรือแออัด

โรคไอกรน เป็นโรคติดต่อที่มักพบในเด็กแรกเกิด ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อจากการไอ จาม ของบุคคลที่มีเชื้อโรคในร่างกายทั้งที่มีอาการป่วยหรือไม่แสดงอาการ โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีน ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานของท่านไปฉีดวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตามช่วงเวลาที่กำหนด (2 เดือน, 4 เดือน,6 เดือน, 1 ปีครึ่ง และ 4 ปี)

สำหรับหญิงตั้งครรภ์สามารถปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับการเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคได้เช่นกัน

กรมควบคุมโรค ขอแนะนำวิธีการป้องกันและควบคุมโรค ดังนี้

  1. หากมีผู้ป่วยไอกรน ควรแยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ
  2. สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อผ่านน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
  3. ในผู้สัมผัสโรคควรสังเกตว่ามีอาการไอหรือไม่ ติดตามอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  4. เด็กที่สัมผัสโรคใกล้ชิด ควรไปรับคำปรึกษาจากแพทย์ แม้จะได้รับวัคซีนป้องกันครบแล้วก็ตาม หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : thaihealth

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไข้เลือดออก 2561 สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตาย 18 คน เป็นทารก 1 คน

ทารกน้อยหายใจเสียงดัง มีน้ำมูก จากภาวะ nasal snuffles ลูกป่วยหนักหรือเปล่า

โรคมะเร็งในเด็ก เป็นได้ตั้งแต่เกิด แม่ท้องต้องดูแลตัวเองให้ดี ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วยเป็นมะเร็ง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya